Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5659
Title: การเปรียบเทียบบทบาทของระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรม
Other Titles: A comparative study of the roles of information systems in strategic decision making of the hospital and hotel businesses
Authors: อุทัย ตันละมัย
วันเพ็ญ กฤตผล
Email: fcomutc@phoenix.acc.chula.ac.th
fcomwkt@phoenix.acc.chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Subjects: ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
โรงแรม -- การบริหาร
โรงพยาบาล -- การบริหาร
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งในองค์กรภายใต้ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี คือระบบสารสนเทศขององค์กร โครงการวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การรวมการกระจายธุรกิจของโรงพยาบาล และโรงแรมเอกชนในประเทศไทย กลยุทธ์ธุรกิจดังกล่าว ได้แก่ กลยุทธ์โรงพยาบาลโรงแรม (Hospitel)กลยุทธ์การพักระยะยาว (Long Stay) กลยุทธ์การให้บริการถึงบ้าน (Homecare Services) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างใหม่สำหรับธุรกิจการให้บริการในประเทศไทย นอกจากนั้นยังศึกษาถึงความสอดคล้องระหว่างระบบสารสนเทศขององค์กรและกลยุทธ์ธุรกิจดังกล่าว ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจและการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งอัตราการตอบรับค่อนข้างต่ำ คือ 15% สำหรับการตอบแบบสอบถามการสำรวจของโรงพยาบาลและโรงแรมเอกชนภายในประเทศ และ 32% สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกโรงพยาบาลและโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระบบสารสนเทศหลักของบริษัทจดทะเบียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยการสอบถามทางโทรศัพท์ทั้งหมด และสัมภาษณ์บริษัทที่จำหน่ายซอฟต์แวร์ทุกยี่ห้อเพื่อให้เข้าใจถึงการใช้ระบบสารสนเทศในอุตสาหกรรมทั้งสองอย่างครบถ้วนมากที่สุด ผลการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลต่างๆ มีความคล้ายคลึงกันและเป็นไปในทางเดียวกัน นั่นคือ โรงพยาบาลมีความเป็นไปได้สูงที่จะนำกลยุทธ์ Hospitel มาใช้และโรงแรมจะใช้กลยุทธ์ Long Stay ส่วนกลยุทธ์ Homecare Service นั้นมีความเป็นไปได้น้อยมากที่ธุรกิจทั้งสองจะสนใจ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ยังพบว่า องค์กรขนาดเล็กมีความพร้อมที่จะยอมรับกลยุทธ์การรวมธุรกิจมากกว่าองค์กรขนาดใหญ่ แต่สำหรับธุรกิจโรงพยาบาลหรือโรงแรมไม่ว่าขนาดจะต่างกันหรือไม่ ต่างก็เห็นว่าระบบสารสนเทศของตนมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์การรวมธุรกิจทั้งสิ้น โรงพยาบาลและโรงแรมเกือบทั้งหมดที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายสำหรับเฉพาะที่อุตสาหกรรมของตน เช่นเดียวกับบริษัทใหญ่อื่นๆ ภายในประเทศแม้ว่าองค์กรเหล่านั้นจะยอมลงทุนในซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในครั้งแรก แต่ส่วนใหญ่ไม่เต็มใจที่จะเสียค่าบำรุงรักษา หรือค่าปรับปรุงให้ระบบมีความทันสมัยอยู่เสมอ แม้ข้อมูลวิจัยที่เก็บได้จากแหล่งต่างๆ จะไม่ระบุอย่างชัดเจนถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสอดคล้องกันระหว่างระบบสารสนเทศองค์กรและกลยุทธ์การรวมธุรกิจ แต่จากบันทึกข้อมุลการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ได้นำมาวิเคราะห์ในรูปแบบต้นเหตุและผลลัพธ์ (Cause and Effect) พบว่าองค์กรไม่สนใจที่จะนำกลยุทธ์การรวมธุรกิจไปใช้ เพราะความต้องการในบริการจากการใช้กลยุทธ์กิจเหล่านั้นมีอยู่ไม่เพียงพออีกทั้งยังต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อนำกลยุทธ์ไปสู่การปฎิบัติทั้งๆ ที่ระบบสารสนเทศก็มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ใหม่อยู่แล้วนั่นคือ โรงพยาบาลยังไม่สามารถรองรับความต้องการในด้านการรักษาพยาบาลของผุ้ป่วยได้เพียงพอ เพราะบุคลากรด้านการแพทย์และการพยาบาลในประเทศยังค่อนข้างจะขาดแคลน ส่วนโรงแรมก็มีปัญหาในการลงทุนเพราะอุปสงค์ผันผวนจากเหตุการณ์แวดล้อมต่างๆ ที่โรงแรมไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การก่อการร้ายสากล ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด
Other Abstract: One of the most important organizational factors in today’s technology driven environment is the firm ‘ s information systems. This study investigates the viability of different convergent business strategies in private hospitals and hotels in Thailand. These strategies include Hospitel, Long Stay, and Homecare Services strategies. The convergent strategies are relative new to Thai hospitality businesses. The research also examines the alignment of a firm’s information systems with the viability of these strategies. Both survey and in-depth interview were used to collect the data from hospitals and hotels in Thailand. With the relatively low response rates in both samples (averages of 15% for pilot study and 32% for hospitals and hotels listed in the Stock in the Stock Exchange of Thailand), additional data from software vendors was collected. The analyses of different sets of data consistently show that Hospitel strategy is more viable for hospitals and Long Stay strategy is more viable for hotels. Homecare Service is the least viable strategy by both businesses. Also smaller hospitals and hotels appear or more readily embrace these convergent business strategies than the publicly owned organizations. Furthermore, both businesses, regardless of their size differences, perceive their information systems to be in alignment with their respective convergent business strategies. Almost all hospitals and hotels listed in the Stock Exchange of Thailand use the software packages common to their respective industries. Like many other Thai organizations, although they were willing to invest in the know software package initially, they did not want to spend more on updates and other maintenance costs. Although the relationships were not clear between the factors influencing the viability of convergent strategies and the extent of information system’s alignment, the cause and effect assessment found the lack of interest in the convergent strategies are resulted from the inadequate demands, addition investment for the skill development, lack of total government support, and different turbulent business environments. Thai hospitals have very high demands of patient care and don’t have enough personnel to handle additional services. Hotels were unable to make additional investment to serve new convergent business strategies even though their information systems can easily accommodate the functional requirements of these strategies with minimum modifications.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5659
Type: Technical Report
Appears in Collections:Acctn - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uthai_Comparative.pdf10.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.