Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอุทัย ตันละมัย-
dc.contributor.authorวันเพ็ญ กฤตผล-
dc.contributor.authorพสุ เดชะรินทร์-
dc.contributor.authorพันธุมดี เกตะวันดี-
dc.contributor.authorศันธยา กิตติโกวิท-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.date.accessioned2008-01-30T02:26:52Z-
dc.date.available2008-01-30T02:26:52Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5661-
dc.description.abstractชุดโครงการวิจัยประกอบด้วยโครงการย่อยสี่โครงการ โดยสามโครงการย่อยแรกจะศึกษาความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ธุรกิจการรวมและการกระจายธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรม และความสัมพันธ์กับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานองค์กร ความสอดคล้องของระบบสารสนเทศองค์กร อิทธิพลของระบบการกำกับดูแลที่ดี ระบบการตรวจสอบภายใน และระบบประเมินเทียบเคียง ซึ่งในภาพรวมเป็นระบบต่างๆ ที่สร้างความเชื่อมั่นแก่องค์กร และอีกหนึ่งโครงการย่อยจะมุ่งศึกษากลยุทธ์การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเชิงสุขภาพสำหรับธุรกิจโรงแรม ซึ่งผลจากการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการ และหน่วยงานต่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริหาร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคมวิชาชีพ กลยุทธ์ทางธุรกิจมีความสำคัญต่อการเติบโตและการอยู่รอดขององค์กรต่าง ๆ กลยุทธ์ที่มีความแปลกใหม่สำหรับธุรกิจไม่จำเป็นต้องเป็นกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรเสมอไป ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่มีผลต่อการนำกลยุทธ์ไปใช้มีอยู่มากมาย โดยเฉพาะปัจจัยด้านมนุษย์ที่มีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมไทยซึ่งทำให้ค่านิยมและการรับรู้ อีกทั้งการนำกลยุทธ์ไปประยุกต์อาจแตกต่างไปจากวัฒนธรรมอื่น ๆ จากโครงการนำร่องผู้วิจัยได้จำกัดกลยุทธ์การรวมการกระจายที่ศึกษาในโครงการชุดนี้อยู่ 3 ประเภท คือ กลยุทธ์โรงพยาบาลโรงแรม (Hospitel) กลยุทธ์การพักระยะยาว (Long Stay) และกลยุทธ์บริการถึงบ้าน (Homecare Services) โครงการการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การรวมการกระจาย และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นโครงการแรกในชุดโครงการ ผลการศึกษาพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ไม่ได้เชื่อมโยงกลยุทธ์ธุรกิจดังกล่าวกับผลการดำเนินงานโดยรวม ทั้งนี้เพราะโดยภาพรวมแล้วกลยุทธ์ธุรกิจการรวมการกระจายยังไม่แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับในธุรกิจไทย ธุรกิจทั้งสองประสบปัญหาจากความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมภายนอก จึงทำให้องค์กรมุ่งเน้นความอยู่รอดทางธุรกิจ และเช่นเดียวกับองค์กรในธุรกิจและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้ และดำเนินการให้กระแสเงินสดขององค์กรมีเพียงพอที่จะดำเนินการอยู่ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดและกลยุทธ์จึงไม่ชัดเจน แม้ว่ากลยุทธ์ Hospitel และ Long Stay จะยังไม่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แต่เมื่อสภาวะแวดล้อมของธุรกิจ สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมได้ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรมในประเทศไทยอาจหันมาให้ความสนใจได้ นอกจากผลวิจัยดังกล่าวยังมีการเก็บข้อมูลเชิงลึกของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยนำเสนอในรูปแบบของกรณีศึกษา เพื่อสาธิตความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กลยุทธ์ที่ไม่เหมือนกันและความแตกต่างของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ควรจะเป็น กรณีศึกษานี้แสดงความแตกต่างระหว่างการที่โรงพยาบาลจะเลือกกลยุทธ์การให้บริการครบวงจร หรือกลยุทธ์โรงพยาบาลบูดิก การเลือกใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างจะส่งผลทำให้มีตัวชี้วัดที่แตกต่างกันมาก ตลอดจนมีการใช้ทรัพยากร บุคลากร แนวทางในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน โครงการศึกษาเรื่องที่สามในชุดโครงการเป็นการศึกษาความสอดคล้องระหว่างระบบสารสนเทศขององค์กรและกลยุทธ์ธุรกิจดังกล่าว ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการใช้การวิจัยเชิงสำรวจและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูลเบื้องต้น แต่เพื่อให้ได้คามครบถ้วนมากที่สุดจึงได้มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระบบสารสนเทศหลักของทุกโรงพยาบาลและโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เลือกใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการสอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์ นอกจากนั้นยังทำการสัมภาษณ์เชิงลึกบริษัทที่จำหน่ายซอฟต์แวร์ทุกยี่ห้อที่โรงพยาบาลและโรงแรมเหล่านั้นใช้อยู่ ผลการวิเคราะห์พบว่าองค์กรขนาดเล็กซึ่งส่วนมากไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พร้อมที่จะยอมรับกลยุทธ์การรวมธุรกิจมากกว่าองค์กรขนาดใหญ่ แต่โรงพยาบาลหรือโรงแรมไม่ว่าขนาดจะต่างกันหรือไม่ ต่างก็เห็นว่าระบบสารสนเทศของตนมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์การรวมธุรกิจทั้งสิ้น โรงพยาบาลและโรงแรมเกือบทั้งหมดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายสำหรับเฉพาะอุตสาหกรรมของตน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าบริษัทใหญ่ ๆ นั้นแม่ว่าจะยอมลงทุนในซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีราคาสูงในครั้งแรก แต่ส่วนใหญ่ไม่เต็มใจที่จะเสียค่าบำรุงรักษาหรือค่าปรับปรุงให้ระบบมีความทันสมัยอยู่เสมอ แม้ข้อมูลวิจัยที่เก็บได้จากแหล่งต่างๆ จะไม่ระบุอย่างชัดเจนถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสอดคล้องกันระหว่างระบบสารสนเทศองค์กรและกลยุทธ์การรวมธุรกิจ แต่จากการบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งได้นำมาวิเคราะห์ในรูปแบบต้นเหตุผลผลลัพธ์ (Cause and Effect) พบว่าองค์กรไม่สนใจที่จะนำกลยุทธ์การรวมธุรกิจไปใช้ เพราะ ความต้องการในบริการจากการใช้กลยุทธ์ธุรกิจเหล่านั้นมีอยู่ไม่เพียงพออีกทั้งยังต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ทั้งๆ ที่ระบบสารสนเทศองค์กรก็มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ใหม่อยู่แล้ว โครงการการศึกษาเรื่องที่สี่ในชุดโครงการเป็นการศึกษาบทบาทของระบบของระบบควบคุมภายในและระบบการประเมินเทียบเคียงกับกลยุทธ์การรวมธุรกิจ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ที่ประกอบด้วยการวิจัยนำร่องโดยการส่งไปยังกลุ่มผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบภายใน (CIA) และสมาชิกสมาคมผู้ตรวจสอบภายใน (IIAT) หลังจากนั้นก็มีการปรับคำถามเล็กน้อยและส่งแบบสอบถามไปยังผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยใช้กรอบแนวคิดว่า สภาพแวดล้อมของการควบคุมภายในที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้มีการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลด้วย ซึ่งระบบการกำกับดูแลที่ดี ระบบควบคุมภายในและระบบประเมินเทียบเคียง เป็นระบบที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร นอกจากข้อมูลเชิงสำรวจก็ยังมีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตรวจสอบภายในของธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลวิจัยเชิงสำรวจพบว่าองค์กรส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองมีความชัดเจนในระบบสร้างความเชื่อมั่นทั้งสามระบบ และมีสภาพแวดล้อมของระบบควบคุมภายในทั้งในระดับองค์กรและระดับผู้บริหารระดับต้นที่ดีมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า ความชัดเจนของระบบสร้างความเชื่อมั่นยิ่งมีมากเท่าใด ก็ยิ่งมีสภาวะแวดล้อมของระบบการควบคุมภายในที่ดี อีกทั้งมีระดับความสำเร็จของการประเมินเทียบเคียงในชั้นสูง และการดำเนินการด้านการประเมินเทียบเคียงมากเท่านั้น ในแง่ของกลยุทธ์ไม่พบความแตกต่างระหว่างองค์กรที่ใช้หรือไม่ใช้กลยุทธ์กับความชัดเจนของระบบสร้างความเชื่อมั่นเท่าใดนัก การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตรวจสอบภายในของโรงพยาบาลและโรงแรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ทำตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กำหนด มีการใช้ระบบการตรวจสอบภายในตามหลักของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations) และมีการใช้แนวคิดการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management หรือ ERM) โดยที่จะทำการตรวจสอบด้านการเงินและการดำเนินงานมากกว่าด้านกลยุทธ์ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบส่วนใหญ่เป็นในลักษณะการตรวจสอบ Compliance ให้เป็นไปตามกฎระเบียบของการทำธุรกิจขององค์กรอย่างถูกต้อง แต่ก็มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะตรวจสอบความเสี่ยงในด้านการเงินและการดำเนินงานควบคู่กันไป สำหรับโรงพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ (Hospital Accreditation หรือ HA) ผู้ตรวจสอบภายในจะพยายามมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพดังกล่าวเพื่อให้ได้ข้อมูลการตรวจสอบที่ลดความซับซ้อนลงและใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการตรวจติดตามได้ดีขึ้น และในส่วนของโรงแรมซึ่งถ้าใช้การทำสัญญาจ้างการบริหารงานของ Chain นานาชาติ ก็จะมีการตรวจสอบภายในจากทั้งฝ่ายของ chain และฝ่ายของเจ้าของเอง ดังนั้นจึงมีความซับซ้อนพอควรแต่ก็ยังเน้นการตรวจสอบด้านการเงินและการดำเนินงานมากกว่าด้านกลยุทธ์เช่นกัน โครงการการศึกษาที่สองเป็นโครงการที่ศึกษากลยุทธ์การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเชิงสุขภาพสำหรับธุรกิจโรงแรม ซึ่งแม้จะไม่ได้ใช้กรอบแนวคิดด้านกลยุทธ์การรวมการกระจายธุรกิจโดยตรง แต่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพก็เป็นกลยุทธ์ธุรกิจหนึ่งที่โรงแรมจะต้องอาศัยความร่วมมือบางส่วนจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ซึ่งอาจรวมถึงโรงพยาบาลด้วย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้บ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติอย่างดิบ ๆ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติขั้นพื้นฐาน บริการสุขภาพที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานสำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย จนถึงการจัดรูปแบบของบริการเฉพาะทางกับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น Destination Spa ซึ่งเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง หรือรูปแบบของบริการที่มีจุดเด่นพิเศษ เนื่องจากข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลจึงเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกในธุรกิจโรงแรมที่เน้นธุรกิจสปาเป็นหลัก และจำกัดขอบเขตภูมิศาสตร์เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ครอบคลุมทั้งทะเล วนอุทยาน ภูเขาและบ่อน้ำร้อน นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบของท่องเที่ยวเชิงกีฬา วัฒนธรรม ศัลยกรรม และการแพทย์ งานวิจัยใช้แนวคิดการวิเคราะห์สภาวการณ์การแข่งขันของศาสตราจารย์พอร์เดอร์ (Porter’s Five Forces Model and Porter’s Diamond Model) ผลจากการวิเคราะห์พบว่าสปารีสอร์ดของไทยมีบริการที่เป็นเลิศ แต่มีต้นแบบมาจากต่างประเทศและขาดเอกลักษณ์ของการบริการสปาแบบไทย ๆ ซึ่งถ้าได้รับการวิจัยพัฒนาให้สามารถสร้างความแตกต่างและคุณค่าให้กับบริการการดูแลรักษาสุขภาพแบบไทย ก็จะสามารถยกระดับมาตรฐานการให้บริการให้เป็นสากลได้ การที่ธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรมไทยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่แสวงหาหรือนำโมเดลธุรกิจ (Business Model) ใหม่ ๆ มาใช้นั้น เกิดจากปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดขององค์กร ความสามารถในการจัดการและความคล่องตัวขององค์กร สภาวะการแข่งขั้นที่สูงและไม่แน่นอน การสนับสนุนจากภาครัฐ และการรับรู้ความหมายหรือค่านิยมเหล่านี้ฝังลึกในความเคยชินของการดำรงชีวิตภายใต้วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะของคนไทยที่ไม่ชอบไปโรงพยาบาลถ้าไม่จำเป็น โรงพยาบาลคือการรักษาจากการเจ็บป่วยและโรคภัยไข้เจ็บ การเข้าโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แพทย์ พยาบาล และเตียงผู้ป่วยมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอกับจำนวนคนไข้ ในขณะที่โรงแรม คือการใช้เงินเพื่อซื้อความสะดวกสบายและการพักผ่อนที่พิเศษกว่าการอยู่บ้าน เป็นต้น ความเห็นของผู้บริหารโรงแรมก็มีความคล้ายคลึงกับของโรงพยาบาล นั่นคือ การให้บริการในรูปแบบปกติตามแบบที่สืบต่อกันมา (Traditional Business Model) สำหรับโรงแรม คือ การเน้นบริการที่ทำให้ลูกค้าได้รับการพักผ่อน ความสนุกสนาน และความสะดวกสบายที่เงินสามารถซื้อหามาได้ ดั้งนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อทำให้อาคารสถานที่สามารถให้บริการแบบ Hospitel ได้ นอกจากนั้นผู้บริหารโรงแรมระบุว่าวัฒนธรรมไทย หรือวัฒนธรรมชาวเอเชียโดยรวม จะไม่ผสมผสานการพักผ่อนกับการรักษาพยาบาล ความกลัวเกี่ยวกับเรื่องโรคภัยไข้เจ็บจะไม่สามารถทำให้กลยุทธ์ Hospitel เป็นไปได้เลย แต่สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่โรงแรมเกือบทุกแห่งให้ความสนใจ คือ ด้านสปา โรงแรมจะยอมลงทุนปรับปรุงสถานที่เพื่อให้บริการ ดังกล่าว เพราะ “ไม่ทำไม่ได้ ในเมื่อลูกค้ามีความคาดหวังไว้เช่นนั้นen
dc.description.abstractalternativeThe research package comprises three research projects that examine the viability of convergent business strategies of private hospital and private hotels in Thailand and their relationships to the key performance indicators, the alignment of organizational information systems, and the influence of good corporate governance, internal control, and benchmarking which are the three typical confident support systems of an organization. The package also contains a project focusing on the development strategies of wellness tourism in hotel businesses. The research results can contribute to academic research in different fields and provide management, regulators, professional organizations and government agencies with a better understanding of the strategic implementation issues of hospitality businesses. Business strategies are important to the growth and survival of organizations. Yet, novel strategies are not necessary to bring success to a firm. This is because there are so many factors that can influence the implementation of new strategies. The sophistication of human elements and the uniqueness of Thai culture are likely to affect the values and perceptions of how a new strategy would do to the organization. From the pilot study, the researchers have narrowed down the convergent/divergent strategies into three types of convergent business strategies: Hospitel, Long Stay, and Homecare Services. The results show that the convergent strategies are relatively new to Thai hospitality businesses. Both surveys and in-depth interviews are used as the main data collection techniques. The study investigating the relationships between the viability of different convergent business strategies and organizational performances is the first project in the research package. The results show that the majority of the hospitals and hotels listed in the Stock Exchange of Thailand don’t link strategy to performance. This is because the convergent business strategies have not been considered as viable to hospitals and hotels businesses in Thailand. Due to the rapid changes and turbulent external environment facing these businesses, many of these organizations had to go through debt restructuring and do whatever they can to manage their cash flows just to survive. Thus, the relationships between key performance indicators and business strategies are not clear at this time. However, with a more positive business environment, uplifting economic situations, and optimistic social and cultural changes are in place, hospital and hotel businesses might reassess the viability of these convergent strategies. In order to demonstrate the relationships between strategy and performance, in-depth data was collected from a central city hospital. Detailed information of different hypothetical strategies and their subsequent strategic maps and relating key performance indicators are provided in the case study. The case depicts two totally different strategy options: a hospital that provides full option services versus a boutique hospital. These two strategies will lead to totally different sets of performance indicators, resource requirements, skills of their workforce, and operational procedures. The third research project examines the alignment of a firm’s information systems with the viability of the three convergent business strategies. Again, the data collection methods include a questionnaire survey for its pilot study and the in-depth interviews for the hospitals and hotels listed in the Stock Exchange of Thailand. Also, additional telephone survey was conducted to obtain the information about the name of software package used in every listed hospital and hotels. Subsequently, an in-depth interview was carried out with every software vendor or software house revealed in the telephone survey. The data analyses show that smaller hospitals and hotels appear to more readily embrace the convergent business strategies than the publicly owned organizations. Furthermore, both businesses, regardless of their size differences, perceive their information systems to be in alignment with their respective convergent business strategies. Almost all hospitals and hotels listed in the Stock Exchange of Thailand use the software packages common to their respective industries. Like many other Thai organizations, although they were willing to invest in the known software package initially, they did not want to spend more on updates and other maintenance costs. Although the relationships were not clear between the factors influencing the viability of convergent strategies and the extent of information system’s alignment, the cause and effect assessment found the lack of interest in the convergent strategies are resulted from the inadequate demands, addition investment for skill development, lack of total government support, and different turbulent business environments. Thai hospitals have very high demands of patient care and don’t have enough personnel to handle additional services. Hotels were unable to make additional investment to serve new convergent business strategies even though their information systems can easily accommodate the functional requirements of these strategies with minimum modifications. The fourth project in this research package is the study of the roles of internal control systems and benchmarking systems on convergent business strategies. Corporate governance, internal control, and benchmarking are the most typical systems that can build confidence to corporate stakeholders. The present study collected data from different sources. A pilot study using survey instruments was conducted with two groups, participants of the CIA training programs and the members of the Institute of Internal Audit of Thailand. After the pilot study, some adjustment was made to the questionnaire and it was used to collect data from the companies listed in the Stock Exchange of Thailand. Also, in-depth interviews were conducted with the internal auditors of the listed hospitals and the listed hotels. The analyses of survey data from all groups show consistent results that there is a high level of clarity on the three confident support systems. Also the clearer these systems are, the better would the internal control environment be rated and the higher level is the firm’s benchmarking stairway to success. However, there was no difference found between the firm’s that chose or did not choose a given strategy regardless of the charity of any of the confident support systems. Results from in-depth interviews with the internal auditors of these listed firms indicate that the majority of these firms have strictly followed the guideline for good corporate governance. They use the COSO as their internal audit framework and expand to Enterprise Risk Management (ERM) framework. Despite using the ERM framework, the internal auditors still focus on financial and operational audits more so than strategy audits. Compliance audits to ensure that the rules, regulations, and legal issues are met diligently are still the primary tasks of an internal auditor, although every attempt is made to incorporate financial and operational risk issues in the auditing processes. With regard to most listed hospitals, they are in the process of obtaining Hospital Accreditation (HA). The internal auditors in those firms would make an effort to be involved with the HA processes so s to reduce the overlapping of audit works as well as to use some quality assurance findings as the starting points for their follow-up audits. Large hotels, especially those having management contracts with an international chain, will typically have two internal audit teams, one from the property owner side and one from the chain side. There are some overlaps, and most of the audit works are again concentrated on financial and operational related issues rather than strategic issues. Finally, the second project in the research package is the study of the development strategies relating to wellness tourism for hotels. Although the research does not directly employ the framework of the convergent business strategies of hospitals and hotels, wellness tourism is one of those strategies that require cooperation from health related experts, hospital including. Health related tourism can take many forms, including the raw use of nature such as hot springs, a basic run on natural resources, standard and mundane healthcare related services provided by Thai hotels, and finally customized services for selected groups of customers such as ‘Destination Spa’ for high power clients, or specialized program. Since the nature of data collected is qualitative, in-depth interviews would be more appropriate than surveys. Since the geographical locations of potential health tourism destinations are spread out across the country, the research will focus on only three provinces: Chiengmai, Phuket, and Hua Hin (in Prajuabkirikan). These tourism destinations cover beaches, national parks, mountains, hot springs and other mixtures of tourism-related service such as sport, culture, or medical and surgical procedures (sex change operations, cosmetic surgery, etc.). The study employs Porter’s Five Forces Model and his Diamond Model to analyze the competitiveness of the organization and the industry. The results show that Thai Spa resorts have excellent services. Nonetheless these spa and wellness services are modeled after eminent spa originals from aboard. They lack the exclusive Thai spa finesse. If being carefully developed and researched, Thai spa can create a difference and add values to the Thai wellness tourism at the international level. In conclusion, it appears that Thai hospitals and hotels are not enthusiastic with new business models, nor do they embrace the relatively new convergent business strategies as outlined in the research projects. Several factors may impede the willingness to take on new ways of doing businesses, including the size of the organization, management capability, flexibility of the organization, the chaotic environment in recent years, the lack of government support, the perceptual stubbornness of managers and owners. Many of these professionals have their ways set. They have their underlying business model of what a hospital or a hotel is supposed to do. The meanings they have conjured up are based on their value systems, the custom and culture, and especially the Thai ways of lives. Thai people are not comfortable with the thoughts of going to hospitals: the place where sickness and deceases entail; going to hospitals are expensive and the number of physicians and nurses or medical personnel is never enough for all patients’ demands. Hotels, on the other hand, are places for relaxation and fun. One would go to hotel to pay for premium services that he/she cannot get from being at home. The majority of Thai hotels management are very conservative in their definitions of a hotel and what services the hotel is supposed to provide. They tend to take the path of least resistant and employ a traditional business model-that is to focus on providing lifestyle, relaxation, fun, convenience in exchange for incoming revenues. They were hesitated to make investment in remodeling and restructuring the hotel’s buildings and equipment to suit such strategies as Hospitel. Besides, it is inconceivable to mix fun and relaxation with curing and hospitalization. Thus, Hospitel is ignored by Thai hotels, with an exception of some hospitals that found this opportunity incomprehensible. The only health related services that Thai hotels appear to take on is Spa. Most hotels are willing to make investment on the renovation of facility so as not to be left behind. Also, it becomes a must for the hotels due to customer’s expectations.en
dc.description.sponsorshipงบประมาณแผ่นดิน ปี 2546-2547en
dc.format.extent14398084 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงพยาบาล -- การบริหารen
dc.subjectโรงแรม -- การบริหารen
dc.subjectอุตสาหกรรมโรงแรมen
dc.subjectการตัดสินใจen
dc.titleการรวมและการกระจายแนวคิดของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรมen
dc.title.alternativeConvergence and divergence of the strategic decision making for hospital and hotel businessesen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorfcomutc@phoenix.acc.chula.ac.th-
dc.email.authorfcomwkt@phoenix.acc.chula.ac.th-
dc.email.authorpasu@acc.chula.ac.th, pasu@pasuonline.net-
dc.email.authorfcompkt@acc.chula.ac.th-
dc.email.authorfcomskt@acc.chula.ac.th-
dc.subject.keywordHospital businessen
dc.subject.keywordHotel businessen
dc.subject.keywordConvergent business strategyen
dc.subject.keywordStrategic decision makingen
dc.subject.keywordKey performance indicatorsen
dc.subject.keywordOrganizational information systemsen
dc.subject.keywordInternal auditen
dc.subject.keywordBenchmarkingen
dc.subject.keywordCorporate Governanceen
dc.subject.keywordWellness tourismen
Appears in Collections:Acctn - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uthai_Covergence.pdf14.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.