Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56720
Title: การพัฒนาแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ
Other Titles: Development of physical activity questionnaire for the elderly
Authors: คุรุศาสตร์ คนหาญ
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การออกกำลังกาย
พฤติกรรมสุขภาพ
ผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
Aged -- Thailand -- Bangkok
Exercise
Health behavior
Exercise for the aged
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุไทย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามกิจกรรมทางกายชนิดปลายเปิดและเครื่องวัดความเคลื่อนไหวร่างกาย แบบพกพา รุ่นซีเอสเอ โมเดล 7164 อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ จำนวน 90 คน แบ่งเป็นเพศชายและเพศหญิงอย่างละ 45 คน ดำเนินการเลือกตัวอย่างผู้เข้าร่วมการวิจัยแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มเท่า ๆ กัน คือกลุ่มที่ 1 หาความตรงเชิงเนื้อหาจำนวน 30 คน โดยวิธีสอบถามความเข้าใจภาษาและการจัดการบริหาร กลุ่มที่ 2 ใช้ศึกษาทดลองเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของข้อมูลปริมาณการเคลื่อนไหวของเครื่องวัดความเคลื่อน ไหวร่างกายแบบพกพา และข้อมูลจากแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อหาสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สันจำนวน 30 คน โดยติดเครื่องวัดความเคลือนไหวร่างกายแบบพกพาที่เอวด้านขวา ของกลุ่มตัวอย่างวันละ 10 ชั่วโมง ติดต่อเป็นระยะเวลา 7 วัน และตอบแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับ ผู้สูงอายุวันละชุด และกลุ่มที่ 3 จำนวน 30 คน ใช้หาความเที่ยงของแบบสอบถามกิจกรรมทางกาย สำหรับ ผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์ด้วยวิธีการวัดซ้ำ โดยให้ตอบข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายในรอบ 12 ชั่วโมงของ 1 วัน ในแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นมีความตรงโดยมีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ® ของค่าปริมาณการเคลื่อนไหวจากแบบสอบถามกิจกรรมทางกายและเครื่องวัด ความเคลื่อนไหวร่างกายแบบพกพาปานกลาง โดยกิจกรรมระดับเบามีค่าเท่ากับ .37 กิจกรรมระดับ ปานกลางมีค่าเท่ากับ .57 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 (P<.05) 2. แบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับ ผู้สูงอายุทั้งฉบับมีความเที่ยงในระดับปานกลาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .58 โดยกิจกรรม ระดับเบามีค่าความเที่ยงสูงเท่ากับ .73 กิจกรรมระดับปานกลางมีค่าความเที่ยงสูงเท่ากับ .84 และกิจกรรม ระดับหนักมีค่าความเที่ยงสูงเท่ากับ .70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 (P<.05) สรุปผลิการวิจัย : แบบสอบถาม กิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุมีคุณลักษณะที่ดีของแบบสอบถาม เนื่องจาก มีค่าความเที่ยงในระดับสูง และสามารถใช้เทียบอิงกับอัตราการใช้พลังงานจากการวัดกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุไทยได้ในระดับ ปานกลาง จึงสามารถใช้เป็นแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุไทยได้
Other Abstract: The purpose of this study was to develop a physical activity questionnaire to assess physical in Thai elderly individuals. The research tools that were used in the investigation were accelerometer CSA model 7164 and the opened-ended questionnaire that was developed by the investigator. Ninety subjected with Thai language literacy voluteered for this study (i.e. 45 males and 45 females). Subjects were randomized and divided into 3 separate groups with equal number of subject in each group (i.e. 30 subjects per group). The first group of subjects was used to assess content validity such as language and procedure. The second group was used to determine the relationship between the developed questionnaire and accelerometer’s data Within this group, the subjects were instructed to wear the accelerometer for 10 waking hours and also record the minute spent in physical activity on the developed questionnaire. Finally the last group was used to assess test-retest reliability of the modified questionnaire. The obtained data were then analyzed in terms of correlation coefficient. The results revealed as follows: 1. Pearson’s product moment correlation coefficient between the accelerometer and questionnaire showed moderate validity r = .37 in light activity and r = .57 in moderate activity. (P<.05) 2. Test – retest reliability of the developed physical activity questionnaire for the elderly was moderate (r = .58) that high reliability in light activity (r = .73), high reliability in moderate activity (r = .84) and high reliability in vigorous activity (r = .70). (P<.05) Conclusion : this physical activity questionnaire possessed moderate validity and reliability and could be accepted to estimate physical activity for the Thai elderly population.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56720
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1240
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1240
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kurusart_ko_front.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
kurusart_ko_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
kurusart_ko_ch2.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
kurusart_ko_ch3.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
kurusart_ko_ch4.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
kurusart_ko_ch5.pdf719.7 kBAdobe PDFView/Open
kurusart_ko_back.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.