Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56730
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้และแนวทางในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา : รายงานการวิจัย
Authors: ศรัณย์พร ยินดีสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การเรียนรู้
นักเรียนมัธยมศึกษา
การจูงใจในการศึกษา
การประเมินความต้องการจำเป็น
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดความต้องการจำเป็นของนักเรียนมัธยมศึกษาด้านความใฝ่รู้ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ และเพื่อวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียน ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความใฝ่รู้ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักเรียน ใช้ตัวอย่างจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย และใช้สถิติการทดสอบที (t-test) และระยะที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple Linear Regression) และการใช้วิเคราะห์เนื้อหากับการสัมภาษณ์นักเรียนและครู และระยะที่ 3 การวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ โดยการสัมภาษณ์ครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกระดับชั้นทั้งสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีความใฝ่รู้ในระดับปานกลาง และมีความต้องการจำเป็นด้านความใฝ่รู้อย่างเร่งด่วน ทุกด้าน 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ พบว่าตัวแปรอิสระที่สามารถทำนายระดับความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจ บรรยากาศในการเรียนรู้ และกิจกรรมในชั้นเรียน สามารถทำนายได้ร้อยละ 67 3. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ คือ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน และการได้รับการสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอจากครอบครัว
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to determine secondary school students’ needs in curiosity and 2) to analyse the factors affecting the secondary school students’ curiosity and 3) to analyse the proper methods in developing students’ curiosity. The research procedure was divided into 3 phases. The first phase was to define the needs in curiosity. Questionnaires were used to collect the data by a multi-stage random sampling. Then, the data were analyzed by descriptive statistics and independent sample t-test. The second phase was to analyze the factors affecting the secondary school students’ curiosity. Questionnaires were used to analyze the data by Multiple Linear Regression. Interviewing teachers and students were used to analyze the contents. The third phase was to analyze the proper methods in developing curiosity by interviewing teachers. The research results were as follows: 1. The curiosity of the secondary students in the school under the Office of the Basic Education Commission and the Office of Higher Education Commission was at the medium level but require urgently needs in curiosity. 2. The analysis of factors affecting curiosity indicated that learning environment was related to the curiosity the most. The factors can significantly predict the curiosity level of the secondary student up to 67 percentage, such as self-esteem, motivation, learning environment and classroom activities. 3. The proper methods in curiosity development is to create learning society in school and constantly supported by the family.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56730
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarunporn_yi_2559.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.