Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56799
Title: Effect of acute exercises, chronic exercise training and vitamin C supplementation on physiological change and symptoms in allegic rhinitis patients
Other Titles: ผลของการออกกำลังกายฉับพลันการฝึกออกกำลังกายและการเสริมวิตามินซีที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ : รายงานวิจัย
Authors: Daroonwan Suksom
Jettanong Klaewsongkram
Wannaporn Tongtako
Nutdanai Jaronsukwimal
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Sport Science
Subjects: Exercise -- Immunological aspects
Vitamin C -- Therapeutic use
Hay fever -- Treatment
Hay fever -- Palliative treatment
การออกกำลังกาย -- แง่ภูมิคุ้มกันวิทยา
วิตามินซี -- การใช้รักษา
เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ -- การรักษา
เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ -- การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The aim of this present study was to investigate an effect of acute exhaustive and moderate intensities exercises, exercise training and vitamin C supplementation on physiological change and rhinitis symptoms in allergic rhinitis patients. There were two studies: Study I : The subjects, aged18-45 years old, were divided into 2 groups: 14 healthy individuals and 13 allergic rhinitis (AR) patients. They were assigned to perform the strenuous exercise on treadmill by using Bruce protocol until they were exhausted. Two weeks later, they were assigned to perform a moderate exercise by walking on treadmill for 30 minutes at 65-70% of heart rate reserve (HRR). Study II: Twenty-seven volunteered patients with allergic rhinitis, aged 18-45 years old, were recruited. They were randomized into 3 groups: control group (CON; n=8), exercise group (EX; n=9) exercise combined with vitamin C group (EX + Vit. C; n=10). The exercise training protocol consisted of walking – running on a treadmill at 65-70% HRR, 30 minutes per session, 3 times a week. The EX + Vit. C group ingested vitamin C 2, 000 mg per day. Results of the study are as follow: Study I: After both acute exhaustive and moderate intensities exercises, volume of nasal inspiratory flow were increased but nasal congestion was decreased (p<.05). In addition, nasal blood flow was decreased after performing moderate exercise in both groups of subjects (p<.05). The ratio of IL-2 and IL-4 (IL-2/IL-4) after moderate exercise was significantly higher than exhaustive exercise in both the healthy and AR groups (p<0.05) Study II: After 8 weeks, malondialdehyde (MDA) levels of the both EX and EX + Vit. C were significantly lower than the CON group (p<.05). the both EX and EX + Vit. C had significantly lower in interleukin (IL)-4 levels but higher in IL-2 than the CON (p<.05). After nasal challenge by house dust mite (D.pteronyssinus), the percent difference of IL-4 and IL-13 were significantly lower but the percent difference of IL-2 were significantly higher in the both EX and EX + Vit C when compared with the CON (p<.05). For rhinitis symptoms, the percent difference of peak nasal inspiratory flow (PNIF) were significantly higher while nasal blood flow were significantly lower in the both EX and EX + Vit. C comparing to the CON (p<.05). Moreover, the both EX and EX + Vit. C had a significantly higher PNIF after nasal challenge 60 minutes comparing to pre-test (p<.05). The rhinitis symptoms score i.e. congestion, itching, sneezing, rhinorrhea and total symptoms at baseline and following nasal challenge were significantly decreased in the both EX and EX + Vit. C (p<.05). In conclusion, acute exhaustive and moderate intensities exercises increased peak nasal inspiratory flow and decreased nasal congestion in allergic rhinitis patients. But only moderate exercise also reduced nasal blood flow in allergic rhinitis patients. Eight weeks of moderate exercise training with and without vitamin C supplementation demonstrated improving cardiorespiratory fitness, attenuating the inflammatory response and reducing symptoms in patients with allergic rhinitis. Therefore, regularly moderate exercise training should be recommend for allergic rhinitis patients.
Other Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายฉับพลัน การฝึกออกกำลังกาย และการเสริมวิตามินซี ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและอาการ ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาที่ 1: ศึกษาผลของการออกกำลังกายฉับพลันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างอายุ 18-45 ปี เป็นผู้มีสุขภาพดี 14 คน และผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 13 คน ให้กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกาย 2 ครั้ง ได้แก่ การออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูง โดยการวิ่งบนลู่วิ่งด้วยวิธีของบรูซจนเหนื่อยหมดแรง และการออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางด้วยการเดินวิ่งบนลู่วิ่งด้วยความหนักที่ 65-70% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง เป็นเวลา 30 นาที โดยเว้นระยะห่าง 2 สัปดาห์ในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ในส่วนของการศึกษาที่ 2: ศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายและการเสริมวิตามินซีที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้กลุ่มตัวอย่างอายุ 18-45 ปี เป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จำนวน 27 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 8 คน กลุ่มออกกำลังกายอย่างเดียว จำนวน 9 คน และกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการเสริมวิตามินซี จำนวน 10 คน โปรแกรมการออกกำลังกายประกอบด้วยการเดิน-วิ่งบนลู่วิ่งที่ความหนัก 65-70% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง ครั้งละ 30 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ กลุ่มเสริมวิตามินซี รับประทานวิตามินซีวันละ 2,000 มิลลิกรัม ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาที่ 1: ภายหลังจากการออกกำลังกายฉับพลันระดับปานกลางและระดับสูง อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และปริมาตรการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูกมีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนอาการคัดจมูกมีค่าลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอด ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพดี และกลุ่มผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ นอกจากนั้นยังพบว่า การไหลของเลือดในโพรงจมูกภายหลังการออกกำลังกายแบบฉับพลันที่ความหนักระดับปานกลางมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มผู้มีสุขภาพดีและกลุ่มผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อีกทั้งหลังจากออกกำลังกายแบบฉับพลันความหนักระดับปานกลาง ส่งผลให้อัตราส่วนความแตกต่างระหว่างอินเตอร์ลูคินทูว์ต่ออินเตอร์ลูคินโฟวร์สูงกว่าหลังจากออกกำลังกายแบบฉับพลันความหนักระดับสูงของทั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษาที่ 2: หลังจาก 8 สัปดาห์พบว่า กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซีมีการลดลงของระดับของมาลอนไดอัลดีไฮด์แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และมีอินเตอร์ลูคินทูสูงกว่ากลุ่มควบคุม และอินเตอร์ลูคินโฟร์น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งกลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซีมีการลดลงของอินเตอร์ลูคินโฟร์ แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังจากพ่นสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นไรฝุ่นเข้าไปในจมูก พบว่า กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซี มีเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นของอินเตอร์ลูคินทู แต่มีการลดลงของอินเตอร์ลูคินโฟร์ และอินเตอร์ลูคินโฟร์เทอร์ทีน แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับด้านอาการของโรคพบว่ากลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซีมีการเพิ่มขึ้นของปริมาตรการไหลของอาการสูงสุดในโพรงจมูก และมีการลดลงของการไหลของเลือดในโพรงจมูก แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังจากถูกพ่นสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นไรฝุ่นเข้าไปในจมูก 60 นาที พบว่ากลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซีมีการลดลงของปริมาตรการไหลของอาการสูงสุดในโพรงจมูก แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ได้แก่ อาการคัดจมูก อาการคันจมูก อาการจาม อาการน้ำมูกไหล และอาการโดยรวม ของกลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซีมีการลดลงแตกต่างจากก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายแบบฉับพลันทั้งที่ความหนักระดับสูงและความหนักระดับปานกลางมีผลทำให้จมูกโล่งขึ้น โดยเพิ่มปริมาณการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูก และลดอาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ทั้งนี้การออกกำลังกายแบบฉับพลันความหนักระดับปานกลางช่วยลดการไหลของเลือดในโพรงจมูกได้ อีกทั้งการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักระดับปานกลางเป็นเวลา 8 สัปดาห์ทั้งเสริมและปราศจากการเสริมวิตามินซี สามารถช่วยพัฒนาสมรรถภาพของระบบหัวใจและหายใจ ลดการตอบสนองของการอักเสบ และลดความรุนแรงของอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้ จึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางอย่างสม่ำเสมอต่อไป
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56799
Type: Technical Report
Appears in Collections:Spt - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Daroonwan_Su_016733.pdf17.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.