Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57883
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นในการเล่นเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมกับความพึงพอใจในชีวิตโดยมีการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าเป็นตัวแปรกำกับ
Other Titles: Relationship between facebook intensity, instagram intensity and life satisfaction: the moderating effect of upward comparison
Authors: พรรณธร ฐิตญาณพงศ์
มนสิชา คำฟู
สุปริญญา บัวรับพร
Advisors: สรวิศ รัตนชาติชูชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเปรียบเทียบ (จิตวิทยา)
การเปรียบเทียบทางสังคม
เครือข่ายสังคมออนไลน์ -- แง่จิตวิทยา
Comparison (Psychology)
Social comparison
Online social networks -- Psychological aspects
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นในการเล่นเฟซบุ๊ก และความเข้มข้นในการเล่นอินสตาแกรมกับความพึงพอใจในชีวิต โดยมุ่งเน้นศึกษาว่าความสัมพันธ์นี้เปลี่ยนแปลงไปตามระดับการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 275 โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยทำการตอบแบบวัดความเข้มข้นในการเล่นเฟซบุ๊ก (α = .778) ความเข้มข้นในการเล่นอินสตาแกรม (α = .904) การเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าในเฟซบุ๊ก (α = .842) เปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าในอินสตาแกรม (α = .878) และ ความพึงพอใจในชีวิต (α = .814) ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเข้มข้นในการเล่นเฟซบุ๊กไม่มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .070, p = .247, n.s.) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นในการเล่นเฟซบุ๊กและความพึงพอใจในชีวิตมีค่าเป็นบวก เพิ่มขึ้นเมื่อวัดในผู้ที่มีการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าในเฟซบุ๊กระดับสูง (β = 0.26, p = .002) ในขณะที่ผู้ที่มีการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าในเฟซบุ๊กระดับต่ำ ไม่ว่าจะมความเข้มข้นในการเล่นเฟซบุ๊กมากหรือน้อย จะมีความพึงพอใจในชีวิตไม่แตกต่างกัน (β = 0.054, p = .452, n.s.) 3. ความเข้มข้นในการเล่นอินสตาแกรมไม่มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ (r = .089, p = .141, n.s.) 4. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นในการเล่นอินสตาแกรมและความพึงพอใจในชีวิตเพิ่มขึ้น ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อวัดในผู้ที่มีการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าระดับสูง (β = .246, p = 003) หรือระดับต่ำ (β = .229, p = .004)
Other Abstract: The current study was aimed to examine the moderating effect of upward comparison on the association between Facebook intensity, Instagram intensity and life satisfaction. Two hundred and seventy-five undergraduate students from Chulalongkorn University, completed measures of Facebook intensity (α = .778), Instagram intensity (α = .904), upward comparison on Facebook (α = .842), upward comparison on Instagram (α = .878) and life satisfaction (α = .814) respectively. The results were as follows: 1.There is no significant association between Facebook intensity and life satisfaction (r = .070, p = .247, n.s.). 2.The relationship between Facebook intensity and life satisfaction has increased consecutively in those who have high score in upward comparison in Facebook (β = 0.26, p = .002), while those who have low score in upward comparison in Facebook have shown no difference in life satisfaction even if they have high or low Facebook intensity (β = 0.054, p = .452, n.s.). 3.There is no significant association between Instagram intensity and Life satisfaction (r = .089, p = .141, n.s.). 4.The relationship between Instagram intensity and life satisfaction has increased in the same level in those who have high score (β = .246, p = 003) and low score in upward comparison (β = .229, p = .004).
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57883
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panthon_ti.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.