Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58033
Title: โครงการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์ในกลุ่มผู้ย้ายถิ่นเพื่อสังคมสมานฉันท์ : กรณีศึกษาแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือและผู้ลี้ภัย : รายงาน
Authors: เปรมใจ วังศิริไพศาล
กนกพรรณ อยู่ชา
อังคณา กมลเพ็ชร์
วรัญญา จิตผ่อง
จันทร์เพ็ญ หมู่ปัน
Email: premjai.v@chula.ac.th
Kanokphan.U@Chula.ac.th
Aungkana.K@Chula.ac.th
Waranya.J@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันเอเชียศึกษา
Subjects: แรงงานต่างด้าว
แรงงานไม่มีฝีมือ
ผู้ลี้ภัย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเข้ามาประเทศไทยของแรงงานไทยและผู้อพยพหนีภัยสงครามจากประเทศพม่ามีมาเป็นเวลานาน ซึ่งนโยบายของไทยที่เน้นการควบคุมและการจำกัดพื้นที่ของแรงงานต่างชาติและผู้ลี้ภัยยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ ขณะที่การมีแรงงานต่างชาติจำนวนมากมีส่วนสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อภาระการบริการสาธารณสุขและบริการสังคมที่เพิ่มขึ้น การมีสถานะทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายของแรงงานส่งผลต่อความยุ่งยากซับซ้อนในการบริหารจัดการ จำนวนแรงงานต่างชาติที่เพิ่มขึ้นยังผลกระทบทางสังคมต่อชุมชนไทยที่อยู่ร่วมกับแรงงานต่างชาติ การสำรวจเบื้องต้นพบว่า ยังมีความแปลกแยกและปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างแรงงานต่างชาติกับชุมชนไทยในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่ความบาดหมางหรือความขัดแย้งมากขึ้นได้ หากไม่มีการจัดการหรือส่งเสริมการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยดี ในลักษณะเดียวกันกับผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าในศูนย์พักพิงที่แม้ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกพื้นที่พักพิง แต่มีบางส่วนที่ลักลอบออกมาทำงานหรือเก็บของป่าขาย ความแออัดของจำนวนคนในศูนย์และที่ตั้งของศูนย์ที่ใกล้แหล่งต้นน้ำ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยสภาพแวดล้อมของศูนย์และชุมชนไทยรอบๆ จึงเกิดความขัดแย้งและการตั้งข้อรังเกียจจากชุมชนไทย ถึงแม้ว่านโยบายของไทยต้องการให้คนเหล่านี้เดินทางกลับไปประเทศต้นทาง แต่การเมืองในพม่าแม้หลังจากการเลือกตั้งแล้ว ยังคงมีการสู้รบกับชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม ทำให้มีผู้อพยพจากพม่าต้องหลบหนีเข้ามาประเทศไทยและประเทศอื่นอย่างต่อเนื่อง การส่งกลับผู้อพยพจึงยังเป็นไปได้ยากในอนาคตอันใกล้ ทั้งแรงงานต่างชาติและผู้ลี้ภัยจากภัยสงครามประเทศพม่า ซึ่งยังมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสังคมไทยต่อไปในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นที่ต้องหาทางป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น ไม่ให้ขยายออกไปและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ต่อไป
Other Abstract: The situation of migrant worker and displaced person fleeing conflict from neigbouring countries to Thailand has happened over a long period. Thailand policy focusing to control and restrict the movement of both groups remain difficult in practice. Although migrant workers have contributed to Thailand economic growth but in the other hand they also place more burdens on social services including health services budget. The legal and illegal status of these migrants have made policy implementation and management more complicated. The increasing number of migrant worker has caused social conflict with Thai society. The initial survey found that there are conflicts between local Thai and migrant living together in some areas which may develop to serious situation or more conflict if there is no appropriate management or promotion of consolidated living. The similar situation with displaced persons from Myanmar residing in the shelters whose movement out of the shelters are restricted. In fact, some of them have managed to escape from the shelters to work or making use of forest products. The crowded population and shelters locations at the upstream have caused hygienic and environment problems to the shelters and surrounding areas. Thus make local people displeased and disapproved to their existence. Thailand policy prioritize to repatriate them back to Myanmar is difficult to take place in the near future because of the existing conflict and fighting between the Burmese government and ethnic insurgents. Both migrant workers and displaced persons are still need to be in Thailand for the time being. It is necessary to prevent the conflict between them and local Thai community as well as to promote the peaceful living together.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58033
Type: Technical Report
Appears in Collections:Asia - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Premjai Vu_b19343413.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.