Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58097
Title: การนำเสนอแนวทางการสืบทอดอุดมการณ์เพื่อการพัฒนามนุษย์จากเพลงไทยสากลเชิงประวัติศาสตร์สังคม: กรณีศึกษาบทร้องเพลงของวงดนตรีสุนทราภรณ์
Other Titles: Proposed Guidelines for The Transmission of Human Developmentt Ideology from Modern Thai Songs: A Social-Historical Study of The Song Lyrics of The Suntharaporn Band
Authors: อมร เอี่ยมตาล
Advisors: กรรณิการ์ สัจกุล
อัควิทย์ เรืองรอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Kanniga.S@Chula.ac.th,kanniga_ch@yahoo.com
dr.akhawit_bsru@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาอุดมการณ์การพัฒนามนุษย์จากบทร้องเพลงสุนทราภรณ์ ในเชิงประวัติศาสตร์สังคม 2)วิเคราะห์กระบวนการถ่ายทอดอุดมการณ์การพัฒนามนุษย์จากบทร้องเพลงสุนทราภรณ์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และ3)นำเสนอแนวทางการสืบทอดอุดมการณ์ การพัฒนามนุษย์จากบทร้องเพลงสุนทราภรณ์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า อุดมการณ์การพัฒนามนุษย์จากบทร้องเพลงสุนทราภรณ์ ในเชิงประวัติศาสตร์สังคม แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ (1)ยุคจอมพลป.พิบูลสงคราม (2) ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ(3) ยุคจอมพลถนอม กิตติขจร บทร้องเพลงสุนทราภรณ์ มีคุณค่าตามประเภทอุดมการณ์ 5 ประเภทคือ (1) อุดมการณ์สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (2)อุดมการณ์บทบาทเยาวชน (3)อุดมการณ์การศึกษา (4)อุดมการณ์บทบาทสตรี และ(5) อุดมการณ์ชีวิต ซึ่งอุดมการณ์ดังกล่าวมีคุณค่าในการพัฒนามนุษย์ทั้งด้านกาย ด้านศีล ด้านจิต และด้านปัญญา ส่วนอุดมการณ์การพัฒนามนุษย์ในบทร้องเพลงมีความสอดคล้องกับนโยบายการสร้างชาติของผู้มีอำนาจทางการเมือง โดยเนื้อหาอุดมการณ์เพื่อการพัฒนามนุษย์ในบทร้องเพลงสุนทราภรณ์ พบมากที่สุดสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม กระบวนการถ่ายทอดอุดมการณ์การพัฒนามนุษย์จากบทร้องเพลงสุนทราภรณ์ พบว่า มีกระบวนการถ่ายทอด 2 ประเด็นคือ (1) ลักษณะการถ่ายทอดซึ่งมีทั้งในอดีตและปัจจุบัน (2) ปัจจัยและปัญหาในกระบวนการถ่ายทอด ซึ่งพบทั้งในแง่ที่เป็นอุปสรรคและเกื้อกูล ส่วนแนวทางการสืบทอดอุดมการณ์เพื่อการพัฒนามนุษย์จากบทร้องเพลงสุนทราภรณ์ พบว่ามีความจำเป็นที่ต้องสืบทอดในรูปแบบการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน
Other Abstract: Objectives of the research were to study the human development ideology inherent in the Suntaraporn songs in the perspective of social history,to analyze the transmission of human development ideology and to propose guidelines for transmission of human development ideology inherent in Suntarporn songs. The research is qualitative, based on content analysis of documents, in-depth interview, and focus group discussion. The study find that the timeline of the development ideology featured in the Suntaraporn songs can be divided into three periods marked by the three military regimes. They are the P. Pibulsunggram regime , the Sarit Thanarat regime , and the Thanom Kittikachorn regime . The ideology inherent in the Suntarapron lyrics pertains to the five issues of 1) King, Religion and Country 2) The role of the youths 3) Education 4) The role of women 5) Life in general .The songs imbued with such ideology contribute to the human development in terms of discipline, mentality, and wisdom. Mostly found during the P. Pibulsonggram regime, the human development ideology inherent in the Suntaraporn songs was consistent with the national building policy carried out by those in power. It is suggested that the transmission of human development ideology inherent in the Suntaraporn song be carried out through formal and informal and non formal education.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58097
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.678
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.678
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484478027.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.