Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58392
Title: การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป
Other Titles: A study of good governance of head nurses in general hospitals
Authors: ขนิษฐา ศรีปิ่นแก้ว
Advisors: วาสินี วิเศษฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sasinee.W@Chula.ac.th,wwasinee.w@gmail.com
Subjects: โรงพยาบาล -- การบริหาร
ธรรมรัฐ
Hospitals -- Administration
Good governance
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ประเภทงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จำแนกตาม ระดับการศึกษา ระยะเวลาการบริหารงานหอผู้ป่วย หน่วยงานที่ปฏิบัติ การอบรมหลักสูตรบริหารทางการพยาบาล และระดับของโรงพยาบาลทั่วไปกลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 365 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป ใช้แนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ Weiss (2000) , สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2552), สถาบันพระปกเกล้า (2549), สำนักงานข้าราชการพลเรือน (2546) ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่า CVI = 0.85 และทดสอบความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.30) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านหลักความรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย= 4.45) รองลงมาคือ ด้านหลักนิติธรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.44) ด้านหลักการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย = 4.37) ด้านหลักคุณธรรมและจริยธรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.35) และด้านหลักความโปร่งใส (ค่าเฉลี่ย = 4.25) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านหลักประสิทธิภาพประสิทธิผล (ค่าเฉลี่ย = 4.00) 2. หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไปที่มีระดับการศึกษาปริญญาเอกและปริญญาโท มีพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลสูงกว่าปริญญาตรี และหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีระยะเวลาการบริหารหอผู้ป่วย 5 – 15 ปี มีพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลสูงกว่า 1 – 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการอบรมหลักสูตรบริหารทางการพยาบาล หน่วยงานที่ปฏิบัติ และระดับของโรงพยาบาลทั่วไปแบ่งตาม Service Plan ระดับ S และ M1 ที่แตกต่างกัน หัวหน้าหอผู้ป่วยมีพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The objectives of this descriptive research were to study the good governance of head nurses in general hospitals and compare administration based on good governance principles classified by educational level, time from patient ward management as a head nurse, department assignment, nursing administration training programs and level of general hospital service provision Service Plan. The sample was composed of 365 head nurses in general hospitals who were selected by using the multi-stage sampling technique. The data collection instrumentation included a questionnaire based on the management of the good governance concepts developed by Weiss (2000), Office of the Public Sector Development Commission (2009), King Prajadhipok's Institute (2006), Office of the Civil Service Commission (2003). The questionnaire was validated by a panel of five qualified experts who checked for content validity (0.85).Reliability was tested by finding Cronbach’s alpha coefficient, which yielded a reliability value of.96. Data were statistically analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, t-test statistics and one-way ANOVA. The findings can be summarized as follows: 1. Overall administration the good governance principles of head nurses in general hospitals was found to be good (mean = 4.30). When individual aspects were considered, the responsibility was found to earn the highest mean score (mean = 4.45), followed by legal principles (mean = 4.44), participation (mean = 4.37), morality and ethics (mean = 4.35) and transparency (mean = 4.25). Effectiveness had the lowest mean score (mean = 4.00). 2. Head nurses at general hospitals with doctorate and master’s degrees had higher scores for administrative behaviors in compliance with good governance principles than head nurses with bachelor’s degree education levels. Head nurses at general hospitals with administrative time of 5 – 15 years were found to have better administration in line with good governance than head nurses with administrative time at 1 – 5 years with statistical significance at .05. Head nurses who received administrative training programs and worked in different settings with service provision of Level S and M1 general hospitals administrated based on good governance with no difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58392
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1065
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1065
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877157836.pdf7.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.