Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58908
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชลัยพร อมรวัฒนา-
dc.contributor.authorเอกรินทร์ วาณิชย์เจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-26T14:20:28Z-
dc.date.available2018-05-26T14:20:28Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58908-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษามาตรการในการจำกัดเวลาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายจำกัดเวลาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ออุปสงค์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทำการศึกษาผลกระทบของนโยบายจำกัดเวลาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ออุปสงค์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ่านการวิเคราะห์สมการอุปทานของตลาดและอุปสงค์ ด้วยแบบจำลอง Seemingly Unrelated Regression Estimated และวิเคราะห์พฤติกรรมการย้ายการบริโภคระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สองชนิดอันได้แก่ เหล้าวิสกี้และเบียร์ ผลการศึกษากฎหมายหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยพบว่า การดำเนินนโยบายและมาตรการในการจำกัดและควบคุมพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการโฆษณาที่ผ่านมามิได้ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ต้องการ แต่กลับกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจูงใจการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และรูปแบบการโฆษณาใหม่ๆ มากขึ้น ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณามีผลต่อราคาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทิศทางที่สัมพันธ์กันสำหรับสมการอุปสงค์ซึ่งตรงข้ามกับความสัมพันธ์ในสมการอุปทาน ดังนั้นนโยบายจำกัดเวลาที่รัฐบาลนำมาใช้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค และผู้บริโภคเหล้าวิสกี้เท่านั้นมีพฤติกรรมการเสพติดที่มีเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างเบียร์และเหล้าวิสกี้เป็นสินค้าทดแทนกัน ข้อเสนอแนะ คือ รัฐบาลควรจัดเก็บภาษีอากรสำหรับการบริโภคเบียร์ให้สูงขึ้น และจัดเก็บภาษีให้เต็มเพดานในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด อีกทั้งรัฐบาลควรสนับสนุนมาตรการการจำกัดเวลาการโฆษณา และสนับสนุนมาตรการที่ทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงต้นทุนทางสังคม อันเกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis are to study the Time Limitation Policy of alcohol beverage and analyze the impact of Time Limitation Policy of alcohol beverage advertisement on its demand and some types of alcohol beverage by analyzing market demand and market supply with Seemingly Unrelated Regression Estimated Model and also observe the change in consumption behavior between spirits and beer. The results in the laws and policy of alcohol consumption restriction analysis show that alcohol consumption restriction policy, especially Time Limitation Policy of alcohol beverage advertisement in the past has no effect to change consumers' behavior. In the other hand, producers use the others media to advertise their products instead of using television advertise. The results in quatitative analysis show that advertising expenditure has been related to alcohol price in supply equation; meanwhile, there exists the direct variation with alcoholic price in demand equation. It can be concluded that there has effect of Time Limitation Policy of alcohol beverage advertisement in changing consumers' behavior; moreover, only spirit consumer had Rational Addiction behavior, and the relation between spirit and beer is substitute goods. Policy Implications of this study are that the government should raise beer's tax up and also raise tax of the others up to their ceiling. Furthermore, the government should support Time Limitation Policy of alcohol beverage advertisement in order to make the consumer realize about the social cost of consuming alcohol beverage.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2013-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโฆษณา -- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์en_US
dc.subjectอุปสงค์en_US
dc.subjectAdvertising -- Alcoholic beveragesen_US
dc.subjectDemand (Economic theory)en_US
dc.titleผลกระทบของนโยบายจำกัดเวลาโฆษณาต่ออุปสงค์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์en_US
dc.title.alternativeThe impact of time limitation policy of alcohol beverage advertisement on its demanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChalaiporn.A@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2013-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
EakarinVanitcharoen.pdf914.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.