Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชำนาญ ภัตรพานิช-
dc.contributor.authorสุวรรณา เหลืองชลธาร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-04T09:42:59Z-
dc.date.available2018-06-04T09:42:59Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59017-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสมุนไพรบัวบกเพื่อใช้กำหนดคุณลักษณะของพืชและสิ่งสกัดบัวบกที่มีสาระสำคัญ triterpene glycoside, Madecassoside (MS) และ Asiaticoside (AS) เพื่อการควบคุมคุณภาพ การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่การศึกษาคุณลักษณะของพืชบัวบกที่เป็นวัตถุดิบ และการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่มีผลต่อคุณลักษณะของสารสกัดบัวบก ได้ใช้เกณฑ์มาตรฐานสมุนไพรของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นแนวทางในการศึกษาคุณลักษณะของพืชบัวบก ได้แก่ (1) การตรวจสอบเอกลัษณ์ทางเภสัชเวททั้งวิธีทางมหทรรศ์และจุลทรรศ์สำหรับพืชสดและผงพืชแห้ง (2) การตวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีซึ่งประกอบด้วยวิธีทดสอบ saponin การทดสอบ Liebermann-Burchard และการทดสอบ tannin (3) การทดสอบด้วย TLC (4) การทดสอบทางกายภาพ ซึ่งประกอบด้วยการตรวจปริมาณสารปนปลอมปริมาณน้ำหนักที่หายเมื่อทำให้แห้ง ปริมาณเถ้ารวม ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายกรด ปริมาณความชื้น ปริมาณสารสกัดที่ละลายน้ำ ปริมาณสารสกัดที่ละลายเอทธิลแอลกอฮอล์ ปริมาณตะกั่ว และปริมาณเหล็ก ตัวอย่างพืชที่นำมาทดสอบเก็บจากแปลงปลูกบัวบกเพื่อการพาณิชย์ 2 แปลงในจังหวัดนครปฐมโดยเก็บทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี (เก็บเกี่ยวตัวอย่างเมื่อ พฤศจิกายน 2545- ตุลาคา 2546) พบว่าทุกตัวอย่างที่ทดสอบในทุกหัวข้อการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานสมุนไพรของกลุ่มประเทศอาเซียน ได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์สาระสำคัญเป้าหมายด้วย HPLC และ TLC เพื่อใช้สำหรับหาปริมาณ และควบคุมคุณภาพทั้งในพืชบัวบกและสารสกัดบัวบก วิธี HPLC ที่ได้พัฒนาประกอบด้วย C18 column และมีสารละลายผสมของ acetonitrile : phosphate buffer pH 7.1 (29:71) อัตราเร็ว 1 มิลลิลิตรต่อนาทีเป็น mobile phase และวัดการดูดกลืนแสง UV ที่ความยาวคลื่น 210 นาโนเมตร โดยใช้ Prednisolone เป็นสารมาตรฐานภายใน สำหรับวิธี TLC ที่พัฒนาประกอบด้วย แผ่น silica gel สารละลายผสมระหว่าง chloroform-methanol-water ในสัดส่วน 30:15:2 เป็น mobile phase ได้พัฒนาการเกิดสีของจุดสารเป้าหมายโดยการพ่นด้วยสาร Anthrone และวัดการดูดกลืนแสงด้วยเครื่อง Densitometer ได้ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี HPLC และ TCL ที่พัฒนาซึ่งผ่านเกณฑ์ของ ICH ในทุกหัวข้อการทดสอบ ได้พัฒนาวิธีทำให้ตัวอย่างสารสกัดบัวบกให้สะอาดและเหมาะสมกับวิธี HPLC โดยใช้การสกัดด้วย C18 solid phase ทำให้สามารถลดการรบกวนจากสารอื่น ๆ ได้ ได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณสาระสำคัญ ในตัวอย่างพืชบัวบกที่เก็บจาก 12 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี ตราด ระยอง ชลบุรี นครราชสีมา สุโขทัย เชียงใหม่ พิษณุโลก พบว่าปริมาณ glycoside รวมมีค่าระหว่าง 3.46%-8.93% มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.80%±1.66% ตัวอย่างที่มีปริมาณ glycoside รวมมากกว่า 7% พบจากพืชที่เก็บจากจังหวัดปราจีนบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี พิษณุโลก และเชียงใหม่ ได้เก็บตัวอย่างจากอีก 2 แหล่งปลูกเพื่อการพาณิชย์ คือ จังหวัดอุบลราชธานี และนครศรีธรรมราช เป็นเวลารอบ 1 ปี ได้ผลปริมาณสารสอดคล้องกับผลของตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดนครปฐม คือพบปริมาณ glycoside สูงในช่วงเดือน มีนาคม-กันยายน และมีปริมาณต่ำสุดเดือนกุมภาพันธ์ โดยทั่วไปพบ MS มากกว่า AS และพบสัดส่วนของ MS; AS มีค่าระหว่าง 1.30-2.15 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.65±0.30 และได้พบว่าส่วนใบมีปริมาณสาระสำคัญมากกว่าส่วนก้านใบประมาณ 10 เท่า และอายุใบมากกว่า 20 วัน จะมีปริมาณสารสำคัญมากพอสำหรับทำการสกัดและพบว่าบัวบกที่ปลูกภายใต้ปริมาณแสงแดดที่ลดลงมีผลทำให้ปริมาณสารสำคัญลดลง ได้ทำการวิเคราะห์สารสกัดบัวบกที่ผลิตภายใต้โครงการวิจัยที่ 1 พบว่าสารสกัดมีปริมาณ glycoside ไม่น้อยกว่า 80% เมื่อทำการทดสอบความคงตัวแบบเร่งของสารสกัดและพบมีอายุการใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 2 ปี ข้อมูลพื้นฐานที่ได้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดคุณลักษณะของทั้งพืชวัตถุดิบและสารสกัดโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่กำหนดคุณลักษณะหรือผู้ผลิตสารสกัดบัวบกต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the basic information of Centella asiatica (CA) needed for specification setting of herb and/or its extract which contains major active triterpene glycosides, madecassoside (MS) and Asiaticoside (AS). The research contains two main parts, characterization study of Centella asiatica herb as raw material, and the basic information effecting the specification of the herbal extract. The standard of ASIAN Herbal Medicines was used as the guideline procedures in this study for examining the fresh and dried herbs. Items tested composed of (1) The microscopic and macroscopic Identification of fresh and dried herb, (2) The chemical identification tests which including the Saponin test, the Liebermann-Burchard test and the Tannin test, (3) TLC test, (4) The physical characterization test which including foreign matter, loss on drying, total ash, acid insoluble content, moisture content, water soluble content, ethanol soluble content, lead content and iron content determinations. The herbal samples were monthly collected from two commercially planting gardens in Nakornpathom province for one year (during November 2002-October 2003) and the samples pass all criteria of items tested. The HPLC and TLC methods for the quantitative determination of four major triterpenes of CA containing in herb or extract were developed as the quality control assay. The HPLC developed comprise of C18 column, a mixture of acetonitrile : phosphate buffer, pH 7.1 as the mobile phase (29:71) with 1 ml/min flow rate, detection with the UV absorbance at wavelength 210 nm. And using prednisolone as internal standard. The TLC developed method comprise the Silica gel plate, a mixture of chloroform : methanol : water (30:15:2) as the mobile phase, the analyte’s spots were sprayed with the Anthrone solution and the color formed were detected with a densitometer. Method validation of both developed HPLC and TLC assay according to ICH guideline were performed and the method pass all criteria required. Sample cleaning procedure was also developed base on the Solid Phase extraction technique. SPE with a C18 cartridge worked well for the CA sample cleanup prior to the HPLC injection in order to minimize the interference during chromatographing. Additional twelve herbal samples collected from various provinces in Thailand including Nakornpathom, Prachinburi, Nakornsritammarach, Ubonrashathani, Trad, Rayong, Chonburi, Nakornrashsima, Sukothai, Chaingmai and Pisanuloke were subjected to the active constituent analysis using the developed assay methods. The total triterpene glycoside content was found between 3.46%-8.93% with the average of 6.80%±1.66%. Herbal samples which contain the total triterpene glycoside more than 7% were found in those samples from Prachinburi, Trad, Rayong, Chonburi and chaingmai. Sample of two additional commercially planting gardens were also annually collected and were subjected to the analysis of its active constituents. The content profile were similar to those of sample obtained from Nakornpathom of which show the high glycoside content during March-September period while the low content found in February. Generally, the MS content is higher than the AS content in all sample examined, the MS : AS ratio were found between 1.30-2.15 with the average of 1.65±0.30. In addition, the glycoside content in the leaf was found 10 times more than those in the petriole, young leafs with the age of more than 20 days contain high enough active constituents for performing the extraction. Finally, reduction of sunlight intensity exposure toward the herb during plantation also reduced the triterpene contents. The glycoside extract from the 1st research project was subjected to the analysis of active constituents, MS and AS, and the content was found to be more than 80%. Within the accelerated stability testing, the extract exhibited more than 2 year shelf life. The basic information obtained in this research will be beneficial for the specification setting of this herb and/or its extract by any authority of production agency.en_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2546-2548en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบัวบกen_US
dc.subjectสมุนไพร -- มาตรฐานen_US
dc.subjectสารสกัดจากพืช -- มาตรฐานen_US
dc.titleการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานของสมุนไพรบัวบกและสิ่งสารสกัดที่มีฤทธิ์ทางยา : รายงานการวิจัยen_US
dc.title.alternativeEstablishment of specification of Centella asiatica and its bioactive extractsen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Pharm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chamnan Pa_Res_ 2548.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.