Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59192
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับโปรตีนบลิสในเลือดกับความรุนแรงของภาวะไตอักเสบจากโรคลูปัส
Other Titles: The correlation between blood BLyS level and the severity of lupus
Authors: วรพจน์ เตรียมตระการผล
Advisors: ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Yingyos.A@Chula.ac.th
Subjects: บีเซลล์
ไต -- โรค
ไตอักเสบลูปัส
B cells
Kidneys -- Diseases
Lupus nephritis
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา B cell มีบทบาทสำคัญต่อพยาธิกำเนิดของโรคทางภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคลูปัส ข้อมูลในปัจจุบันพบว่าโปรตีนบลิสเป็น B cell activating factor ที่จำเป็นในการพัฒนา B cells และผู้ป่วยโรคลูปัสมีระดับโปรตีน บลิสในเลือดที่สูงกว่าคนปกติ นอกจากนี้มีการค้นพบว่ายาที่มีฤทธิ์ยับยั้งโปรตีนบลิส สามารถรักษาผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนได้ ดังนั้นผู้ป่วยไตอักเสบจากโรคลูปัสที่มีระดับโปรตีนบลิสในเลือดที่แตกต่างกันน่าจะมีความรุนแรงทางคลินิกแตกต่างกันด้วย สำหรับโปรตีนเอพริลเป็น B cell activating factor อีกตัวซึ่งมีผลต่อ B cell ต่างจากโปรตีนบลิส ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับโปรตีนบลิสและโปรตีนเอพริลในเลือดกับความรุนแรงของภาวะไตอักเสบจากโรคลูปัสเพื่อในอนาคตจะเป็น biomarker ที่สำคัญในการพยากรณ์โรคได้ วิธีการศึกษา การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยไตอักเสบจากโรคลูปัสจำนวน 52 ราย ซึ่งได้รับการตรวจชิ้นเนื้อไตทางพยาธิวิทยาทั้งสิ้น โดยจะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับโปรตีนบลิสและเอพริลในเลือดด้วยเทคนิค ELISA และตรวจค่า lab เบื้องต้น serology และตรวจปัสสาวะควบคู่ไปด้วย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาตามวิธีมาตรฐานและได้รับการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษา ระดับโปรตีนบลิสในผู้ป่วยไตอักเสบจากโรคลูปัสมีระดับต่ำกว่าผู้ป่วยไตอักเสบในระยะสงบอย่างไม่มีนัยสำคัญ (1.32 ± 1.06 และ 1.97 ± 1.10; p-Value = 0.094) ขณะที่ระดับโปรตีนเอพริลในผู้ป่วยไตอักเสบจากโรคลูปัสกลับพบระดับที่สูงกว่าแต่ไม่มีนัยสำคัญ (4.10 ± 2.09 และ 2.90 ± 0.50; p-Value = 0.317) นอกจากนี้ยังพบว่าระดับโปรตีนบลิสไม่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงทางพยาธิสภาพไต renal SLEDAI และระดับ anti-dsDNA แต่กลับพบความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับกับระดับคอมพรีเมนต์ (R = 0.621; p-Value = 0.002) การได้สเตียรอยด์ปริมาณต่ำ (R = 0.543, p-Value < 0.001) และการได้ยา mycophenolate ปริมาณสูง (R = 0.369; p-Value = 0.007) ขณะที่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับโปรตีนเอพริลในเลือดไปในทางเดียวกันกับกับระดับโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (R = 0.438; p-Value = 0.002) activity index (R = 0.335; P = 0.017) และระยะเวลาที่เป็นโรคลูปัส (R = 0.353; P = 0.017) สรุปผลการศึกษา ระดับโปรตีนบลิสในเลือดสัมพันธ์กับอาการทาง systemic ของโรคลูปัสขณะที่ระดับโปรตีนเอพริลในเลือดสัมพันธ์กับไตอักเสบจากโรคลูปัส
Other Abstract: Background: BLyS and APRIL are tumor necrosis factor-family cytokines that play an important role in generating and maintaining the mature B-cell pool. Elevated BLyS levels have been implicated in lupus nephritis, and BLyS antagonism has shown to be an effective therapeutic modality in lupus patients. The aim of the study was to assess the correlation between blood BLyS level and the severity of lupus nephritis. APRIL that is thought to be counterbalance of the autoimmunogenic effects of BLyS was also evaluated too. Methods: 52 lupus nephritis patients that underwent kidney biopsy were evaluated prospectively for at least 6 mo. Renal SLEDAI score, anti-dsDNA, complements, blood BLyS and APRIL on biopsy day were assessed for correlation with pathological score. Analysis using a multivariate model was used to adjust the effect of immunosuppressive therapy. All patients are treated with the standard regimen, and will be monitored continuously. Results: Blood BlyS level in the active lupus nephritis patients were lower than the remission group, whereas blood APRIL level in the active lupus nephritis patients were higher. BLyS level was not correlated with renal pathology, renal SLEDAI and anti-dsDNA, except for the complement level, low dose steroid usage and high dose mycophenolate usage. Surprisingly, APRIL level was instead correlated well with activity index, proteinuria and duration of disease. Conclusions: Blood BLyS levels correlate with systemic lupus whereas blood APRIL levels correlate with lupus nephritis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59192
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2145
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2145
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worapot Treamtrakanpon.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.