Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59523
Title: โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน
Other Titles: The effect of coaching program on caring behavior for preventing sudden death syndrome in preterm infants' mothers
Authors: เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล
Advisors: วีณา จีระแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Veena.J@Chula.ac.th,j_veena@hotmail.com
Subjects: มารดาและทารก
ทารกแรกเกิด
ทารกคลอดก่อนกำหนด
Mother and infant
Newborn infants
Premature infants
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ตามแนวคิดการสอนแนะของ Parsloe และ Wray (2000) กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 50 ราย ได้รับการจับคู่ให้มีอายุและประสบการณ์การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดคล้ายกัน แบ่งเป็นกลุ่มละ25 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสอนแนะ 3 ครั้งในช่วง 3 วันก่อนการจำหน่ายและ โทรติดตาม เยี่ยมหลังการจำหน่าย 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลทารกก่อนกลับบ้าน 7 วันก่อนการจำหน่ายตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการสอนแนะและคู่มือการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารก และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารกและแบบสอบถามความมั่นใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารก กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed at studying the effect of coaching program on caring behavior for preventing sudden Infant death syndrome (SIDS) in preterm infants’ mothers. Subjects were mothers of healthy preterm infants. They were matched pair by mothers’ age and newborn care experience. They were assigned to control or the experimental groups, 25 subjects in each group. The control group received a routine parents’ preparation for preterm infants prior to hospital discharge, while the experiment group received the participated in 3 sessions of coaching program within 3 days before planned discharge with 2 post-discharge follow-up phone calls. Research instruments included the coaching program, parental guidebook of SIDS risk prevention and, the questionnaires of maternal behavior in preventing SIDS and self-confident in preventing SIDS in preterm infant. All instruments passed content validity. The two questionnaires had reliabilities of .89 and .80, respectively. Descriptive statistics and t-test were used to analyzed the data. The results revealed that the mean of the caring behavior for preventing SIDS of the preterm infants’ mothers in the experimental group was higher than that in the control groups at posttest. There was a statistically significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59523
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1053
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1053
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777181736.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.