Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59700
Title: ผลของข้อมูลป้อนกลับเชิงวิทัศน์บนจอแสดงผลต่อการรับรู้การรอคอยเมื่อการรับรู้ความไม่แน่นอนเป็นตัวแปรร่วม
Other Titles: EFFECT OF ON-SCREEN VISUAL FEEDBACK ON PERCEIVED WAITING TIME WITH PERCEIVED UNCERTAINTY AS A COVARIATE.
Authors: ปิยาภรณ์ คุรุเสถียรพงศ์
Advisors: ชัชพงศ์ ตั้งมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Chatpong.T@Chula.ac.th,chatpong@cbs.chula.ac.th
Subjects: การประมวลผลข้อมูลแบบออนไลน์ -- การดาวน์โหลด
Downloading of data
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการกับความรู้สึกล่าช้าของผู้ใช้งาน ในบริบทของการดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเว็บไซต์ โดยมีรูปแบบของข้อมูลป้อนกลับที่ต้องการศึกษาคือ แถบแสดงสถานะที่มีความยาวของการแสดงผลไม่เท่ากัน อัตราการแสดงความคืบหน้าของความสำเร็จสามแบบ ได้แก่แบบคงที่ แบบก้าวหน้า และแบบถดถอย ร่วมกับการเพิ่มข้อมูลป้อนกลับเชิงอักษร (การเพิ่มร้อยละของการดาวน์โหลดที่สำเร็จในการแสดงความคืบหน้าภายในแถบแสดงสถานะ) ทั้งนี้ตัวแปรทั้งหมดจะมีการพิจารณาถึงผลที่มีต่อการรับรู้การรอคอยร่วมกันโดยมีการรับรู้ความไม่แน่นอนเป็นตัวแปรร่วม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลของตัวแปรต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้จะดำเนินการผ่านเว็บไซต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อทดสอบ โดยประเภทของเว็บไซต์ที่ใช้ในการทดสอบ คือเว็บไซต์คลังข้อสอบออนไลน์ การเก็บข้อมูลมาจากหน่วยทดลองในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จากหน่วยทดลองจำนวน 447 คน ผลการทดลองพบว่าการรับรู้การรอคอย ขึ้นอยู่กับอิทธิพลโดยตรงของความยาวของแถบแสดงสถานะ การเพิ่มสถานการณ์ดาวน์โหลดเชิงอักษร และการรับรู้ตวามไม่แน่นอน กล่าวคือ แถบแสดงสถานะแบบสั้น และการเพิ่มสถานะการดาวน์โหลดเชิงอักษร ส่งผลให้หน่วยตัวอย่างรับรู้การรอคอยสั้นกว่า ผลจากงานวิจัยนี้อาจจะนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ทั่วไปให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานเว็บไซต์มากยิ่งขึ้นโดยอาจจะลดระยะเวลารอการแสดงผล หรือปรับฟังก์ชันของอัตราการแสดงตัวชี้บอกความคืบหน้าของข้อมูลป้อนกลับ เพื่อให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์รับรู้ความล่าช้าลดน้อยลง
Other Abstract: This study aims to help manage the delays experienced in context of downloading information through the website for users. The three factors that we want to study is Status bars with different display length, different rate of progress in three successes; Static, Progressive, and Regression, and the addition of literal feedbacks showing the increase percentage of successful downloads in the status bar. All variables are considered to have effects on mutual perception, with perceived uncertainty as a common variable. Analysis of the relationships and effects of variables in this research will be conducted through the “Examination Warehouse” web site developed by the researcher for testing. Based on the primary data collection from the computer lab with 447 experimental units, the results showed that the perception of waiting depends on the direct influence of the length of the status bar and the literal text showing the progress of download, and the perceived uncertainty. In other words, a short status bar with text showing the progress of download results in shorter waiting time for the sample units. The results of this research may be used to develop more general website to reduce the waiting time experience or adjust the function of the display rate indicator to create more impression on using the web site for users.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59700
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.638
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.638
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5882370826.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.