Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59942
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล
Other Titles: DEVELOPMENT OF TEACHING PROCESS BASED ON STEM EDUCATION AND COMMUNICATIVE APPROACHES TO ENHANCE COMMUNICATION ABILITIES OF KINDERGARTENERS
Authors: กัญจนา ศิลปกิจยาน
Advisors: วรวรรณ เหมชะญาติ
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: worawan.h@chula.ac.th,worawan.h@chula.ac.th
Duangkamol.T@Chula.ac.th
Subjects: ภาษา -- การศึกษาและการสอน
ความสามารถในการสื่อสารในเด็ก
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Language and languages -- Study and teaching
Communicative competence in children
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล และ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล ตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนฯ ระยะที่ 2 การนำร่องกระบวนการเรียนการสอนฯ ที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการสื่อสาร และแบบบันทึกพฤติกรรมการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนฯ มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลาการใช้กระบวนการ และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน คือ ขั้นเสนอปัญหา ขั้นสืบสอบ ขั้นเชื่อมโยงความรู้ และขั้นประมวลผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และระหว่างการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่สูงที่สุด คือ การเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ รองลงมา คือ การสร้างสัญลักษณ์ และสุดท้าย คือ การสนทนาโต้ตอบ ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม การใช้เทคนิคต่าง ๆ และการใช้กิจกรรมกลุ่ม ทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการสนทนาโต้ตอบ การลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอช่วยให้เด็กสามารถเก็บรายละเอียดของเหตุการณ์เพื่อใช้ต่อเติมในการเล่าเรื่องได้ดีขึ้น นอกจากนี้เด็กใช้สัญลักษณ์ได้ดีขึ้น โดยช่วงแรกเป็นการวาดภาพที่สะท้อนถึงสิ่งที่เรียนรู้ ต่อมามีการเพิ่มเติมรายละเอียดและบริบทของภาพ รวมทั้งมีการนำเสนอสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop a teaching process based on STEM Education and Communicative Approaches to enhance communication abilities of kindergarteners and 2) to study the effectiveness of the developed teaching process. The samples were 32 kindergarteners studying at Cholpratansongkroh School, Office of the Basic Education Commission during the second semester of academic year 2017. The research procedure was divided into three steps: 1) developing the teaching process, 2) doing a pilot study, and 3) field testing. Research instruments were a test and anecdotes. Arithmetic mean, standard deviation, repeated measures ANOVA included a content analysis were applied. The research finding were as follows : 1. The components of teaching process based on STEM Education and Communicative Approaches were principles, objectives, contents, steps of instruction, duration, and evaluation. The process of the instruction started with proposed problem presentation, inquiry process, knowledge related, and learning outcome conclusion. 2. The result of teaching process regardless of the quantitative data revealed that, after experiment, the average scores of communication abilities were higher than those of before and between experiments with statistically significant difference at .05 level. The highest score was the storytelling, the symbolic creation, and the conversational interaction, respectively. For qualitative data, it was revealed that the use of concrete materials, providing various technics, and group activities made children enthusiastic about interacting within the conversation. Practicing hands-on activities regularly helped children collect details of events to complete a better storytelling. Furthermore, children got better at symbolic usage. At first, there drawing reflected what they had learned and then more details, contexts, and symbolic were added.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59942
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.775
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.775
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684202227.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.