Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60190
Title: อิสลามบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติด
Other Titles: Islamic based therapy for substance addicts.
Authors: ณัฐนิชา กันซัน
Advisors: อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
อรัญญา วิริยสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Atapol.S@chula.ac.th,atapol.s@gmail.com
koyyah@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึก (In-depth Interview) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดแบบอิสลามบำบัด จำนวน 12 คน พี่เลี้ยงที่ปฏิบัติงานในอิสลามบำบัด จำนวน 2 คน ครูใหญ่ประจำอิสลามบำบัด จำนวน 1 คน และผู้ดูแลโครงการอิสลามบำบัด จำนวน 1 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบสโนว์บอลโดยคัดเลือกจากคนที่ผู้ติดสารเสพติดหรือพี่เลี้ยงแนะนำ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ซึ่งมีแนวคำถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการทบทวนทฤษฎี และวรรณกรรมต่างๆ จากนั้นจึงนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข ผลการศึกษาพบว่า อิสลามบำบัดมีแนวคิดและหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1) อิสลามบำบัดไม่ได้มุ่งเน้นการบำบัดสารเสพติดแต่มุ่งเน้นการพัฒนาความศรัทธาในศาสนาให้เพิ่มขึ้น เพราะความศรัทธาจะทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ใช้สารเสพติด 2) การประกอบศาสนกิจจะทำให้ผู้ติดสารเสพติดลืมสารเสพติดได้ 3) การหายจากสารเสพติดไม่ได้มาจากความสามารถของมนุษย์แต่มาจากพระเจ้า และ 4) หลักการในศาสนาอิสลามเป็นหลักการที่สมบูรณ์สามารถแก้ไขทุกปัญหาได้ ผลการศึกษานี้ยังพบว่า อิสลามบำบัดสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อภาวะการติดสารเสพติด 4 ด้าน โดยแต่ละด้านมีปัจจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการติดสารเสพติดดังนี้ 1) ด้านศาสนา ได้แก่ การระลึกถึงพระเจ้า การละหมาด การถือศีลอด การเรียนรู้ศาสนาอิสลาม และการอยู่ในสังคมศาสนาอิสลาม 2) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองว่าเป็นคนดีขึ้น การมีมุมมองและการจัดการความทุกข์ดีที่ขึ้น และการมีเป้าหมาย 3) ด้านปัจจัยครอบครัว ได้แก่ การรับรู้ความรักจากพ่อแม่ การตระหนักถึงโทษของสารเสพติดต่อพ่อแม่ และความรับผิดชอบต่อครอบครัว และ 3) ด้านปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในปอเนาะ ได้แก่ การได้รับกำลังใจ คำแนะนำ ความอบอุ่น และการได้พูดคุยปรึกษากับพี่เลี้ยง ผู้ดูแลปอเนาะ และเพื่อนร่วมปอเนาะ
Other Abstract: THE PURPOSE OF THIS THESIS IS TO STUDY WHAT ISLIMIC BASED THERAPY IS AND FACTORS IN ISLAMIC BASED THERAPY THAT POSITIVELY AFFECT SUBSTANCE ADDICTION. THERE ARE FOUR GROUP OF SAMPLE POPULATION WHICH CONSIST OF TWELVE SUBSTANCE ADDICTS WHO HAVE PARTICIPATED IN ISLAMIC BASED THERAPY, TWO STAFF WORKING IN ISLAMIC BASED THERAPY CAMP, ISLAMIC BASED THERAPY SCHOOL PROFESSOR AND ISLAMIC BASED THERAPY SCHOOL EXECUTIVE SELECTED BY SNOWBALL SAMPLING.THE COLLECTING METHOD IS THE INTERVIEW WITH QUESTIONS CREATED BY THE RESERACHER AND APPROVED BY THE ADVISOR. THE RESULT SHOWS THAT ISLAMIC BASED THERAPY IS BASED ON 4 MAIN CONCEPTS AS FOLLOWING 1) ISLAMIC BASED THERAPY IS FOCUSING MORE ON IMPROVING FAITH RATHER THAN TREATING THE ADDICTION. 2) ISLAMIC PRINCIPLE ALONE IS ENOUGH TO CURE SUBSTANCE ADDICTION 3)ISLAMIC RITUALS AND PRAYERS CAN HELP TO FORGET ADDICTED SUBSTANCE 4) THE SUCCESS IN SUBSTANCE RECOVERY COMES FROM ALLAH. ALSO,THE RESULTS OF THIS STUDY SHOW FACTORS IN ISLAMIC BASED THERAPY THAT BENEFICIAL TO TREATING SUBSTANCE ADDICTION WHICH CONSIST OF 1) FACTORS BASED ON RELIGION AS FOLLOWING 1.1) THE INCREASED IN REMEMBERING GOD. 1.2) AN INDESCRIBABLE EXPERIENCE DURING PERFORMING PRAYER 1.3) ISLAMIC FASTING 1.4) LEARNING MORE OF ISLAMIC KNOWLEDGE 1.5) BEING IN ISLAMIC SOCIETY. 2) INDIVIDUAL FACTOR 2.1) THE INCREASED IN SELF-ESTEEM 2.2) THE CHANGE IN PERCEPTION TOWARDS STRESS AND COPING STRATEGIES. 2.3) HAVING GOALS 3) FAMILY FACTOR WHICH CONSIST OF 3.1) THE EMPATHY TOWARDS PARENTS 3.2) THE PERCEIVED-LOVE FROM PARENTS 3.3) THE FEELING OF RESPONSIBLE FOR FAMILY AND 4) FACTOR RELATED TO ENVIRONMENT IN ISLAMIC BASED THERAPY SCHOOL WHICH ARE THE RECEIVING OF ADVICE AND POSITIVE SUPPORTS FROM STAFF WORKING IN SCHOOL, OTHER SCHOOL MEMBERS AND SCHOOL EXECUTIVE.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60190
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1549
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1549
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974030230.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.