Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60197
Title: การศึกษาผลของผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระดับแลคตูโลสและแมนนิทอลในปัสสาวะ จากยาแอสไพรินในอาสาสมัครสุขภาพดี เทียบกับยาหลอก
Other Titles: The result of Curcuminoids capsules to prevent increasing of lactulose mannitol ratio in urine from aspirin in the healthy volunteers compared to placebo
Authors: ปัญญวีร์ ปิติสุทธิธรรม
Advisors: สุเทพ กลชาญวิทย์
ฐนิสา พัชรตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sutep.G@Chula.ac.th,gsutep@hotmail.com,gsutep@hotmail.com
dr_tanisa@yahoo.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: จากข้อมูลระดับก่อนการวิจัยทางคลินิก แสดงถึงผลของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก และอาจจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดการบาดเจ็บของผิวเยื่อบุลำไส้จากยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางคลินิกนั้นมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก วัดโดยวิธีอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ วิธีการศึกษา: อาสาสมัครสุขภาพดี ทำการทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม และข้ามกลุ่ม เพื่อได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือยาหลอก เป็นเวลาทั้งหมด 7 วัน และ ยาแอสไพริน 600 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้า 1 วัน ก่อนทำการทดสอบ และ วันที่ทำการทดสอบ จากนั้นข้ามกลุ่มหลังจากเว้นระยะเวลาการทดสอบ 4 สัปดาห์ การวัดอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ ทำโดยให้รับประทานแลคตูโลส10 กรัม และแมนนิทอล 5 กรัม จากนั้น เก็บปัสสาวะทุกครึ่งชั่วโมง จนครบ6ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่ 8 โมงเช้า โดยวัดครั้งแรกเป็นระดับอ้างอิง และ หลังรับประทานแอสไพริน โดยอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอล ถูกวัดโดยวิธี high performance liquid chromatography โดยแอสไพริน ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอล มากกว่าหรือเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับระดับอ้างอิง นอกจากนั้น มีการวัดระดับไซโตไคน์ interleukin 1 beta (IL-1β) โดยวิธี enzyme-linked immunosorbent assay ผลการศึกษา: อาสาสมัครสุขภาพดี 20 คน เข้าร่วมการศึกษาตลอดการศึกษา ประกอบด้วย เพศหญิง 14 คน (70%) อายุเฉลี่ย 32.5±10.7 ปี จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลที่ระดับอ้างอิง (ก่อนได้รับแอสไพริน) เท่ากับ 0.112 ± 0.057 หลังได้รับ แอสไพริน ทั้งกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และ กลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอล โดยมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 47.48 ± 90.59% ในกลุ่มยาหลอก และ 36.95±84.61%, p=0.602 หลังจากได้รับแอสไพริน มีอาสาสมัคร 8 คน ในกลุ่มยาหลอก (40%) มีการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก เปรียบเทียบกับ 3 คน (15%) ในกลุ่มได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน (p= 0.077) จากการวิเคราะห์ไม่พบผลของการข้ามกลุ่ม (carry over effect) และผลของช่วงเวลาต่อผลการศึกษา (period effect) ระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาหลอกกับกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน p= 0.235 และ p=0.752 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของระดับ interleukin 1 beta ในเลือด ก่อนได้รับแอสไพริน 0.077± 0.058 pg/mL หลังได้รับแอสไพริน ระดับ interleukin 1 beta ในเลือดในกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (0.048±0.006 pg/mL และ 0.059±0.031pg/mL, p=0.000 ตามลำดับ) ไม่พบผลข้างเคียงหลังได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน สรุปผล: การใช้แอสไพรินระยะสั้น สามารถเพิ่มอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ ซึ่งแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก การให้แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันก่อนได้รับแอสไพริน มีแนวโน้มที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ หลังได้รับแอสไพริน และมีความสัมพันธ์กับการมีระดับไซโตไคน์ที่กระตุ้นการอักเสบที่ต่ำกว่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถให้การป้องกันเยื่อบุผิวลำไส้เล็กของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชันหลังได้รับแอสไพริน
Other Abstract: Background: Preclinical data has been shown that curcuminoid had an intestinal permeability (IP) protection effect which may prevent the injury from non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs). Unfortunately, the clinical data is limited. Objective: We aim to study the effects of curcuminoid on IP evaluated by urine LMR after aspirin ingestion. Methods: Healthy subjects were randomized to curcuminoid 2,000 mg/day (Curcuma domestica extracts, The Thai Government Pharmaceutical Organization) or placebo capsules for 7 days with aspirin 600 mg orally on day 6 and 7 then crossed over after 4-week washing period. Lactulose 10 g and mannitol 5 g were ingested and urine was collected every 30 minutes for 6 hours started from 8 AM at baseline and after last dose of aspirin. Urine LMR were measured by using high performance liquid chromatography. Aspirin induced increase IP was defined as an increase > 50% of IP after ingested aspirin compared to baseline. Serum interleukin 1 beta (IL-1β), a proinflammatory cytokine, was also measured by enzyme-linked immunosorbent assay. Results: Twenty subjects (14 females, age 32.5±10.7 years) completed the studies. Baseline LMR of all subjects before curcuminoid and placebo were 0.112 ± 0.057. After taking aspirin, both placebo and curcuminoid group had LMR increase from baseline with the mean percentage change 47.48 ± 90.59% in placebo+aspirin group vs. 36.95±84.61% in curcuminoid+aspirin group, p=0.602. Eight subjects (40%) had IP increase after taking placebo+aspirin compared to three subjects (15%) in curcuminoid+aspirin group (p= 0.077). There was no significant carry over effect (p= 0.235) and period effect (p=0.752) between curcuminoid and placebo group. Baseline IL1β of all subjects were 0.077± 0.058 pg/mL. After taking aspirin, the serum IL1β level in curcuminoid group was significantly lower than the placebo group, placebo+ aspirin 0.059±0.031pg/mL vs. curcuminoid+aspirin 0.048±0.006 pg/mL, p=0.000. No adverse reaction was found after curcuminoid ingestion. Conclusions: Short term aspirin increased urine LMR which reflects increase of small intestinal permeability. Pretreatment with curcuminoid had a trend to reduce LMR changing after aspirin ingestion and associated with lower proinflammatory cytokine level. This study showed the potential mucosal protective effect of curcuminoid after aspirin ingestion.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60197
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1621
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1621
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974077830.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.