Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60228
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยศวีร์ สายฟ้า-
dc.contributor.authorดาริกา สมนึก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:12:06Z-
dc.date.available2018-09-14T06:12:06Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60228-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็ก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ปีการศึกษา 2560 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ประเภทโรงเรียนรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่อยู่ในพื้นที่ชนบท จำนวน 25 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 21 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัยจำนวน 15 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 5 ข้อ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติทดสอบ (Paired-Sample t-test) วิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยผลต่างของคะแนนหลังเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่มตาม เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ภูมิลำเนา อาชีพผู้ปกครอง และความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยใช้ค่าสถิติแบบ (Independent-sample-t test) และ (One-way-Anova) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ เกรดเฉลี่ย อาชีพของผู้ปกครอง และความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนซึ่งแตกต่างกับภูมิลำเนาของนักเรียนที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to explore primary grade students’ analytical thinking abilities according to learning activities relied on an approach of Philosophical for Children. The sample were 25 fifth grade students of a public elementary school located at a rural area in Thailand. All students participated, as the sample in this study, were randomly selected. To conduct an experiment of the study, the treatment to be implemented included 21 three-hour lesson plans and activities based on the Philosophy of Children approach. For data collection, the researcher used (1) the analytical ability test and (2) the semi-structured oral test. All collected data were analyzed with descriptive and inferential statistics (i.e., mean, standard deviation, t-test and one-way-ANOVA). It was found that, after learning through the implemented 21 lesson plans, the students higher demonstrated their analytical thinking ability with statistically significant level at .05. No statistically significant level difference between sex, age, GPA, parental occupation, and family relationships was found.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1022-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-
dc.title.alternativeAN EFFECT OF LEARNING ACTIVITIES BASED ON PHILOSOPHY FOR CHILDREN APPROACH ENHANCE ANALYTICAL THINKING ABILITY OF FIFTH GRADE STUDENTS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineประถมศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorYotsawee.Sa@chula.ac.th,yotsawee.s@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1022-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983826027.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.