Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60397
Title: การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีสำหรับตรวจวัดอะฟลาทอกซินเอ็ม1 ด้วยวิธีเอนไซม์ลิงก์อิมมิวโนซอร์เบนท์แอสเสย์
Authors: กิตตินันท์ โกมลภิส
ธนาภัทร ปาลกะ
นันทิกา คงเจริญพร
ทรงจันทร์ ภู่ทอง
อณุมาศ บัวเขียว
Email: Kittinan.K@Chula.ac.th
Tanapat.P@Chula.ac.th
Nanthika.K@Chula.ac.th
Songchan.P@Chula.ac.th
Anumart.B@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์
Subjects: โมโนโคลนอลแอนติบอดีย์
อะฟลาทอกซิน
เอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนท์แอสเส
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อะฟลาทอกซิน (aflatoxin, AF) เป็นกลุ่มสารพิษที่เกิดจากราซึ่งอาจปนเปื้อนอยู่ในพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ อะฟลาทอกซินหลักที่พบได้แก่ อะฟลาทอกซินบี1 อะฟลาทอกซินบี2 อะฟลาทอกซินจี1 และอะฟลาทอกซินจี2 เมื่อสัตว์ได้รับอะฟลาทอกซินชนิด บี1 (AFB₁เข้าสู่ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนรูปเป็นอะฟลาทอกซินชนิด เอ็ม1 (AFM₁) ที่บริเวณตับและหลั่งออกมายังต่อมน้ำนม ซึ่งสารนี้เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ดังนั้นการตรวจหาปริมาณของ AFM₁ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมจึงมีความจำเป็น ในการตรวจวัดปริมาณ AFM₁ นั้นทำได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมใช้ตรวจคัดกรองตัวอย่างจำนวนมากได้แก่วิธีเอนไซม์ลิงก์อิมมิวโนซอร์เบนท์แอสเสย์ (enzyme-linked immunosorbent assay, ELISA) ในปัจจุบันชุดตรวจ AFM₁ด้วยวิธี ELISA นี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีเป้าประสงค์เพื่อผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อ AFM₁ สำหรับใช้ในการพัฒนาการตรวจด้วยวิธี ELISA โดยทำการฉีดแอนติเจน AFM₁ ที่เชื่อมต่อกับอัลบูมินในซีรัมของวัว เพื่อทำการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของหนูไมซ์สายพันธุ์ BALB/c จำนวน 5 ตัว พบว่าหนูทุกตัวตอบสนองต่อแอนติเจน โดยสร้างแอนติบอดีที่มีค่าระดับแอนติบอดีในเลือด ระหว่าง 1:8,192,000 และ 1:32,768,000 เมื่อทำการหลอมรวมเซลล์ม้ามของหนูไมซ์กับเซลล์มัยอีโลมา P3X เพื่อเตรียมโมโนโคลน พบว่าได้โมโนโคลนจำนวน 5 โคลน ได้แก่ AFM₁-1 AFM₁ -3 AFM₁-9, AFM₁-15 และ AFM₁-17 โมโนโคลแอนติบอดี (MAb) จากโคลนเหล่านี้มีไอโซไทป์เป็นชนิด IgG₁ ทั้งหมด เมื่อทดสอบความไวของ MAb ซึ่งวัดในรูปของค่าความเข้มข้นของสารที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจวัดได้ (limit of detection, LOD) มีค่าเท่ากับ 16, 15, 5, 7 และ 8 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRL) ที่ได้มีการกำหนดไว้ในน้ำนมและนมเด็กทารกได้ไม่เกิน 50 และ 25 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้น MAb ที่ได้จึงมีความไวสูงเพียงพอต่อการศึกษาต่อไป )
Other Abstract: Aflatoxins (AFs) are the group of toxin produced from fungi which may contaminate animal feeds. The major AFs found are B₁ (AFB₁), B₂, G₁ and G₂. After AFB₁ enters into the animals, it is transformed to aflatoxin M₁ (AFM₁) at the liver and is secreted into the milk gland. AFM₁ is known to be a carcinogenic agent. Therefore, detection of AFM₁ presented in dairy products is essential. Detection of AFM₁ can be performed by several methods but the most widely used method suitable for screening a large number of samples is enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA). Currently, ELISA kit for AFM₁ must be imported. Therefore, this research aims to produce monoclonal antibody (MAb) against AFM1 for development of ELISA. Mice (BALB/c) were immunized with AFM₁-bovive serum albumin conjugate. All mice responded to the injected antigen by producing antibody at the titer level between 1:8,192,000 and 1:32,768,000. Conventional cell fusion between splenocytes and P3X myeloma cells was performed to obtain 5 monoclones assigned as AFM₁-1, AFM₁-3, AFM₁-9, AFM₁-15 and AFM₁-17. Isotype of monoclonal antibody from these monoclones was found to be IgG₁. The sensitivity of each MAb, measured in term of the lowest concentration that can be detected called limit of detection, LOD) was found to be 16, 15, 5, 7 and 9 pg/ml, respectively. These values are lower than the maximum residual limit (MRL) set for milk and infant milk at 50 and 25 pg/ml, respectively. Consequently, the obtained MAbs are sensitive enough for uses in further investigation.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60397
Type: Technical Report
Appears in Collections:Biotec - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittinun K_Res_2557.pdf607.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.