Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60410
Title: การวิเคราะห์เปรียบเทียบระบาดวิทยาของเชื้อสตาฟฟิโลคอคคัสก่อโรคบนผิวหนังสุนัข ผู้เลี้ยงสุนัข และสัตวแพทย์และมาตรการป้องกันการติดต่อจากสุนัขสู่คน : รายงานการวิจัย
Other Titles: Comparative analysis for epidemiology of pathogenic staphylococci in dogs, owners and veterinarians and preventive strategies from dog to human transmission
Authors: ณุวีร์ ประภัสระกูล
สิริลักษณ์ สุรเชษฐพงษ์
ภัทรรัฐ จันทร์ฉายทอง
วารี นิยมธรรม
Email: nuvee.p@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: การดื้อยาในจุลินทรีย์
สตาฟีย์โลค็อกคัส
โรคติดเชื้อจากสัตว์
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวและระบาดวิทยาโมเลกุล รวมถึงรูปแบบการดื้อยาของเชื้อ methicillin-resistant coagulase-positive staphylococci (CoPS) สปีชีส์ต่างๆในสุนัข ผู้เลี้ยงสุนัขและสัตวแพทย์ ได้แก่ Staphylococcus pseudintermedius, S. schleiferi subsp. coagulans และ S. aureus ด้วยการระบุสปีชีส์ด้วยคุณสมบัติทางชีวเคมีและพันธุกรรมของเชื้อ วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 1) ขออนุญาตทำการเก็บตัวอย่างในคนและในสัตว์จากกรรมการจริยธรรม 2) เก็บเชื้อจากสัตว์และในคน 3) ทำการคัดแยกเชื้อ 4) วิเคราะห์ผลการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือสุนัข ผู้เลี้ยงสุนัขและสัตวแพทย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ เปอร์เซ็นต์ไทล์ โดยเชื้อ S. pseudintermedius และ S. schleiferi subsp. coagulans เป็นสปีชีส์ที่สามารถแยกได้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุนัข ได้แก่ ผู้เลี้ยงสุนัขและสัตวแพทย์ แต่ไม่พบในผู้ที่ไม่สัมผัสใกล้ชิดสุนัข อีกทั้งสามารถแยกเชื้อ methicillin-resistant CoPS (MRCoPS) ได้จากสุนัขและผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดสุนัขด้วย โดยเชื้อ methicillin-resistant S. pseudintermedius (MRSP) แยกได้มากที่สุด ตามด้วย methicillin-resistant S. schleiferi subsp. coagulans และ methicillin-resistant S. aureus ตามลำดับ จากการหาความสัมพันธ์ของเชื้อด้วยคุณลักษณะทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค multilocus sequence typing (MLST), pulsed-field gel electrophoresis (PFGE) และการจำแนกชนิด staphylococcal cassette chromosome mec (SCCmec) พบเชื้อ MRSP หลากหลายสายพันธุ์ และพบสายพันธุ์ร่วมกันในกลุ่มสุนัขและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุนัข อันแสดงถึงหลักฐานของการส่งผ่านเชื้อระหว่างคนและสุนัข จากการทดสอบความไวรับต่อยาต้านจุลชีพแสดงให้เห็นว่าเชื้อมากกว่า 80% ที่แยกได้จากกลุ่มประชากรที่ศึกษาแสดงการดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิด ได้แก่ tetracycline, aminoglycoside, erythromycin, clindamycin, chloramphenicol, trimethoprim, ciprofloxacin และ sulfamethoxazole ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่ใช้ในทางการแพทย์และสัตวแพทย์ ดังนั้นจึงควรมีการสร้างมาตรการทางสุขศาสตร์ การวินิจฉัย และการส่งเสริมให้มีการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงการติดตามการดื้อยาอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในสัตว์เลี้ยงและลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อสู่คน
Other Abstract: This research aimed to study about distribution and molecular epidemiology of methicillin-resistant coagulase-positive staphylococci (CoPS) in dogs, dog owners and veterinarains including Staphylococcus pseudintermedius, S. schleiferi subsp. coagulans and S. aureus. The species was identified using biochemical and genotypic characteristics. The results show that S. pseudintermedius and S. schleriferi subsp. coagulans could be isolated from dogs and people associated with dog, but these could not be isolated from people without dog association. Furthermore, methicillin-resistant CoPS could be founded in dogs and people associated with dog. Methicillin-resistant S. pseudintermedius (MRSP) is a predominant species followed by methicillin-resistant S. schleiferi subsp. coagulans (MRSSc) and methicillin-resistant S. aureus (MRSA), respectively. By genetic chatacterization using MLST, PFGE and SCCmec typing, various clones of MRSP were identified and shared among dogs and dog associated people. This showed an evidence of possible transmission of antimicrobial resistance bacteria between dog and human. Over 80% of MRCoPS expressed resistance to tetracycline, aminoglycoside, erythromycin, clindamycin, chloramphenicol, trimethoprim, ciprofloxacin and sulfamethoxazole, which are available for human and veterinary medicine. Therefore, Policies about hygienic management, diagnosis and prudent use of antimicrobials should be promoted, and monitoring of antimicrobial resistance bacteria should be continued to cope with this problem in order to decrease the zoonotic transmission.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60410
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuvee P_Res_2557 1.pdfFulltext1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.