Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60695
Title: Effects of amiodarone on cardiac performance in arrhythmic dogs
Other Titles: ผลของยาเอมิโอดาโรนต่อการทำงานของหัวใจในสุนัขที่มีภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
Authors: Pakit Boonpala
Advisors: Suwanakiet Sawangkoon
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Suwanakiet.S@Chula.ac.th
Subjects: Dogs -- Heart Diseases
สุนัข -- โรคหัวใจ
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Arrhythmia is one of a serious cardiovascular problem that can lead to sudden cardiac death.  In veterinary medicine, there are a few effective and safe anti-arrhythmic agents clinically available.  Amiodarone is a class III potassium channel blocking agent that has prescribed more than 50 years in humans; however, there are few reports in the veterinary medicine.  The drug also acts as beta-adrenergic and calcium channel antagonist which may produce adverse effects on cardiac contractility, relaxation, and thyroid functions.  This study aimed to investigate the effects of amiodarone on arrhythmic control, cardiac performance, and thyroid hormone levels in dogs.  Eight client-owned dogs with heart diseases were recruited from the cardiology unit, small animal teaching hospital, Chulalongkorn University.  All dogs were had dilated Hearts and confirmed types of arrhythmia by Lead II ECGs and 24-hour Holter monitoring.  Amiodarone were administrated at a loading dose of 10 mg/kg twice a day for 7 days, and followed by a maintenance dose of 5 mg/kg once a day.  After treatment with amiodarone for 15 days, the results showed significant decreases in heart rate and total arrhythmic count (p < 0.05).  Proarrhythmic assessment were found insignificantly changes both transmural dispersion of ventricle repolarization and beat-to-beat variability while QT interval was tended to lengthen (p = 0.06).  Echocardiograms were displayed significantly prolongation of the pre - ejection period and isovolumic contraction time (p < 0.05). Moreover, Tei index tended to increase (p = 0.07).  After 60 days of amiodarone treatment, both total plasma tri-iodothyronine (T3) and tetra-iodothyronine (T4) showed insignificant changes when compared with the baseline (p = 0.44 and 0.37, respectively). We conclude that the dosage of amiodarone treated in this study is effective, low risk of proarrhythmia, less negative inotropy, and fewer side effects which do not have any impact on clinical conditions. Therefore, amiodarone is safe for treated cardiac arrhythmias in dogs with organic heart diseases.
Other Abstract: ภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะเป็นปัญหาที่สำคัญมากในโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน  ยาต้านภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะที่มีใช้ในทางสัตวแพทย์นั้นมีเพียงไม่กี่ชนิดที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย  เอมิโอดาโรนเป็นยาต้านภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่สาม มีฤทธิ์ในการยับยั้งช่องไอออนโพแทสเซียม ซึ่งมีการใช้ในมนุษย์นานกว่า 50 ปี  แต่อย่างไรก็ตาม รายงานการใช้ยาชนิดนี้ในทางสัตวแพทย์ยังมีน้อย และยายังออกฤทธิ์ยับยั้งตัวรับชนิดเบตาแอดรีเนอจิก และช่องไอออนแคลเซียม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ทั้งการหดตัว การคลายตัว และยังส่งผลต่อการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมน  การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งหาผลของการให้ยาเอมิโอดาโรนต่อการควบคุมภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ การทำงานของหัวใจ และระดับไทรอยด์ฮอร์โมน  สุนัข ป่วยเป็นโรคหัวใจที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 8 ตัว ซึ่งสุนัขทั้งหมดมีภาวะหัวใจโต และได้รับการยืนยันชนิดของภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในโรงพยาบาล และการบันทึกติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง  สุนัขที่เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับยาเอมิโอดาโรนเริ่มต้นในขนาด 10 มก./กก. วันละสองครั้ง เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงให้ขนาดยา 5 มก./กก. วันละครั้ง ทุกวัน เพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ผลการศึกษาพบว่าหลังจากให้ยาเอมิโอดาโรนนาน 15 วัน ค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจ (p < 0.05) และจำนวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  การประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะอันเนื่องมาจากการเหนี่ยวนำของยาพบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งความแปรปรวนของการเกิดรีโพลาไรเซชันในหัวใจห้องล่าง (transmural of ventricular repolarization) และความแปรปรวนในระยะสั้นของช่วงเวลา QT  (short term variability of QT interval)  แม้ว่าช่วงเวลา QT มีแนวโน้มที่จะนานขึ้นหลังได้รับยา (p = 0.06)  ผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนพบว่าค่า PEP และ IVCT นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ทั้งคู่ p < 0.05)  และค่า Tei index มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (p = 0.07)  หลังได้รับยาเอมิโอดาโรนนาน 60 วัน ระดับ total T3 และ T4 ในพลาสมาเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.44 และ 0.37 ตามลำดับ) จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าขนาดยาเอมิโอดาโรนมีประสิทธิภาพในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีผลเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะจากยาเองต่ำ มีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจน้อย ไม่พบผลข้างเคียงที่ชัดเจน และไม่ส่งผลเสียต่อสภาพสัตว์โดยรวมในทางคลินิก และการใช้ยาเอมิโอดาโรนเพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะใช้รักษาสุนัขที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Animal Physiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60695
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1475
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1475
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5475406331.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.