Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60708
Title: The control mechanisms of milk production in crossbred goat under tropical condition : effects of high dietary cation and anion difference
Other Titles: กลไกการควบคุมการผลิตน้ำนมในแพะลูกผสมที่เลี้ยงภายใต้สภาพเขตร้อนชื้น : ผลของอาหารที่มีแร่ธาตุประจุบวกสูง
Authors: Nguyen Thiet
Advisors: Sumpun Thammacharoen
Narongsak Chaiyabutr
Somchai Chanpongsang
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Sumpun.P@Chula.ac.th
Narongsak.C@Chula.ac.th
Somchai.C@Chula.ac.th
Subjects: Milk Production
Goats
น้ำนมแพะ
ผลิตภัณฑ์นม
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The present study was carried out to evaluate the effect of high dietary cation and anion difference (DCAD) rations in dairy goats fed under high ambient temperature (HTa) on milk production in relation to physiological responses, including diurnal variations in eating and meal patterns, ruminal function and nutrition digestibility, water balance and body fluid compartments. Ten crossbred dairy goats during peri-parturition period were selected and divided into two groups of five animals each. Experimental diets were control DCAD (control, 22.8 mEq/100 g DM) and high DCAD (DCAD, 39.1 mEq/100 g DM). The composition of two diets consisted of 44% corn stover by-product silage and 56% concentrate. During the experimental period from the 2nd to 8th weeks of postpartum (PP-2 and PP-8), goats were fed twice daily either with the control or DCAD total mix ration with free access to water. The environmental conditions, rectal temperature (Tr) and respiratory rate (RR) in the present experiment indicated that goats were fed under HTa conditions (average peak THI = 85.2) and were in the stage of heat stress. The percentage change of Tr from DCAD group was lower than control group between 09:00 h and 13:00 h. High DCAD apparently increased eating and meal patterns compared with the control. Dry matter intake/body weight (DMI/BW) tended to increase throughout experiment and significantly higher than in animals fed with high DCAD at PP-8 (P<0.05), but milk yield and composition were similar between groups. An increase in DMI from DCAD group at PP-8 mainly came from increase in meal size and duration in accordance with the improvement of ruminal function and nutrition digestibility. However, the plasma leptin concentration from DCAD was higher than those from control. The concentrations of plasma K+, Cl- and osmolality was not affected by DCAD at 09:00 h and 16:00 h, but plasma Na+ level and cation and anion difference (CAD) from DCAD increased at 16:00 h. Goats in DCAD group drank more water than control. However urine volume and plasma ADH concentration were not different between groups. As a result, apparent water balance was higher from DCAD group during 24 h. There were no effects of DCAD on plasma and blood volumes, but tended to increase in extracellular fluid and thereby increasing total body water. The results from current study indicate that dairy goats fed with high DCAD tended to increase DMI/BW by increasing meal size, meal duration. An increase in DMI/BW apparently came from an improving gastrointestinal tract function and was independent from the action of leptin. In addition, high DCAD resulted greater in total body water and apparent water balance. These results have contributed the process of adaptation for evaporative cooling and would be useful in slowing down the elevation in Tr under HTa.
Other Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเพื่อศึกษาผลของอาหารที่มีส่วนประกอบระดับอิออนประจุบวกและลบต่างกันสูง (Dietary Cation and Anion Difference, DCAD) ในแพะนมที่เลี้ยงภายใต้สภาวะแวดล้อมอุณหภูมิสูง (High ambient temperature, HTa) ต่อผลผลิตน้ำนม ความสัมพันธ์กับการตอบสนองทางสรีรวิทยาประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการกินอาหารระหว่างวัน และรูปแบบของมื้ออาหาร การทำงานของกระเพาะหมักรูเมนและการย่อยได้ของสารอาหาร และความสมดุลของน้ำและส่วนของสารน้ำในร่างกายในแพะนมพันธุ์ผสมช่วงตั้งท้องใกล้คลอดจำนวน 10 ตัว ถูกใช้สำหรับการทดลองโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว อาหารสำหรับการทดลองคือ อาหารควบคุม DCAD (Control, 22.8 mEq/100g DM) และอาหารที่มีปริมาณ DCAD สูง (DCAD, 39.1 mEq/100g DM) ส่วนประกอบของทั้งสองสูตรประกอบด้วยเศษเหลือจากต้นข้าวโพดหมัก (corn stover by product silage) 44% และอาหารข้น (concentrate) 56%  ในระหว่างช่วงการทดลองเริ่มจากสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 8 หลังคลอด (PP-2 และ PP-8) แพะจะได้รับอาหารแบบเต็มที่ 2 ครั้งต่อวันและให้น้ำกินตลอดเวลา ในช่วงการทดลอง สภาวะแวดล้อม อุณหภูมิร่างกายที่วัดจากทวารหนัก (rectal temperature, Tr) และอัตราการหายใจ (respiration rate, RR) บ่งชี้ว่าแพะที่เลี้ยงภายใต้สภาวะ HTa (average THI = 85.2 ) และอยู่ในระยะที่มีความเครียดจากความร้อน โดยเฉพาะเปอร์เซ็นต์ของการเปลี่ยนแปลง Tr ในกลุ่ม DCAD น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ในช่วงเวลา 9.00 และ 13.00 นาฬิกา อาหารสูตร DCAD สูงมีแนวโน้มการกินอาหารเพิ่มขึ้นและรูปแบบของมื้ออาหารเมื่อเทียบกับอาหารสูตรควบคุม ปริมาณการกินอาหารในรูปวัตถุแห้งต่อน้ำหนักตัว (dry matter intake/body weight, DMI/BW) มีแนวโน้มสูงตลอดการทดลองและมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในช่วง PP-8 อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำนมและองค์ประกอบน้ำนมในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน การเพิ่มขึ้นของ DMI/BW ในช่วง PP-8 เกิดจากการเพิ่มขนาดและระยะเวลาของมื้ออาหาร และสอดคล้องกับการย่อยที่ดีขึ้นภายในกระเพาะรูเมน อย่างไรก็ตามระดับของเลปติน (leptin) ในพลาสม่าของกลุ่ม DCAD มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม ในช่วงเวลา 9.00 และ 16.00 นาฬิกา ความเข้มข้นของโปแตสเซียมไอออน คลอไรด์ไอออนและออสโมลาริตี้ในพลาสม่าไม่ได้รับผลกระทบจากการให้อาหาร DCAD แต่ระดับความเข้มข้นของโซเดียมไอออน และผลต่างของประจุบวกและลบ (cation and anion difference, CAD) ในกลุ่ม DCAD จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลา 16.00 นาฬิกา แพะในกลุ่ม DCAD ดื่มน้ำในปริมาณมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามอัตราการขับปัสสาวะและระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (antidiuretic hormone, ADH) ในพลาสม่าไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลดังกล่าวทำให้ดุลย์ของน้ำเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่ม DCAD ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ไม่พบความแตกต่างของปริมาตรพลาสม่าและปริมาตรเลือดจากการให้ DCAD แต่ปริมาณน้ำนอกเซลล์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ปริมาณน้ำทั้งหมดของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แพะนมที่ได้รับอาหารที่มีปริมาณ DCAD สูงมีแนวโน้มที่จะเพิ่ม DMI/BW จากการเพิ่มขึ้นของขนาดมื้ออาหาร และระยะเวลามื้ออาหาร การเพิ่มของ DMI/BW เป็นผลจากการทำงานของระบบทางเดินอาหารที่ทำงานดีขึ้น โดยไม่ขึ้นกับผลของการทำงานของฮอร์โมนเลปติน อีกทั้งปริมาณ DCAD ขนาดสูงจะเพิ่มปริมาณน้ำและความสมดุลของน้ำในร่างกาย ผลลัพธ์เหล่านี้มีส่วนทำให้กระบวนการปรับตัวแบบการระเหยเพื่อระบายความร้อนและช่วยในการชะลอการเพิ่มขึ้นของ Tr ภายใต้สภาวะ HTa
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Animal Physiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60708
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1292
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1292
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5775517631.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.