Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60712
Title: รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิดตามแนวคิดการให้เหตุผลโดยใช้กรณีเป็นฐานและปัญญารวมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Model of open educational resources development based on case based reasoning and collective intelligence to enhance creative problem solving ability of undergraduate students
Authors: พันทิพา อมรฤทธิ์
Advisors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
ปณิตา วรรณพิรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jaitip.N@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เทคโนโลยีทางการศึกษา
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
การสอนด้วยสื่อ
Educational technology
Problem-based learning
Teaching -- Aids and devices
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิดตามแนวคิดการให้เหตุผลโดยใช้กรณีเป็นฐานและปัญญารวมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปความต้องการและความคิดเห็นของคณาจารย์ จำนวน 198 คน และนิสิตนักศึกษา จำนวน 416 คน เกี่ยวกับสภาพการใช้ ปัญหา และความต้องการของทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิด และการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิดตามแนวคิดการให้เหตุผลโดยใช้กรณีเป็นฐานและปัญญารวมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 3) พัฒนารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิดตามแนวคิดการให้เหตุผลโดยใช้กรณีเป็นฐานและปัญญารวมฯ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ 5) นำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2559 จำนวน 35 คน ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิดตามแนวคิดการให้เหตุผลโดยใช้กรณีเป็นฐานและปัญญารวม ระบบบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิดฯ แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียน และแบบประเมินผลงานสร้างสรรค์ทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิด  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิดตามแนวคิดการให้เหตุผลโดยใช้กรณีเป็นฐานและปัญญารวม ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ และ 6 ขั้นตอน ดังนี้ องค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ 1) ผู้สอน 2) เนื้อหา 3) ผู้เรียน 4) ฐานกรณีการเรียนรู้ 5) ผู้สนับสนุนกระบวนการกลุ่ม 6) ระบบบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ 7) การประเมินผล และขั้นตอนของรูปแบบ ได้แก่ 1) เตรียมการและวางแผน 2) เริ่มต้น เรียนรู้ และส่งเสริมคุณค่าการใช้ทรัพยากรสื่อทางการศึกษาแบบเปิด 3) กำหนดสถานการณ์ สร้างความร่วมมือ 4) ค้นหาข้อมูล ระดมความคิด 5) นำกลับปรับใช้ บูรณาการแก้ไข สร้างสรรค์สิ่งใหม่ 6) ประเมิน ตรวจสอบ ขยายความรู้ และบรรจุสู่คลังระบบฯ 2.  นิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่เรียนโดยใช้กระบวนการตามรูปแบบฯ มีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to develop the model of open educational resources development based on case-based reasoning and collective intelligence to enhance creative problem solving ability of undergraduate students. The research method was divided into five phases: 1) study opinions of 198 instructors and 416 undergraduate students on the current situations regarding the use of OERs and creative problem solving ability of undergraduate students, 2) study, synthesize and interview eight experts about the development of OERs based on case-based reasoning and collective intelligence to enhance creative problem solving ability of undergraduate students, 3) develop a model of OER development based on case-based reasoning and collective intelligence to enhance creative problem solving ability of undergraduate students, 4) study the effects of OER development model 5) propose the OER development model. The sample were 35 undergraduate students from the School of Polymer Engineering, Institute of Engineering at Suranaree University of Technology during the first semester of the academic year 2016. The experiment was carried out for 10 weeks. The research instruments were a model of open educational resources development based on case-based reasoning and collective intelligence, the OERs management system, a pretest and posttest on the creative problem solving ability, and the creative product semantic scale. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test dependent. The research findings were as follows: 1. The model of open educational resources development based on case-based reasoning and collective intelligence consisted of seven components and six processes. The seven components included: 1) Instructor, 2) Contents, 3) Student, 4) Learning Case, 5) CI Group, 6) OERs-Management System, and 7) Evaluation. The process of the OER development model consisted:1) Prepare & Planning 2) Start & Learn to Open 3) Goal Setting & Collaborative 4) Retrieve & Brainstorming 5) 2R1C Creativity (Reuse, Revise & Create) and 6) Evaluation Feedback & Retain. 2. The creative problem solving ability posttest scores of students were significantly higher from pretest scores at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60712
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.50
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.50
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584469427.pdf9.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.