Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61069
Title: แนวทางการจัดเก็บภาษี กรณีวัดประกอบกิจการแสวงหากำไร
Authors: บุญญ์กัญญ์ ทองถาวร
Email: Supalak.P@Chula.ac.th
Advisors: ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: องค์การทางศาสนา-- ภาษี--การหักลดหย่อน
ภาษีเงินได้--การหักลดหย่อน
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติประจำปี 2556 มีการจัดประเภทองค์การเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร รวมทั้งหมดมีจำนวน 76,685 แห่ง แบ่งเป็นองค์การทางศาสนา 44,398 แห่ง คิดเป็นจำนวนร้อยละ 57.9 ของจำนวนองค์การเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรทั้งหมด และองค์การทางศาสนามีรายรับสูงถึง 27,215 ล้านบาท การที่วัดถูกจัดเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เพราะตามกฎหมายการจัดตั้งวัดได้กำหนดวัตถุประสงค์การจัดตั้งวัดไว้เพื่อเป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์และใช้ประกอบศาสนากิจการที่วัดประกอบกิจการแสวงหากำไร จึงเป็นการที่นิติบุคคลดำเนินงานนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนิติบุคคล สะท้อนให้เห็นว่ารัฐยังขาดการกากับดูแลการดำเนินกิจการของวัด ทำให้เกิดการดำเนินกิจการที่ไม่เป็นไปวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่องค์กรธุรกิจอื่น เพราะการที่วัดประกอบกิจการแสวงหากำไรเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไร ถือได้ว่าวัดมีสถานภาพเหมือนกันกับองค์กรธุรกิจ ก็ควรได้รับการปฏิบัติที่เหมือนกัน เสมอภาคกัน จึงจะเกิดความเป็นธรรมในทางภาษีอากร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ วัดกับองค์กรธุรกิจมีสถานภาพในการประกอบกิจการแสวงหากำไรเหมือนกัน ก็ควรเสียภาษีเหมือนกัน ในทางกฎหมายภาษีอากรก็ควรกำหนดให้วัดมีภาระหน้าที่เป็นหน่วยภาษีเหมือนกันกับองค์กรธุรกิจ แต่อาจจะเสียภาษีไม่เหมือนกันเพราะมีสาระสำคัญในเรื่องวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แตกต่างกันตามหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีในเรื่องความเสมอภาคประเด็นปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง คือ การที่รัฐให้สิทธิหักลดหย่อนเงินได้ในส่วนที่เป็นเงินบริจาคให้แก่องค์กรที่ไม่แสวงหากาไร เพราะองค์กรที่ไม่แสวงหากาไรถือเป็นหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนการให้บริการสาธารณะของรัฐได้ ดังนั้น หากวัดประกอบกิจการแสวงหากำไร การให้สิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาคจึงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนโยบายการบริหารงานในเชิงมหภาค จะเป็นการลดรายได้ของรัฐจากการให้สิทธิหักลดหย่อน และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของรัฐสาหรับการให้เงินอุดหนุนแก่วัดแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้ง ๆ ที่วัดสามารถประกอบกิจการแสวงหากำไรได้ รัฐจะมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถนำไปช่วยส่งเสริมสนับสนุนศาสนาให้ทั่วถึงได้ทั้งประเทศ แนวทางการจัดเก็บภาษี กรณีวัดประกอบกิจการแสวงหากาไร คือ การกำหนดให้วัดเป็นหน่วยภาษี เงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีจากเงินได้ในส่วนที่เกิดจากการประกอบกิจการแสวงหากำไรของวัดได้ เหมือนกับหลักเกณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นและเสนอแนะให้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอน โดยกำหนดประเภทของรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจะต้องมีการปรับปรุงข้อมูลประเภทของรายได้ทุกปี อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เสนอแนะให้กำหนดประเภทรายได้ตามแนวทางประเภทเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร และฐานภาษีคิดจากกาไรสุทธิ โดยให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาในอัตราเดียวกันกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นวิธีการอย่างง่าย ทาให้เกิดการบังคับใช้ได้จริงกับวัดทั่วประเทศ
Description: เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61069
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.44
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.44
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62035 34.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.