Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61223
Title: การศึกษาการแพร่กระจายแอนติเจนของเชื้อพิษสุนัขบ้า และการอักเสบในระบบประสาทส่วนกลางในระยะแรกของสุนัขบ้าที่มีอาการคลุ้มคลั่งและอ่อนแรง
Other Titles: Distribution of rabies antigen and inflammatory response in the central nervous system of canine furious and paralytic rabies
Authors: นิศาชล เทพา
Advisors: ชนพ ช่วงโชติ
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Shanop.S@Chula.ac.th
Thiravat.h@chula.ac.th
Subjects: โรคพิษสุนัขบ้า
แอนติเจน
ระบบประสาทส่วนกลาง
Rabies in dogs
Antigens
Central nervous system
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคพิษสุนัขบ้า มีลักษณะอาการทางคลินิกแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือชนิดคลุ้มคลั่ง (furious หรือ encephalitic rabies) และอ่อนแรง (dumb หรือ paralytic rabies) สำหรับกลไกการเกิดอาการแสดงทางคลินิกที่แตกต่างกันของโรคพิษสุนัขบ้านี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จากการตรวจศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตไม่พบความแตกต่างของการกระจายตัวของเชื้อไวรัสและการอักเสบของสมอง และจากการศึกษาสมองคนไข้ก่อนเสียชีวิตด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ก็ไม่พบความแตกต่าง ต่อมาได้มีการศึกษาในสุนัขที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าในระยะแรกของโรคด้วยเครื่อง MRI พบสัญญาณความผิดปกติในสุนัขบ้าชนิดอ่อนแรง มากกว่าชนิดคลุ้มคลั่ง และเมื่อทำการตรวจสุนัขบ้าที่ตายแล้ว พบว่าสมองของสุนัขที่มีอาการแบบคลุ้มคลั่ง มีปริมาณไวรัสสูงกว่าในกลุ่มอาการอ่อนแรง ในทางตรงกันข้าม สมองของสุนัขที่มีอาการแบบอ่อนแรง มีระดับ cytokine ที่สูงกว่า ผลการศึกษาดังกล่าวในสุนัข จึงแตกต่างจากผลที่ได้จากการศึกษาในคน ซึ่งความแตกต่างนี้ น่าจะเกิดมาจากการศึกษาโรค ในระยะเวลาของการดำเนินโรคที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาการกระจายตัวของแอนติเจนเชื้อพิษสุนัขบ้าและการอักเสบของระบบประสาท เพื่อศึกษาว่าจะมีความแตกต่างกันหรือไม่ ในโรคพิษสุนัขบ้าทั้ง 2 แบบอาการ โดยศึกษาในระยะแรกของโรค และทำศึกษาจากสมองและไขสันหลังระดับคอ ของสุนัขที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าตามธรรมชาติชนิดคลุ้มคลั่งและชนิดอ่อนแรง อย่างละ 5 ตัวอย่าง นำมาศึกษาการกระจายตัวของแอนติเจนเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า และลักษณะการอักเสบในตำแหน่งต่าง ๆของระบบประสาทส่วนกลาง ด้วยเทคนิคอิมมูโนฮีสโตเคมี Immunohistochemistry (IHC) และ Image analysis การศึกษานี้พบว่ามีเซลล์ประสาทที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าเป็นจำนวนมาก ในก้านสมองและไขสันหลังระดับคอ ในสุนัขบ้าทั้ง 2 กลุ่มอาการ เซลล์ประสาทที่ติดเชื้อในสมองใหญ่มีปริมาณมากกว่าในสุนัขบ้าชนิดคลุ้มคลั่ง และพบการอักเสบรุนแรงที่ก้านสมองของสุนัขบ้าชนิดอ่อนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับสุนัขบ้าแบบคลุ้มคลั่ง ส่วนการอักเสบในสมองใหญ่ พบเพียงเล็กน้อยในทั้ง 2 กลุ่มอาการ การพบการกระจายของแอนติเจนไวรัสพิษสุนัขบ้าและการอักเสบ มีความแตกต่างกันในสุนัขบ้าชนิดคลุ้มคลั่งและชนิดอ่อนแรงในระยะแรกของโรคการอักเสบรุนแรงที่ก้านสมองของสุนัขบ้าชนิดอ่อนแรงอาจช่วยชะลอไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่สมองได้สะดวก การอักเสบที่ต่างกันนี้ อาจเกิดจากความแตกต่างของเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า หรือความแตกต่างในการตอบสนองต่อเชื้อของสัตว์ที่เป็นโรค
Other Abstract: Furious and paralytic rabes are two distinct clinical entities. We have previously reported that there was no specific pattern of antigen and inflammation distribution in the central nervous system (CNS) of rabies patients. Further analysis in rabies infected dogs during early stage using magnetic resonance imaging showed similar lesion localization in the brains with more pronounced abnormal CNS signal intensities in paralytic rabies infected dogs. This was in accord with greater bran nnate immunity responese in paralytic rabies. Although a significantly grater amount of viral load was found in the brains of furious rabies infected dogs, there was no vral amount n the spinal cord as well as data on the inflammation distributon of the whole CNS. Postmortem examination of brains and spinal cords from furious and paralytc rabid dogs (5 of each) was performed. These animals were sacrificed early after the biting incident for rabies examination. Quantitative image analysis revealed larger amount of rabies antigen in the brain of furious dogs than in the paralytic counterpart whereas it was comparable at all levels of spinal cord in both forms. Viral quantities were discrepant between those in the bran and spinal cord of paralytic rabid dogts. Two of 5 paralytic dogs had none or nearly absence of rabies antigen in the brains. Inflammatory response was barely seen except at the brainstem of paralytic dogs. We suggest that brainstm regon may be the barricade in preventing viral spread to the cerebral hemispheres.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61223
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1678
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1678
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisachol Thepa.pdf843.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.