Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61331
Title: การมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
Other Titles: Living with cancer relapse of adolescent patients receiving palliative care
Authors: ทิพย์เกษร วรรณภักตร์
Advisors: สุรศักดิ์ ตรีนัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Surasak.Tr@Chula.ac.th
Subjects: มะเร็ง -- การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ
มะเร็ง -- การเกิดโรคกลับ
มะเร็งในวัยรุ่น
Cancer -- Palliative treatment
Cancer -- Relapse
Cancer in adolescence
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาเชิงบรรยายของ Husserl มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยคือ วัยรุ่นโรคมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อายุ 11-19 ปี ทั้งชายและหญิง ซึ่งทราบการวินิจฉัยโรคของตน ได้รับการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดอย่างน้อย 1 ปี  รับรู้และได้รับการดูแลแบบประคับประคองแล้วอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป จำนวน  9 ราย เก็บข้อมูลการวิจัยโดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Colaizzi ผลการศึกษาพบว่าการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ประกอบไปด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ 1) “ชีวิตที่อยู่กับมะเร็งกลับเป็นซ้ำ” ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ ทุกข์ทรมานกับโรคมะเร็งที่ซ้ำเติม หนักใจที่กลับเป็นซ้ำแต่ความหวังยังมี และยังวนเวียนอยู่กับการรักษา 2) “ชีวิตที่อยู่ต่อไป” ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ ชีวิตที่แตกต่างจากคนอื่น ชีวิตที่ต้องอยู่ดีมีความสุข และชีวิตที่อยู่บนขวัญกำลังใจเพื่อตัวเองและครอบครัว ผลการวิจัยสะท้อนถึงการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยที่ผูกพันอยู่กับชีวิตสองส่วน คือ ชีวิตส่วนแรกที่อยู่กับมะเร็งที่กลับเป็นซ้ำซึ่งต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากโรคแม้จะอยู่อย่างหนักใจแต่ก็มีหวัง และชีวิตอีกส่วนที่มีแต่ข้อจำกัด แต่ก็ได้รับสิ่งทดแทนจากคนรอบข้างที่ช่วยให้กำลังใจมีชีวิตอยู่ต่อ ข้อค้นพบเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึงการวิจัยในอนาคตต่อไป
Other Abstract: This qualitative research based on Husserl’s phenomenological concept aims to study living with cancer relapse of adolescent patients receiving palliative care. The key informants were 9 male and female adolescent patients diagnosed by doctors with leukemia and lymphoma, aged 11 – 19 years old. They were treated with chemotherapy for at least 1 year, perceived and received palliative care for at least 6 months. Data collection process was conducted through in-depth interview. Data were analyzed based on Colaizzi’s method. The findings show that living with cancer relapse of adolescent patients receiving palliative care consisted of Two themes : 1) “Life with cancer relapse” consisted of the following Three sub-themes: suffering from aggregated cancer, being despair of the recurrence but hopeful, and currently receiving treatment. 2) “Continuing life” consisted of the following Three sub-themes: life different from others, life with happiness, and life with encouragement and support for self and family. The research findings are reflecting on two parts of adolescent’s life who is living with cancer relapse. The first part is to live with hope though suffering from cancer. And the second part is to live under limitations but receiving support and encouragement from people surrounding them to continue living. These findings can be used as basic and vital data for nursing care plan and for further research.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61331
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.977
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.977
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877172136.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.