Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61335
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม-
dc.contributor.authorโชติกา สาระปัญญา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-26T13:31:14Z-
dc.date.available2019-02-26T13:31:14Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61335-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ            แห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งได้รับการตรวจรักษาที่ห้องตรวจศัลยกรรมกระดูก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างตามอายุ เพศ และระยะเวลาการเจ็บป่วย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า ซึ่งประยุกต์ทฤษฎีส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือทดลอง คือโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกาย และแบบบันทึกการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research aimed to study the effect of promoting self-efficacy combined with rehabilitation program on quality of life in patients with osteoarthritis of knee. The subjects were 44 patients with knee osteoarthritis treated in an orthopedic examination room, out-patient department, Charoenkrungpracharak Hospital. The participants were control (n=22) and experimental groups (n = 22). Each pairs of participants from the control and experimental groups were similar in age, gender and duration. The control group received conventional care while the experimental group attended a six-weeks promoting self-efficacy combine with rehabilitation program that applying self-efficacy theory. The experimental instruments included: the promoting self-efficacy combine with rehabilitation program, self-efficacy for exercise assessment, and practice record rehabilitation. The instruments for collecting data were the demographic questionnaire and the Quality of Life questionnaire.  Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follow: 1. After the intervention, the mean quality of life in patients with osteoarthritis of knee were significantly higher than those before the experiment at p-value of <0.05 2. After the intervention, the mean quality of life in patients with osteoarthritis of knee were significantly higher than the control group at p-value of <0.05 -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.959-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectข้อเสื่อม-
dc.subjectข้อเสื่อม -- ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ-
dc.subjectOsteoarthritis-
dc.subjectOsteoarthritis -- Patients -- Rehabilitation-
dc.subject.classificationNursing-
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม-
dc.title.alternativeThe effect of promoting self-efficacy combined with rehabilitation program on quality of life in patients with knee osteoarthritis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPachanut.T@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordPROMOTING-
dc.subject.keywordSELF-EFFICACY-
dc.subject.keywordREHABILITATION PROGRAM-
dc.subject.keywordQUALITY OF LIFE-
dc.subject.keywordKNEE OSTEOARTHRITIS-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.959-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877207536.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.