Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61338
Title: ผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่อภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
Other Titles: The effect of coping skills enhancement program on psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia
Authors: ศิริธนา ยะมะโน
Advisors: รัชนีกร อุปเสน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ratchaneekorn.k@chula.ac.th
Subjects: การปรับตัว (จิตวิทยา)
ผู้ป่วยจิตเภท
ผู้ดูแล -- สุขภาพจิต
Adjustment (Psychology)
Schizophrenics
Caregivers -- Mental health
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อเปรียบเทียบภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดและ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่แผนกจิตเวชผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องเพศและระยะเวลาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด ส่วนผู้ดูแลในกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด 2) แบบประเมินภาวะกดดันด้านจิตใจของ Kessler 3) แบบวัดการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this quasi-experimental research using the pretest -posttest design were to compare: 1) psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia before and after received the coping skills enhancement program, and 2) psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia who received  the coping skills enhancement program and those who received regular nursing care. The research consists of a sample of 40 caregivers of schizophrenic patients who received the service at Outpatient Department at Nakhon Ratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital, Nakhon Ratchasima province. They were matched-pairs with sex and duration of illness of the patient and then randomly assigned to either an experimental or control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the coping skills enhancement program and the control group received regular nursing care. The research instruments used in this research were: 1) the coping skills enhancement program, 2) The Kessler Psychological Distress Scales 3) Coping scale for caregivers of schizophrenic’s patients. All instruments were tested for content validity by 5 experts. The Cronbach’s Alpha Coefficient reliability of this instruments were .89 and .80 respectively. Data was analyzed using mean, standard deviation and t-test. Major findings were as follows: 1. The psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia after received the coping skills enhancement program was statistically significant less than before receiving the program at p .05 level, 2. The psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia after received the coping skills enhancement program was significantly less than those in the control group who received the regular nursing care at p. 05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61338
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1007
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1007
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877312736.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.