Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61584
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชชา จองวิวัฒสกุล-
dc.contributor.authorอมเรศ มธุรส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-26T14:06:55Z-
dc.date.available2019-02-26T14:06:55Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61584-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) และคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน (CNTs) โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือประเภทของท่อนาโนคาร์บอน ประกอบด้วย แบบผนังชั้นเดียว (SWCNTs) และแบบผนังหลายชั้น (MWCNTs) ปริมาณของท่อนาโนคาร์บอนที่ปริมาณ 0.25, 0.50, 1.00 และ 2.00% ของปริมาณอีพอกซี และประเภทของอีพอกซี ประกอบด้วยอีพอกซีชนิดค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1.30 และ 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร ผลการศึกษาพบว่าพลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสและหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุดมีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุด 51.11% และ 56.47% ตามลำดับ เมื่อใช้ SWCNTs ที่ 1.00% ของปริมาณอีพอกซีในอีพอกซีค่าความหนาแน่น 1.30 กิโลกรัมต่อลิตร อย่างไรก็ตามการใช้ SWCNTs และ MWCNTs เสริมอีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มให้พลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัส หน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด รวมถึงค่าการเลื่อนไถลสูงสุดที่ลดลง สำหรับรูปแบบการหลุดล่อนโดยส่วนใหญ่มีการแยกตัวที่วัสดุประสานและคอนกรีต ทั้งนี้การใช้อีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร โดยการใช้อีพอกซีเสริม SWCNTs ที่ปริมาณ 0.25% ของปริมาณอีพอกซี มีการหลุดล่อนจากการสูญเสียการยึดเหนี่ยวของวัสดุเชื่อมประสาน และการใช้ MWCNTs 0.25% ของปริมาณอีพอกซีมีการหลุดล่อนจากการแตกหักของคอนกรีต จากการตรวจสอบการยึดเหนี่ยวภายในชั้นของอีพอกซีและการยึดเหนี่ยวของอีพอกซีกับ CFRP ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน พบว่าให้ผลสอดคล้องกับผลของหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด โดยผลของชุดทดสอบที่มีหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูง มีลักษณะการยึดเกาะหรือการรวมตัวของอีพอกซีที่ดีและช่องว่างของอีพอกซีน้อย จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของท่อนาโนคาร์บอนที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติของอีพอกซี-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the bond behavior between carbon fiber reinforced polymer (CFRP) and concrete using epoxy reinforced by carbon nanotubes (CNTs). Specimens containing CFRP, concrete, and epoxy with varying types and weights of CNTs were subjected to the single shear pushing tests. Single-walled carbon nanotubes (SWCNTs) and multi-walled carbon nanotubes (MWCNTs) with weight fractions of 0.25, 0.50, 1.00 and 2.00% are employed for preparation of CNT modified epoxy and types of epoxy are epoxy with densities of 1.30 and 1.65 kg/liter. The results show that interfacial fracture energy and ultimate bond stress increased 51.11% and 56.47% respectively when 1.00% of SWCNTs was added to 1.30-kg/liter epoxy. However, the addition of SWCNTs and MWCNTs in 1.65-kg/liter epoxy reduced the interfacial fracture energy, ultimate bond stress, and ultimate slip. By observing the failure mode of specimens, most specimens failed by the adhesive and concrete separation. However, the failure modes were shifted to an adhesion decohesion and concrete substrate fracture when 1.65-kg/liter epoxy was reinforced by 0.25% of SWCNTs and MWCNTs. In addition, microstructures of epoxy were studied using scanning electron microscope. It is observed that, for specimens having high ultimate bond stress, there are relatively less void in epoxy. This result shows the efficiency of the CNTs to improve epoxy properties.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1224-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอน-
dc.subjectท่อนาโนคาร์บอน-
dc.subjectคอนกรีต-
dc.subjectอีพอกซีเรซิน-
dc.subjectCarbon fiber-reinforced plastics-
dc.subjectCarbon nanotubes-
dc.subjectConcrete-
dc.subjectEpoxy resins-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน-
dc.title.alternativeBond behavior between carbon fiber reinforced polymer sheet and concrete using carbon nanotube reinforced epoxy-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordพฤติกรรมการยึดเหนี่ยว-
dc.subject.keywordพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน-
dc.subject.keywordท่อนาโนคาร์บอน-
dc.subject.keywordคอนกรีต-
dc.subject.keywordอีพอกซี-
dc.subject.keywordBond behavior-
dc.subject.keywordCarbon fiber reinforced polymer-
dc.subject.keywordCarbon nanotube-
dc.subject.keywordConcrete-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1224-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970468821.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.