Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/616
Title: การกำหนดตัวแบบโครงสร้างต้นทุนสำหรับสินค้าเกษตรกรรมที่มีการส่งออก : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Cost structural model for exported agricultural products
Authors: วันเพ็ญ กฤตผล
ดวงสมร อรพินท์
ดนุชา คุณพนิชกิจ
Email: fcomwkt@phoenix.acc.chula.ac.th
fcomdor@phoenix.acc.chula.ac.th
Danuja@.acc.chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการบัญชี
Subjects: สินค้าเกษตร--ต้นทุน
ผลิตผลเกษตร--ต้นทุน
ตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า
การควบคุมสินค้าขาออก
ผลิตผลเกษตร--การตลาด
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกำหนดตัวแบบโครงสร้งต้นทุนสำหรับสินค้าเกษตรกรรมที่มีการส่งออก จัดทำขึ้นเพื่อให้กิจการที่ประกอบธุรกิจทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรกรรมมีฐานข้อมูลอันเกี่ยวกับต้นทุนสินค้า เพื่อช่วยในการพิจารณาตกลงราคา ซึ่งจะช่วยให้ทราบต้นทุนโดยประมาณและคาคคะเนได้ว่า ณ ระดับราคาที่มีการประกาศซื้อขายล่วงหน้านั้นธุรกิจมีความเสี่ยงในผลขาดทุน หรือมีโอกาสได้รับกำไรมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางต้นทุนสินค้าเกษตรกรรมให้กับเกษตรกรเพื่อให้ต้นทุนนี้มีส่วนช่วยในการวางแผนการผลิตและควบคุมต้นทุน เหตุผลที่คณะผู้วิจัยให้ความสนใจในเรื่องนี้ก็เพราะกระทรวงพาณิชย์ได้อนุญาตให้มีการจดทะเบียนสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรกรรมกับตลาดต่างประเทศ การตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูลอันเป็นพื้นฐานสำคัญจะเป็นผลเสียต่อธุรกิจ และเศรษฐกิจเป็นส่วนรวม และในธุรกิจประเภทนี้จะมีนักเก็งกำไรเข้าร่วมด้วย จากการสุ่มตัวอย่างสินค้าเกษตรกรรมจำนวน 20 รายการจากสินค้าเกษตรกรรที่มีการส่งออก 20 อันดับแรก เพื่อมาศึกษาโครงสร้างต้นทุน สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. โครงสร้างต้นทุนสำหรับสินค้าเกษตรกรรมประเภทกสิกรรมมีต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนผันแปรซึ่งคิดเป็นร้อยละของต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อไร่แล้วมีค่าอยู่ระหว่าง 53.77%-96.07% โดยมีค่าแรงเป็นต้นทุนที่มีค่าสูงสุดในส่วนของต้นทุนผันแปรที่เกิดขึ้น และค่าแรงในการปลูกจะสูงกว่าค่าแรงในการดูแลรักษาเก็บเกี่ยว สำหรับค่าวัสดุเป็นต้นทุนผันแปรที่มีค่าสูง รองลงมา และค่าใช้จ่ายสูงสุดในหมวดค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าปุ๋ย 2. โครงสร้างต้นทุนสำหรับสินค้าเกษตรกรรมประเภทประเภทปศุสัตว์มีต้นทุนผันแปรซึ่งคิดเป็นร้อยละของต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อตัวเกินกว่า 90% ขึ้นไป โดยมีค่าวัสดุเป็นรายการที่มีค่าสูงสุด ค่าวัสดุที่สำคัญ ได้แก่ ค่าพันธุ์ ค่าอาหาร และอาหารเสริม 3. โครงสร้างต้นทุนสำหรับสินค้าเกษตรกรรมประเภทประมงมีต้นทุนผันแปรซึ่งคิดเป็นร้อยละของต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อกิโลกรัมอยู่ระหว่าง 71.24% - 97.23% โดยมีค่าวัสดุเป็นส่วนสำคัญของต้นทุนผันแปรซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 30.66%-82.48% ของต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อกิโลกรัม สำหรับต้นทุนคงที่จะมีช่วงของต้นทุนที่เกิดอยู่ระหว่างกลางของสินค้าเกษตรกรรมประเภทกสิกรรมและประเภทปศุสัตว์ นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการประยุกต์โครงสร้างต้นทุนสำหรับสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ 1. กรณีที่ทราบข้อมูลรายละเอียดต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย (ไร่ ตัว หรือกิโลกรัม แล้วแต่กรณี) จะสามารถคำนวณต้นทุนคิดเป็นร้อยละของรายได้ต่อหน่วยได้ ซึ่งจะทำให้ทราบว่า ณ ระดับราคาขายที่ตลาดกำหนดนั้นเกษตรกรหรือผู้ผลิตจะมีอัตรากำไรต่อหน่วยเท่าใด จะมีรายละเอียดต้นทุนต่ำกว่ารายได้ในอัตราใดบ้าง หากผู้ใช้สามารถจะควบคุมต้นทุนแต่ละชนิดในโครงสร้างต้นทุนได้ก็จะทำให้กำไรสูงขึ้น 2. ต้นทุนที่เกษตรกรไม่ทราบข้อมูลต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย เกษตรกรสามารถใช้โครงสร้างต้นทุนที่ได้จากการวิจัยประกอบกับราคาขายที่กำหนดโดยตลาด คำนวณหาต้นทุนสูงสุดโดยประมาณเฉลี่ยต่อหน่วยที่จะไม่ขาดทุนได้ นั่นคือคำนวณหาโดยกำหนดให้ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อหน่วยเท่ากับราคาขายที่กำหนดพอดี จากการที่เกษตรการสามารถประหยัดต้นทุนลงมาจากต้นทุนที่สูงสุดในส่วนใดได้นั้นคือผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับ
Other Abstract: Cost structural models for exported agricultural products are prepared to be cost-data base using in commodity business. This cost-data base will help entrepreneurs evaluate potential gain or loss that can be obtained at the negotiated price. The reason that the researchers are interested in this topic is that the Ministry of Commerce allowed business to operate in foreigh commodity markets. Wrong decision making because of lacking relevant information will affect the economy of the country as a whole. Speculators in this type of business are usually found. The researchers also aim at providing cost information to agriculturists in order to be used in production planning and cost control. Twenty items of exported agricultural products are randomly selected from the first fifty ones in order to study their cost structures which can be concluded as follows: 1. For agricultural products, costs are mostly of variable type. These variables costs are between 53.77%-96.07% of the total cost per rai. Labor cost is the highest value within these variable costs. Labor cost involving plantation is higher than labor cost involving cultivation. The second highest value within the variable costs is the plantation utilities whereas fertilizer is the highest one. 2. For fishery products, variable costs are greater than 90% of the total cost per unit. The highest value within these variable cost is utilities, wheare as breed, food, and nutrition are significance. 3. For livestock products, variable costs are between 71.24%-97.23% of the total cost per kilogram Utilities being the highest value within variable costs are between 30.66%-82.48% of the total cost per kilogram, Fixed costs for livestock products are in between those for agricultural and fishery ones. The researchers also propose guideline to apply cost structural models obtained which are as follows: 1. In case of knowing the detail of cost data per unit, this cost per unit can be converted relatively to setting price. Agriculturists can determine profit percentage as well as percentage of each cost category being under determined price. Controllable of each cost category will improve profit. 2. In case of lacking cost data per unit, agriculturists can use cost structural models obtained from this research coupling with setting price to determine the highest total cost per unit which will not getting loss. Curtailing cost from any categories from the one calculated will be the profit obtain.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/616
Type: Technical Report
Appears in Collections:Acctn - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanpen_coststructural.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.