Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62380
Title: การมอบอำนาจนิติบัญญัติให้ฝ่ายบริหาร
Other Titles: Delegation of Legislative Power
Authors: วราภรณ์ ปิยะมงคลวงศ์
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: borwornsak.u@chula.ac.th
Subjects: กฎหมายปกครอง
นิติบัญญัติ -- การมอบอำนาจ
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การยอมรับหลักการการมอบอำนาจนิติบัญญัติให้ฝ่ายบริหารโดยเหตุผลของความจำเป็นทางสภาพการณ์ต่างๆ ทำให้ฝ่ายบริหารอาศัยอำนาจในการออกอนุบัญญัติเป็นเครื่องมือบริหารประเทศเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500-ปัจจุบัน อนุบัญญัติของไทยมีเป็นจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นแปดพันฉบับ จำนวนอนุบัญญัติเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งฝ่ายบริหารก็ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีนโยบายที่จะปรับปรุงแก้ไขอนุบัญญัติต่างๆ ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่หก พ.ศ. 2530-2534 และจากความสำคัญนี้เอง จึงทำให้การศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น จากการศึกษาวิเคราะห์แนวปฏิบัติการมอบอำนาจนิติบัญญัติให้ฝ่ายบริหารของไทย ปรากฏว่าองค์กรนิติบัญญัติได้มอบอำนาจในการออกอนุบัญญัติให้แก่ฝ่ายบริหารในลักษณะ วิธีการ และขอบเขตที่แตกต่างกันตามพระราชบัญญัติต่างๆ พระราชบัญญัติสองฉบับที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน อาจมีบทบัญญัติที่มอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกอนุบัญญัติที่แตกต่างกัน ลักษณะ วิธีการ และขอบเขตของการมอบอำนาจนิติบัญญัติมีตั้งแต่จำกัดมากจนกระทั่งไม่จำกัดขอบเขต เมื่อองค์กรนิติบัญญัติมอบอำนาจในการออกอนุบัญญัติให้ฝ่ายบริหารแล้วจะไม่เข้ามาควบคุมดูแลการออกอนุบัญญัติของฝ่ายบริหารโดยตรง แต่ควบคุมคุ้มครองโดยการกำหนดกระบวนการออกอนุบัญญัติ เช่น การปรึกษาหารือ การให้ความเห็นชอบ และการไต่สวน เป็นต้น ส่วนการควบคุมภายหลังที่อนุบัญญัติได้ประกาศใช้บังคีบแล้วนั้นเป็นหน้าที่ของศาลที่จะพิจารณาพิพากษาโดยอาศัยหลัก "เกินอำนาจ (ultra vires)" จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติที่มีการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกอนุบัญญัติอย่างกว้างขวางเป็นการเหมาะสมสำหรับกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนที่ฝ่ายบริหารจำต้องได้รับมอบอำนาจเช่นนั้น แต่ในกรณีปกติการมอบอำนาจนิติบัญญัติให้ฝ่ายบริหารน่าจะเป็นเรื่องที่จะต้องจำกัดเฉพาะสาระทางรายละเอียด เทคนิค หรือ การบริหาร การคุ้มครองประชาชนจากการออกอนุบัญญัติของฝ่ายบริหารโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมก็อาจเป็นไปในการกำหนดกระบวนการออกอนุบัญญัติของฝ่ายบริหารไว้ ซึ่งกระบวนการออกอนุบัญญัติดังกล่าวอาจกำหนดเป็นพระราชบัญญัติเพียงฉบับเดียวเป็นหลักทั่วไปโดยเฉพาะทำนองเดียวกับที่ประเทศสหราชอาณาจักรใช้อยู่ และมีข้อสังเกตว่า วิธีการดังกล่าวเป็นการควบคุมการออกอนุบัญญัติก่อนการเกิดคดีขึ้นชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อศาลในการพิจารณาพิพากษาอนุบัญญัติว่าได้ดำเนินการออกอนุบัญญัติตามกระบวนการดังกล่าวหรือไม่ อันเป็นการควบคุมภายหลังเกิดคดีขึ้นแล้วด้วย
Other Abstract: Delegation of legislative power is accepted as part of executive practice. It leads to the enactment of many statutory instruments as tools for administering the country. From 1956 until now there have been more than ten thousand statutory instruments in Thailand. This mass of delegated legislation has affected increasingly the welfare of the population. For this reason, the executive has taken into account the need to reform certain statutory instruments in the Sixth National Economic and Social Development Plan 1987-1991. This is also an important factor leading to this research. Analysis of the practice concerning delegated legislation in Thai executive circles suggests that the legislative organ has conferred power upon the executive to enact various kinds of statutory instruments pursuant to two types of Statutes, i.e. those conferring limited power and those conferring unlimited power. Once the legislature has conferred the power of delegated legislation upon the executive, it will not intervene directly to supervise the exercise of such power. However, it does oversee the mechanisms for enacting these instruments, e.g. by means of consultation, consent and scrutiny. After enactment, there is also the possibility of impugning statutory instruments through judicial control based upon the principle of "ultra vires". It is evident that law conferring broad discretion upon the executive to enact statutory instruments are particularly suitable in times of emergency requiring prompt executive action. However, under ordinary circumstances, it is necessary to restrict the transfer of legislative power to the executive, whether with reference to details, techniques or other modes of executive action. Protection of citizens against executive abuses and injustices in enacting statutory instruments may be provided by establishing mechanisms to control these instruments, such as by means of an all embracing law as in the United Kingdom. This law is directed at a priori scrutiny of delegated legislation with emphasis on judicial examination of the statutory instruments concerned and the steps leading to their enactment. Moreover, post facto measures to question these instruments are available.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62380
ISBN: 9745689084
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_pi_front_p.pdf10.98 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch1_p.pdf12.76 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch2_p.pdf91.5 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch3_p.pdf35.69 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch4_p.pdf58.1 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch5_p.pdf46.06 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch6_p.pdf26.47 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch7_p.pdf25.63 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch8_p.pdf38.35 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_ch9_p.pdf23.76 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_pi_back_p.pdf16.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.