Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62913
Title: การพัฒนาวงจรเข้ารหัสดิจิตอลจากสัญญาณเสียง
Other Titles: Development or digital encoder from voice signal
Authors: สุพงศ์ เภกะนันทน์
Advisors: สมชาย ทยานยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การประมวลผลข้อมูล
วงจรคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสร้างวงจรเข้ารหัสดิจิตอลจากสัญญาณเสียง เป็นลักษณะของการสร้างระบบ ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล และหน่วยแสดงผลข้อมูล วงจรที่สร้างขึ้นแบ่งออกเป็นสองภาค คือ วงจรภาคสัญญาณเสียง เป็นหน่วยรับข้อมูลเสียง ทำหน้าที่แยกวิเคราะห์สัญญาณตามความถี่ แล้วเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล วงจรคอมพิวเตอร์เป็นหน่วยควบคุม ประมวลผล และแสดงผล ทำหน้าที่ควบคุมการสุ่มข้อมูลเสียงจากวงจรภาคสัญญาณเสียง รับข้อมูล ประมวลผล เพื่อสร้างต้นแบบอ้างอิงของเสียงพูดแต่ละคำ เปรียบเทียบเสียงที่ไม่ทราบความหมายกับต้นแบบอ้างอิง แล้วตัดสินใจเลือกความหมายรวมทั้งแสดงผล การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบจดจำคำพูด โดยได้หาทางวิเคราะห์ชี้แนวทางปัญหาและข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นแนวทางไปสู่การพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถให้กับคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารกับมนุษย์ให้ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้การประยุกต์นำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง จากผลการวิจัยพบว่า สำหรับการนับศูนย์ถึงเก้าของภาษาไทยทุกคำสามารถจำได้โดยไม่มีปัญหา ยกเว้น หนึ่ง สอง และสี่ ซึ่งยังมีปัญหาในทางปฏิบัติทำให้ผู้พูดจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ในระบบที่ออกแบบมาเพื่อการวิจัยนี้พบว่าถ้าใช้การพูดศูนย์ ถึงเก้า ตามธรรมดาแล้ว จะได้ผลลัพห์ถูกต้อง ร้อยละ 60 และถ้าผู้ใช้ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษจะสามารถจำได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90
Other Abstract: The construction of digital encoder from voice signal is a construction of computerized processing system which is composed of input unit, processing unit and output unit. The encoder circuit is divided into two parts, audio circuit, which receives voice signal and analyzes it by frequencies then converts results to digital data, and computer circuit, as a control, a processor and a display, the functions of which are controlling the sampling of voice data from audio circuit, accepting the data and process to build reference pattern for each speech, comparing unknown voice pattern with those reference, then selecting suitable meaning and displaying results. This research, Which partially concerns with automatic speech recognition system, gives some basic idea about acoustic analysis together with problems and recommendations for future works which can be used to increase the ability of computer system for more convenience in communication with human being and which will result in more widely use of computer. The result of this work is that, in recognition of Thai vocabularies 0-9, most of the vocabularies can be recognized easily by the system except 1, 2 and 4. The problem is that, in practical use, the speaker is needed to be more careful in pronunciation. For normal pronunciation of 0 – 9, the results are more than 60 percents correct and more than 90 percents correct with trained speaker.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62913
ISBN: 9745624802
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supong_pe_front_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Supong_pe_ch1_p.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Supong_pe_ch2_p.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Supong_pe_ch3_p.pdf6.32 MBAdobe PDFView/Open
Supong_pe_ch4_p.pdf7.92 MBAdobe PDFView/Open
Supong_pe_ch5_p.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Supong_pe_back_p.pdf24.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.