Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62936
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก ของสตรีในจังหวัดอ่างทองที่ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูก
Other Titles: Factors affecting knowledge and beliefs about cervical uteri carcinoma of women in Ang Thong Province who request pap amear
Authors: สุพรรณี ขำละม้าย
Advisors: เพ็ญพร ธีระสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สตรี
ปากมดลูก -- มะเร็ง
Women
Cervix uteri -- Cancer
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังของสตรีที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติเปรียบเทียบกับสตรีที่ตรวจไม่พบเซลล์ผิดปกติ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว ตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้คือสตรีในจังหวัดอ่างทองที่ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกในช่วง 5 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2537 จำนวน 559 ราย การศึกษาภูมิหลังของสตรีที่ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกพบว่าสตรีที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติมีภูมิหลังด้านต่าง ๆ แตกต่างกับสตรีที่ตรวจไม่พบเซลล์ผิดปกติตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เป็นส่วนใหญ่ คือ ภูมิหลังด้านอายุ ด้านการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ด้านการตั้งครรภ์ครั้งแรก ด้านระยะเวลาสมรส ด้านจำนวนบุตร ด้านรายได้ ด้านการศึกษา ด้านการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกโดยไม่มีอาการผิดปกติ ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และด้านความเชื่อเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกโดยการวิเคราะห์การจำแนกพหุตัวแปรอิสระ 4 ตัว คือ อาชีพ รายได้ การศึกษา และการได้รับข้อมูลข่าวสาร และมีตัวแปรผันร่วม 3 ตัว คือ อายุ จำนวนบุตร และการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกโดยไม่มีอาการผิดปกติ เมื่อควบคุมตัวแปรอิสระตัวอื่น ๆ และตัวแปรผันร่วมแล้ว พบว่ารายได้มีผลต่อความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสตรีที่ตรวจไม่พบเซลล์ผิดปกติพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวมีผลต่อความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำกรับการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกโดยการวิเคราะห์การจำแนกพหุได้ใช้ตัวแปรอิสระและตัวแปรผันร่วมชุดเดียวกันกับการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก เมื่อควบคุมตัวแปรอิสระตัวอื่นๆ และตัวแปรผันร่วมแล้ว พบว่าการศึกษามีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสตรีที่ตรวจไม่พบเซลล์ผิดปกติพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวมีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: This research aims to study background characteristics of women who received characteristics of women who received Pap smear screening and to examine factors affecting their knowledge and beliefs about cervical uteri carcinoma. Data were collected from 559 women in Ang Thong province who received PAP smear screening during 1990 and 1994. As hypothesized, women with abnormal cells differed cells differed from those with normal cells in the following characteristics: age, experience in first sexual relations, first pregnancy, duration of marriage, number of children, income, education, and request for Pap smear screening with no symptoms, knowledge about cervical uteri carcinoma, and beliefs about cervical uteri carcinoma. In examining factors affecting knowledge and beliefs about cervical uteri carcinoma of these two groups of women, four independent variables were included, namely, occupation, income, education, and media exposure. Three other variables, age number of children, and request for Pap smear screening with no symptoms, were also included as covariates. When all other independent variables and covariates were controlled for, the only independent variable that significantly influenced knowledge about cervical uteri carcinoma of women with abnormal cells was income, whereas all four independent variables significantly influenced the knowledge of those with normal cells. The only independent variable that significantly influenced beliefs about cervical uteri carcinoma of women with abnormal cells, when all other independent variables and covariates were controlled for, was education, whereas all four independent variables significantly influenced beliefs of those with normal cells.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62936
ISBN: 9746348116
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supunnee_ku_front_p.pdf6.98 MBAdobe PDFView/Open
Supunnee_ku_ch1_p.pdf24.39 MBAdobe PDFView/Open
Supunnee_ku_ch2_p.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open
Supunnee_ku_ch3_p.pdf45.49 MBAdobe PDFView/Open
Supunnee_ku_ch4_p.pdf11.88 MBAdobe PDFView/Open
Supunnee_ku_back_p.pdf13.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.