Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62979
Title: ปัจจัยทางจิตวิทยากับผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ
Other Titles: Psychological Factors And Outcomes Of The Elders’ Online Social Network Usage
Authors: ชานนท์ ศิริธร
Advisors: ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาลักษณะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ 2.) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาทั้งภายในและภายนอกกับผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ 3.) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยทางจิตวิทยาภายใน ปัจจัยทางจิตวิทยาภายนอก และการรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรม และ 4.) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในชีวิต ระหว่างผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับมากกับผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับน้อย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น 25 คน จากนั้นทำการวิจัยเชิงสำรวจกับผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับมาก และผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับน้อย รวมทั้งสิ้น 730 คน ซึ่งทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้สูงอายุตัดสินใจใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์เนื่องจากแรงกระตุ้นจากเพื่อน ลูกหลาน และบุคคลที่ชื่นชอบ โดยจะใช้งานใน 4 ลักษณะ ได้แก่ ใช้สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ใช้หาข้อมูลข่าวสาร ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก และใช้สร้างความภูมิใจในตน โดยปัจจัยที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างผู้สูงอายุที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์กับผู้ที่ไม่ได้ใช้งานคือ การรับรู้ความสามารถของตน (Self-efficacy) นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดการสร้างเสริมพลังในตนเอง (Self-Empowerment) โดยเฉพาะในการหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเรียนรู้การดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น นำมาซึ่งการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในชีวิต ส่วนในการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุมากที่สุดคือ ปัจจัยทางจิตวิทยาภายในตัวผู้สูงอายุ (Adjust R2 = .325) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 32.5 ถัดมาคือ ปัจจัยทางจิตวิทยาภายนอกตัวผู้สูงอายุ (Adjust R2 = .313) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 31.3 และคุณลักษณะของนวัตกรรม (Adjust R2 = .187) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 18.7 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of  this research were 1) to study the characteristics of the elders’ online social network usage. 2) to study internally and externally psychological factors and outcomes of the elders’ online social network usage. 3) to compare internally psychological factors, externally psychological factors and perceived innovation characteristics. 4) to compare self-esteem and life satisfaction between elderly persons who have a high intensity in using online social network with elderly persons who have a low intensity. Participants were both gender of elderly persons aged 60 years and above. In qualitative research, conducted in-depth interviews with 25 elders. In quantitative research, conducted survey research with 730 elders in Bangkok. Results of qualitative research showed that elderly persons decided to use online social network due to motivation from their friends, relatives and celebrities, in 4 types of characterization which are to build relationship with others, to search for information, to express emotion, and to create their self-esteem. The different factor between elders who used online social network and those who did not was the self-efficacy. Moreover, the used of online social network encouraged elders to build self-empowerment, especially to find health information which results in elders prepared to self-sufficient and promote self-esteem and life satisfaction. Results of quantitative research showed that the most effective variable in forecasting the elders’ online social network usage was internally psychological factors (Adjust R2 = .325), followed by externally psychological factors (Adjust R2 = .313), and innovation characteristics (Adjust R2 = .187) respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62979
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.832
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.832
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785101828.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.