Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63019
Title: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายในวัยรุ่นไทย และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างเพศ
Other Titles: A Development Of The Causal Models Of Thaiadolescent Healthy Eating/Exercise And A Studyof Model Invariance Across Gender
Authors: นภัษ ลิ่มอรุณ
Advisors: เรวดี วัฒฑกโกศล
พรรณระพี สุทธิวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Rewadee.W@Chula.ac.th
Panrapee.S@Chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมสุขภาพในวัยรุ่น
จิตวิทยาวัยรุ่น
Health behavior in adolescence
Adolescent psychology
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นไทย แบ่งออกเป็น 2 พฤติกรรม คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกาย (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลขยายเปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลใน 2 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงส่งผลโดยตรงกับพฤติกรรม และทางเลือกที่ 2 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงส่งผลต่อพฤติกรรมผ่านตัวแปรการรับรู้ 5 ตัวแปร (ได้แก่ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเอง) และ (3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คน (ชาย 600 คน หญิง 600 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและมาตรวัดที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีความเชื่อทางสุขภาพ (Health Belief Model) ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายของวัยรุ่นไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) โมเดลทางเลือกที่ 2 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงเป็นตัวแปรต้น ส่งผลต่อพฤติกรรมผ่านตัวแปรการรับรู้ 5 ตัวแปร ซึ่งเป็นโมเดลทางเลือกที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มากกว่าโมเดลทางเลือกที่ 1 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทั้ง 2 พฤติกรรม มีความแตกต่างระหว่างเพศ คือ 3.1 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า ตัวแปรต้นและตัวแปรส่งผ่าน 5 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความตั้งใจในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในวัยรุ่นชายคิดเป็นร้อยละ 37.9 และคิดเป็นร้อยละ 32.6 สำหรับวัยรุ่นหญิง 3.2 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า ตัวแปรต้นและตัวแปรส่งผ่าน 5 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความตั้งใจในการออกกำลังกายในวัยรุ่นชาย คิดเป็นร้อยละ 45.5 และคิดเป็นร้อยละ 44.2 สำหรับวัยรุ่นหญิง  
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to develop and validate a causal model of healthy eating behavior, and a causal model of exercise behavior in Thai adolescents (2) to develop and validate the two alternative models for each behavior, which were model 1: the cues to action had a direct effect on behavior, and model 2: the cues to action had an indirect effect on behavior through five mediating variables (i.e., perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, and perceived self-efficacy), and (3) to examine the invariance of the best fitted models across gender. Participants were 1,200 high school students (600males and 600 females). Based on the Health Belief Model, the questionnaires were developed for data collection. The research findings were as follows: 1. The causal models of healthy eating behavior and exercise behavior fitted to the empirical data. 2. The alternative model 2 fitted better to the empirical data than model 1. 3. The causal models of healthy eating behavior and exercise behavior varied across gender. 3.1 For the healthy eating behavior models, findings revealed that the cues to action and the five mediating variables were accounting for 37.9% of the variance of healthy eating behavior for the male model, and 32.6% for the female model. 3.2 For the exercise behavior models, findings showed that the cues to action and the five mediating variables were accounting for 45.5% of the variance of exercise behavior for the male model, and 44.2% for the female model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63019
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.747
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.747
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977904338.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.