Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63061
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมการชักในผู้ป่วยลมชักที่ดื้อยา
Other Titles: Factors affecting seizure control in patients with drug resistant epilepsy
Authors: จิณัชชา สมสิทธิ์
Advisors: ธิติมา วัฒนวิจิตรกุล
ชูศักดิ์ ลิโมทัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Thitima.Wa@Chula.ac.th
Chusak.L@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันผู้ป่วยโรคลมชักส่วนใหญ่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยากันชัก แต่มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาหรือคือเกิดภาวะดื้อยา การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่อาจมีผลต่อการควบคุมอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา ตลอดจนศึกษาคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยาที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่มารับการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 24 เดือน ณ คลินิกโรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก (QOLIE-31) ฉบับภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา 161 รายที่เข้าร่วมการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 95 คน (ร้อยละ 59) อายุเฉลี่ย 39.9±10.3 ปี มีระยะเวลาการเป็นโรคลมชัก 25.7±10.9 ปี เมื่อวิเคราะห์แบบพหุตัวแปรพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมอาการชัก คือ จำนวนยากันชักที่เคยได้รับและการได้รับการผ่าตัด โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีจำนวนยากันชักที่เคยได้รับตั้งแต่ 4 รายการขึ้นไป สามารถควบคุมอาการชักได้น้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีจำนวนยากันชักที่เคยได้รับน้อยกว่า 4 รายการ (OR=0.111, 95% CI 0.030-0.412) และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสามารถควบคุมการชักได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัด (OR=5.668, 95% CI 2.704–11.879) คะแนนรวมเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยามีค่า 70.6±13.4 คะแนน จากแบบประเมินคุณภาพชีวิต 31 ข้อ ข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยากันชักในระยะยาว (49 คะแนนจาก 100 คะแนน) สรุป จำนวนยากันชักที่เคยได้รับและการได้รับการผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับการควบคุมการชักในระยะ 1 ปีในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา การดูแลผู้ป่วยควรเพิ่มการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยากันชัก เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    
Other Abstract: Antiepileptic drugs (AEDs) are mainstay in seizure control. However, there is a significant proportion of patients who do not respond to AEDs or patients with drug resistant epilepsy. This cross-sectional study aimed to identify factors affecting seizure control in patients with drug resistant epilepsy and to evaluate quality of life in this group of patients using the Thai version of the quality-of-life in epilepsy inventory (QOLIE-31-Thai version). A total of 161 drug-resistant epileptic patients aged 18 and above who had been followed up at the epilepsy clinic in King Chulalongkorn Memorial Hospital for at least 24 months were included in this study. Pertinent clinical information were extracted from medical records. Majority of the patients was women (n=95, 59%). The average age was 39.3±10.3 years old and the average duration of treatment with AEDs was 25.7±10.9 years. Multivariate analysis revealed that factors associated with seizure control in patients with drug resistant epilepsy were number of past ineffective AEDs and history of epilepsy surgery. Patients who had ≥4 past ineffective AEDs had worse seizure control than those who had <4 past ineffective AEDs (OR=0.111, 95% CI 0.030-0.412). Patients with history of epilepsy surgery were better seizure control than those who without (OR=5.668, 95% CI 2.704–11.879). The average overall QOL score using QOLIE-31-Thai version was 70.6±13.4. The lowest-scoring question was the item concerning long-term negative medication effects (average score = 49/100).   In conclusion, the main factors associated with seizure control in patients with drug resistant epilepsy were the number of past ineffective AEDs and history of epilepsy surgery. Healthcare providers should provide patients with appropriate education about adverse drug reactions of AEDs to improve patients’ quality of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63061
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.91
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.91
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5776107133.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.