Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63272
Title: การพัฒนาอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว
Other Titles: The development of fall protection exercise equipment for elderly with balance problem
Authors: จาริณี จิระพันธุ์
Advisors: ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
ปราณีต เพ็ญศรี
พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chaipat.L@Chula.ac.th
Praneet.P@Chula.ac.th
Pakpachong.V@Chula.ac.th
Subjects: การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ -- เครื่องมือและอุปกรณ์
การหกล้มในผู้สูงอายุ
การออกกำลังกาย -- เครื่องมือและอุปกรณ์
Exercise for older people -- Equipment and supplies
Falls (Accidents) in old age
Exercise -- Equipment and supplies
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว สำหรับใช้ร่วมกับโปรแกรมฝึกการทรงตัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยศึกษาในอาสาสมัครหญิง อายุระหว่าง 70-85 ปี ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่างอยู่ในระดับ 2+ ถึง 3+ จำนวน 26 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 13 คน ได้แก่ กลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ฝึกการทรงตัวด้วยโปรแกรมฝึกการทรงตัวร่วมกับอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว อายุเฉลี่ย 75 ปี และกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ฝึกการทรงตัวด้วยโปรแกรมฝึกการทรงตัวเพียงอย่างเดียว อายุเฉลี่ย 76 ปี ซึ่งได้ฝึกการทรงตัวร่วมกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที จากนั้นเปรียบเทียบกรณีกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน ด้วยการทดสอบค่าทีใน 12 การทดสอบ ได้แก่ ความสามารถในการทรงตัวแบบอยู่กับที่ ทดสอบด้วยอุปกรณ์ ไบโอเด็กซ์ บาลานซ์ ซีสเต็ม (ทดสอบการทำงานประสานกันของระบบรับความรู้สึกและการทรงตัวทางคลินิค 3 การทดสอบ ความสามารถในการควบคุมการทรงตัว 3 การทดสอบ และความเสี่ยงในการล้ม 1 การทดสอบ) ความสามารถในการทรงตัวแบบเคลื่อนที่ทดสอบด้วย การลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับ 8 ฟุต ภาวะกลัวการล้มทดสอบด้วยแบบทดสอบภาวะกลัวการล้มสำหรับผู้สูงอายุไทย ความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันทดสอบด้วยแบบบาร์ทัล เอดีแอล ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่างทดสอบด้วยการทดสอบลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที และความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวทดสอบด้วยถุงลมวัดความดัน พบว่า ค่าเฉลี่ยของทุกการทดสอบในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบแยกรายกลุ่ม ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อวัดซ้ำพบว่า กลุ่มทดลองมีผลการทดสอบ ความสามารถในการควบคุมการทรงตัวแบบหน้า-หลัง การลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับ 8 ฟุต การทดสอบภาวะกลัวการล้ม การทดสอบลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที และการทดสอบด้วยถุงลมวัดความดัน พัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กลุ่มควบคุมมีผลการทดสอบ ความสามารถในการควบคุมการทรงตัวแบบด้านข้าง ความสามารถในการควบคุมการทรงตัวภาพรวม การลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับ 8 ฟุต การทดสอบภาวะกลัวการล้ม การทดสอบลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที และการทดสอบด้วยถุงลมวัดความดัน พัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการฝึกการทรงตัวด้วยโปรแกรมฝึกการทรงตัวที่ผู้วิจัยออกแบบขึ้น ช่วยพัฒนาสมรรถนะการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว อีกทั้งการนำอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัวมาใช้ร่วมกับโปรแกรมฝึกการทรงตัวนั้น มีแนวโน้มช่วยส่งเสริมสมรรถนะการทรงตัวให้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการล้มขณะฝึกการทรงตัวได้ดี มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ในการทำธุรกิจอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว ร่วมกับโปรแกรมฝึกการทรงตัวที่พัฒนาขึ้น โดยใช้เงินลงทุน 1,800,000 บาท มีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 4,739,498 บาท คืนทุนในเวลา 3 ปี 5 เดือน ผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 37
Other Abstract: This thesis is intended to develop the fall protection exercise equipment for elderly with balance problem to use together with the balance training program developed by the researcher. Twenty-six females age 70-85 years old with balance problems and moderate lower extremity muscular strength, grade 2+ to 3+, without prior Tai Chi training volunteered for the study. The participants were divided into 2 groups: the experimental group of 13 people, average age of 75 years, practiced the balance training program with the fall protection exercise equipment for elderly with balance problems and the control group of 13 people, average age of 76 years, only practiced the balance training program. These two groups practiced balancing together for 12 weeks, 3 days per week and 45 minutes each time. The balance training results between the 2 groups were compared with independent statistics t-test in 12 tests: the static balance test by Biodex Balance System (3 tests of m-CTBIS, 3 tests of Postural Stability, and 1 test of Fall Risk), 1 dynamic balance test (8-feet timed up and go), 1 fear of falling assessment, 1 ability to carry out daily routine test (Barthel ADL assessment) and 2 muscle strengthening tests (30-second chair stand test and Pressure Biofeedback Unit Test). The average of all test results in the experimental group and the control group were not different in pre-test, mid-test, and post-test. When comparing results in each group between pre-test, mid-test, and post-test with ANOVA Repeated Measurement, it was found that The experimental group improved significantly (P<0.05) with Postural Stability: Anterior/Posterior, 8-feet timed up and go test, fear of falling assessment, 30-second chair stand test and Pressure Biofeedback Unit test. The control group improved significantly (P<0.05) with Postural Stability: Medium Lateral, Postural Stability: Overall, 8-feet timed up and go test, fear of falling assessment, 30-second chair stand test and Pressure Biofeedback Unit test. The results of the study showed that the balance training program designed by the researcher helps elderly to develop better balance performance, lower extremity muscle strength and core body muscle strength. Using the fall protection exercise equipment together with the balance training program has a tendency to help improve balance performance and reduce the risk of falling during balance practices as well. The commercialization of the innovated balance training program and the fall protection exercise equipment for elderly with balance problem is proved to be feasible with the investment of 1,800,000 Baht, the net present value of 4,739,498 Baht, the payback period of 3 year 5 months, and the internal rate of return of 37 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63272
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.800
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.800
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687758420.pdf14.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.