Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63325
Title: การพัฒนารูปแบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้การเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Development Of Computer Supported Collaborative Learning Model Using Problem-Based Learning And Synthetics Technique To Enhance Undergraduate Students’ Innovative Capability
Authors: โกศวัต รัตโนทยานนท์
Advisors: ประกอบ กรณีกิจ
เนาวนิตย์ สงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Prakob.K@Chula.ac.th
Noawanit.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพของนิสิต นักศึกษาด้านความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต สภาพการเรียนการสอนในปัจจุบันและสภาพที่มุ่งหวัง 2) เพื่อสร้างรูปแบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้การเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบ ตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐบาลและเอกชนจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิต/นักศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตและสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2) แบบประเมินโดยใช้เกณฑ์ประเมินความสามารถทางนวัตกรรมแบบรูบริค 3) แบบประเมินรับรองรูปแบบ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนจากรูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันฯ และ 2) เกณฑ์วัดและประเมินความสามารถทางนวัตกรรมแบบรูบริค ใช้ระยะเวลาทดลอง 8 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์ค่า ANOVA รูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures Designs)  ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  1. รูปแบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้การเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิธีการเรียนการสอน 2) เนื้อหา 3) แหล่งทรัพยากรเรียนรู้ 4) การวัดและประเมิน 5) ผู้อำนวยความสะดวก 6) เครื่องมือคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและสื่อ โดยมี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรับรู้และให้คำนิยามของปัญหา 2) การวิเคราะห์ 3) การอภิปราย 4) การกำหนดแนวทางแก้ปัญหา 5) การค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูล 6) การแก้ปัญหา 7) การแบ่งปัน และ 8) การวัดและประเมินผล  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางนวัตกรรมหลังการใช้รูปแบบในรอบที่สองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้รูปแบบรอบที่หนึ่งและก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3. ผลสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้และความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมาก    4. ผู้เชี่ยวชาญให้การประเมินรับรองรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to study students’ current condition and their expectations, knowledge, computer and internet skill. 2) to develop computer supported collaborative learning model using problem-based learning and synectics technique to enhance undergraduate students’ innovative capability. 3) to try out the model 4) to propose the model. The samples were 7 experts, 400 undergraduate students from both public and private universities. The research instruments were 1) needs assessment survey 2) rubric evaluation criteria form 3) model evaluation form and 4) satisfactory evaluation form. 30 samples were undergraduate students. Research instruments were 1) computer supported collaborative learning system 2) rubric evaluation criteria for innovative capability. Experimental period lasted for 8 times. The data were analyzed by using frequency (%), mean, standard deviation and One-way ANOVA with repeated measures.The research result indicated that: 1. The computer supported collaborative learning model using problem-based learning and synectics technique to enhance undergraduate students’ innovative capability consisted of 5 components: 1) Instruction 2) Content 3) Learning resources 4) Assessment 5) Facilitator and 6) Computer Supported Collaborative Learning tools and media; with 8 steps as follows: 1) Identify and Define 2) Analyze 3) Discuss 4) Formulate 5) Collect 6) Solve 7) Share and 8) Evaluate. 2. The experimental result showed the second post-test score for innovative capability was higher than the first post-test score and pre-test score at the .05 level of significance. 3. The satisfactory results agreed that the model was appropriate at high level. 4. The model validation result by experts was appropriate at highest level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63325
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.582
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.582
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784202327.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.