Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63424
Title: อรรถประโยชน์ของสายวัดตรวจความต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าของหลอดอาหาร ควบคู่กับการวัดค่าความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร แบบตัววัดกรด 2 ตำแหน่งในผู้ป่วยโรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง
Other Titles: Utilities of esophageal dual pH sensors-impedance monitoring in patients with suspected laryngopharyngeal reflux (LPR).
Authors: พงศ์ธร หาญบุญคุณูปการ
Advisors: สุเทพ กลชาญวิทย์
ฐนิสา พัชรตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sutep.G@Chula.ac.th
Dr_Tanisa@Yahoo.com
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : ภาวะกรดไหลย้อนเข้าสู่กล่องเสียงเป็นภาวะที่ยากต่อการวินิจฉัยและมักมาแสดงอาการด้วยกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง สายวัดตรวจความต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าของหลอดอาหาร ควบคู่กับการวัดค่าความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร แบบตัววัดกรด 2 ตำแหน่งเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยภาวะนี้ และยังมีข้อมูลที่วัดได้ซึ่งยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอรรถประโยชน์ของสายวัดตรวจความต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าของหลอดอาหารควบคู่กับการวัดค่าความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร แบบตัววัดกรด 2 ตำแหน่ง  ในผู้ป่วยโรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรังที่สงสัยสาเหตุจากโรคกรดไหลย้อน วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยที่มีอาการรบกวนด้านหูคอจมูกนานกว่า 3 เดือนและรับการตรวจจากแพทย์โสต สอ นาสิก วิทยาแล้วไม่พบลักษณะความผิดปกติจำเพาะ  จะได้เข้ารับตรวจวัดความต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าของหลอดอาหารแบบตัววัดกรด2ตำแหน่ง    ผลการศึกษา: กลุ่มที่มีค่าการสัมผัสกรดมากกว่าค่าปกติมีค่าเฉลี่ยค่าพื้นฐานความต้านทานไฟฟ้าของเยื่อบุผิวที่ระดับ 3, 5 ซม ต่ำกว่ากลุ่มที่มีค่าการสัมผัสกรดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าพื้นฐานความต้านทานไฟฟ้าที่ระดับคอหอยและหลอดอาหารส่วนต้นมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราการไหลของน้ำลายที่ยังไม่ได้รับการกระตุ้น  สรุปผลวิจัย: สายวัดตรวจความต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าแบบตัววัดกรด 2 ตำแหน่งช่วยยืนยันการไหลย้อนของสารในหลอดอาหารที่ขึ้นสูงถึงคอหอยได้จึงอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะกรดไหลย้อนสู่กล่องเสียงได้  ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าในส่วนของเยื่อบุหลอดอาหารส่วนต้นและในส่วนบริเวณของคอหอยอาจมีความสำคัญในการต่อยอดงานวิจัยในอนาคตได้ อย่างไรก็ตามยังอาจมีปัจจัยอื่นนอกจากภาวะที่เกี่ยวเนื่องกับการไหลย้อนของกรดที่ยังไม่ได้รับการศึกษา  
Other Abstract: Background: Laryngopharyngitis (LPR) is one of suspected cause of chronic laryngitis. Esophageal impedance pH monitoring is one of diagnostic method. Aim: To study the utilities of dual pH sensors-impedance monitoring which can detect parameter of reflux and impedance changes up to the hypopharynx in patients with chronic laryngitis and suspected LPR from otolaryngologists. Method: Patients with ENT symptoms without specific ENT diseases and were suspected LPR underwent 24-H hypopharynx-esophageal pH impedance monitoring. 24-H tracings were analyzed and review. Results: Patients with pH positive had significantly lower MNBI at 3 and 5 cm from LES than patients with normal pH. MNBI at hypopharynx and proximal esophagus level are significantly correlated with unstimulated saliva flow rate. Conclusions: This research represents the utility of dual pH sensors-impedance monitoring which can detect parameter of reflux and impedance changes up to the hypopharynx and may use to assist in diagnosis in patients with suspected LPR. Future studies on the association between hypopharyngeal and proximal esophageal mucosal property and MNBI are warranted. However, other factors unrelated to reflux parameter might also have effect on MNBI.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63424
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1506
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1506
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074022730.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.