Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63471
Title: Effects of chitosan coating on postharvest quality and storage life of ‘Nam Dok Mai’ mango fruit
Other Titles: ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาผลมะม่วงน้ำดอกไม้
Authors: Pornchan Jongsri
Advisors: Kanogwan Seraypheap
Pranee Rojsitthisak
Teerada Wangsomboondee
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Kanogwan.K@Chula.ac.th
Pranee.l@chula.ac.th
Teerada.W@Chula.ac.th
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: ‘Nam Dok Mai’ mango (Mangifera indicaL. cv Nam Dok Mai) is an important exported fruit of Thailand. However, postharvest problems are the main problem which cause the reduction of fruit qualities during transportation and storage. Qualities of ‘Nam Dok Mai’ mango fruit were investigated after coating with high molecular weight chitosan (HM-CTS: 360 kDa), medium molecular weight chitosan (MM-CTS: 270 kDa) and low molecular weight chitosan (LM-CTS: 40 kDa). Our results demonstrated that HM-CTS had the best chitosan coating film properties by representing the thickest of coating film on mango peel (3.47±0.50 µm) and it completely covered mango surface. Stomata were not observed after coating hence reducing gas exchanges. Fruit coated with MM-CTS showed thinner film (1.29±0.45 µm) than HM-CTS while LM-CTS showed the least thickness of chitosan film among treatments. Stomata of LM-CTS fruit were detected on mango peel as same as uncoated fruit (control). Fruit coated with HM-CTS could delay respiration rate, ethylene production, weight loss, fruit softening and changes of physicochemical (TA and TSS) when compared with other treatments. Moreover, chitosan coated fruit exhibited high antioxidant contents by presenting high contents of ascorbic acid, DPPH inhibition, free flavonoids, high activities of catalase and ascorbate peroxidase and low content of H2O2. Furthermore, fruit coated with HM-CTS did not show any disease symptom until the end of storage life. Therefore, HM-CTS was the optimum treatment for using as fruit coating in ‘Nam Dok Mai’ mango after harvest. Combination of HM-CTS and spermidine (SPD) (0.1, 1 and 10 ppm) were applied on ‘Nam Dok Mai’ mango to evaluate the effect of SPD addition. HM-CTS alone and HM-CTS combined with 0.1 ppm SPD showed thicker chitosan film than HM-CTS combined with 1 and 10 ppm SPD (3.05±0.06 µm and 3.07±0.06 µm, respectively). Fruit coated with HM-CTS combined with 0.1 ppm SPD fully covered stomata on mango peel. Delayed respiration rate and ethylene production were obtained in fruit coated with HM-CTS combined with SPD. Fruit coated with HM-CTS combined with 0.1 ppm SPD also maintained fresh weight, fruit firmness, peel color and controlled disease development. Fruit softening usually occurs during ripening stage caused by increased cell wall degrading enzyme activities (polygalacturonase (PG) and pectin methyl esterase (PME)) and soluble pectin content. An addition of SPD resulted in lower soluble pectin content and PG and PME activities than control treatment (HM-CTS alone), especially fruit coated with HM-CTS combined with 0.1 ppm SPD showed the lowest values. In addition, endogenous SPD was induced in fruit coated with HM-CTS combined with 0.1 ppm SPD. Therefore, HM-CTS combined with 0.1 ppm SPD was the optimum coating for improving qualities of ‘Nam Dok Mai’ mango after harvest.
Other Abstract: มะม่วงน้ำดอกไม้ (Mangifera indicaL. cv Nam Dok Mai) เป็นผลไม้ส่งออกที่มีความสำคัญของประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวถือเป็นปัญหาหลักที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียคุณภาพของผลมะม่วงระหว่างเก็บรักษาและการขนส่ง การศึกษาคุณภาพของผล ‘มะม่วงน้ำดอกไม้’ หลังการเคลือบผิวมะม่วงด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูง (HM-CTS: 360 กิโลดาลตัน) ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลปานกลาง (MM-CTS: 270 กิโลดาลตัน) และไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (LM-CTS: 40 กิโลดาลตัน) พบว่า ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงแสดงประสิทธิภาพของฟิล์มไคโตซานที่ดีที่สุด โดยมีค่าความหนาของฟิล์มไคโตซานมากที่สุด (3.47±0.50 ไมโครเมตร) และฟิล์มปกคลุมผิวของผลมะม่วงได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ไม่ปรากฏปากใบบนผิวมะม่วงภายหลังการเคลือบผิวและลดการแลกเปลี่ยนแก๊สของผล ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลปานกลางมีค่าความหนาของฟิล์มไคโตซานที่น้อยกว่า (1.29±0.45 ไมโครเมตร) และไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลต่ำแสดงค่าความหนาของฟิล์มไคโตซานที่น้อยที่สุด และพบปากใบบนผิวมะม่วงเช่นเดียวกับผลมะม่วงที่ไม่ได้เคลือบผิวด้วยไคโตซาน (ชุดควบคุม) ผลที่มีการเคลือบผิวด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงยังสามารถชะลออัตราการหายใจ การผลิตเอทิลีน การนิ่มของผล และการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในผล (กรดและน้ำตาล) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองอื่น นอกจากนี้ ผลมะม่วงยังแสดงค่าการต้านอนุมูลอิสระที่สูงโดยแสดงปริมาณวิตามินซี ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ (DPPH inhibition) ปริมาณฟลาโวนอยด์ การทำงานของเอนไซม์คะตะเลสและแอสคอร์เบทเปอร์ออกซิเดส และปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ต่ำ ยิ่งไปกว่านี้ผลมะม่วงที่เคลือบผิวด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูง ไม่แสดงการเกิดโรคเลยจนกระทั่งสิ้นสุดอายุการเก็บรักษา ดังนั้น การเคลือบผิวมะม่วงด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงจึงเป็นชุดการทดลองที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้เคลือบผล ‘มะม่วงน้ำดอกไม้’ ภายหลังการเก็บเกี่ยว การเติมสเปอร์มิดีน (0.1 1 และ 10 ppm) ในไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูง เพื่อศึกษาผลของสเปอร์มิดีน พบว่า มะม่วงที่เคลือบผิวด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงเพียงอย่างเดียวและไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีน 0.1 ppm แสดงค่าความหนาของฟิล์มไคโตซานที่มากกว่าไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีน 1 และ 10 ppm (3.05±0.06 และ 3.07±0.06 ไมโครเมตร ตามลำดับ) ผลมะม่วงที่เคลือบด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีน 0.1 ppm สามารถปกคลุมปากใบบนผิวมะม่วง ผลมะม่วงที่เคลือบผิวด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีนสามารถชะลออัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีน และผลมะม่วงที่เคลือบผิวด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีน 0.1 ppm ยังสามารถคงน้ำหนักสด ความแน่นเนื้อ สีผิว และควบคุมการเจริญของเชื้อได้อีกด้วย โดยทั่วไป การนิ่มของผลเกิดขึ้นเมื่อผลสุกโดยการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายผนังเซลล์ (พอลิกาแลกทูโรเนส (PG) และเพกทินเมทิลเอสเตอร์เลส (PME)) และปริมาณของเพกทินที่ละลายในน้ำได้ที่เพิ่มขึ้น ผลมะม่วงที่เคลือบผิวด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีนมีปริมาณของเพกทินที่ละลายในน้ำได้ต่ำ และการทำงานของเอนไซม์ PG และ PME ต่ำกว่าชุดควบคุม (ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลมะม่วงที่เคลือบผิวด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีน 0.1 ppm มีค่าที่ต่ำที่สุด นอกจากนี้ ปริมาณสเปอร์มิดีนภายในผลยังถูกกระตุ้นให้เพิ่มขึ้นในผลมะม่วงที่เคลือบผิวด้วยไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีน 0.1 ppm ดังนั้น ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลสูงร่วมกับสเปอร์มิดีน 0.1 ppm เป็นสารเคลือบผิวที่เหมาะสมที่สุดในการคงคุณภาพของผล ‘มะม่วงน้ำดอกไม้’ภายหลังการเก็บเกี่ยว
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Botany
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63471
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572827423.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.