Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6421
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณิต วัฒนวิเชียร-
dc.contributor.authorจักรภพ นาคฤทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-01T08:12:59Z-
dc.date.available2008-04-01T08:12:59Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741741103-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6421-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อประเมินผลด้านพลังงานและผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตโดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้เอทานอล 95% ผสมกับน้ำมันดีเซลและเอทานอล 99.5% ผสมกับน้ำมันเดีเซล พิจารณาเฉพาะการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลในประเทศไทย วงจรชีวิตของเชื้อเพลิงแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการผลิตเชื้อเพลิง (FTT) ซึ่งสนใจขั้นตอนย่อย การผลิตอ้อย การผลิตน้ำตาล การผลิตเอทานอลและการขนส่งเชื้อเพลิงและวัตถุดิบซึ่งพิจารณาแบ่งตามภาคเป็นหลัก และขั้นตอนการใช้เชื้อเพลิงในรถยนต์ (TTW) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากข้อมูลในระดับทุติยภูมิที่มีการเก็บรวบรวมและเผยแพร่โดยหน่วยงานต่างๆ ซึ่งผู้ศึกษาได้ดำเนินการตรวจสอบกับข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลดำเนินการตามแนวทางที่ใช้ใน GREET Model และจากงานวิจัยอื่นในเรื่อง LCA ที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก จากผลการวิจัยภายใต้เงื่อนไขเทคโนโลยีการผลิตขณะทำการศึกษาพบว่า FTT energy efficiency ของดีโซฮอล 95% มีค่าสูงกว่าค่าของดีโซฮอล 99.5% ค่า FTW total energy use (kJ/km) ของดีโซฮอล 95% มีค่าต่ำกว่าค่าของดีโซฮอล 99.5% ในขณะที่ค่า TTW efficiency ของดีโซฮอล 95% มีค่าใกล้เคียงกับค่าของดีโซฮอล 99.5% ส่วนค่า FTT CO[subscript 2] equivalent GHG emissions (g/km) และค่า FTT emissions (g/km) ตัวอื่นๆ ของดีโซฮอล 95% มีค่าต่ำกว่าค่าของดีโซฮอล 99.5% เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนตลอดวัฏจักรชีวิตของเอทานอลพบว่าการผลิตเอทานอล 95% ต้องใช้พลังงานส่วนใหญ่ในขั้นตอนการกลั่นและการผลิตกากน้ำตาล ส่วนการผลิตเอทานอล 99.5% นั้น ต้องใช้พลังงานส่วนใหญ่ในขั้นตอนการกำจัดน้ำ การกลั่น และการผลิตกากน้ำตาล ตามลำดับ โดยการใช้พลังงานในขั้นตอนการทำไร่อ้อยมีปริมาณเล็กน้อยและพลังงานในขั้นตอนการขนส่งอ้อยและขั้นตอนการขนส่งกากน้ำตาลมีค่าน้อยมากเมื่อเที่ยบกับขั้นตอนอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงดีโซฮอลสำหรับท้องถิ่นนั้นๆ เท่านั้นen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to make an evaluation on life cycle energy and environmental impacts by comparing the use of diesel blends with 95% ethanol to the use of diesel blends with 99.5% ethanol. Ethanol. Ethanol production from molasses in Thailand is only considered. Fuel's life cycle is separated into 2 processes: one is the process of fuel production (FTT) mainly focusing production of sugarcane, production of sugar, production of ethanol and transportation of fuel and raw material following each regional zone and the other is fuel consumption (TTW) in automobile. The data in this research mostly are considered from the secondary source where all have been published by different agencies. Eventually, the researcher had examined those to the data from the field survey. The data analysis and evaluation pursued the guideline from GREET model and from other researches related LCA issue. From the consequences, it is found that FTT energy efficiency of diesohol 95% is higher than one of diesohol 99.5%, FTW total energy use (kJ/km) of diesohol 95% is lower than one of diesohol 99.5%, whereas TTW efficiency of diesohol 95% is approximate to one of diesohol 99.5%. Additionally, FTT CO[subscript 2] equivalent GHGs emission (g/km) and other FTT emissions (g/km) of diesohol 95% is lower than ones of diesohol 99.5%. Considering each process all over the life cycle of ethanol, it is discovered that in the production of 95% ethanol, most of energy is consumed in distillation process and molasses production whereas in the production of 99.5% ethanol, most of energy is exhausted in delydration, distillation process and molasses production. Moreover, the energy consumption in sugarcane farming, in the process of sugarcane and molasses transportation are very low as compared to another processes. This is the consequence from the development of local raw material use to produce the fuel for its area.en
dc.format.extent2002947 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำมันดีเซลen
dc.subjectเชื้อเพลิงen
dc.subjectพลังงานen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบวัฏจักรพลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตระหว่างการใช้ดีเซลผสมเอทานอลชนิด 95% และ 99.5% ในภาคการขนส่งของประเทศไทยen
dc.title.alternativeComparative study on life cycle energy and environmental impacts of diesel blend with 95% ethanol and 99.5% ethanol in Thailand's transportation sectoren
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKanit.W@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jackraphop.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.