Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64371
Title: การติดตามตรวจสอบไนโตรเจนไดออกไซด์โดยแพสซีพก๊าซแซมเปลอ
Other Titles: Monitoring of nitrogen dioxide by passive gas sampler
Authors: กฤติมา ทศชนะ
Advisors: วนิดา จีนศาสตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แพสซีพก๊าซแซมเปลอ
ไนโตรเจนไดออกไซด์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยศรั้งนี้ใช้ แพสซีพก๊าซแซมเปลอในการติดตามตรวจสอบก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่บุคคลได้รับสัมผัส ในบรรยากาศภายในและภายนอกที่พักอาศัย บรรยากาศทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครปฐม และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์กับผลกระทบสุขภาพของระบบทางเดินหายใจ จากการวิเคราะห์แบบสอบถาม ATS-DLD 78 ฉบับภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 50 คน และกลุ่มเปรียบเทียบคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายาจำนวน 15 คน พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับสัมผัสปริมาณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์กับอาการทางโรคระบบทางเดินหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์ในกลุ่มเปรียบเทียบ โดยปริมาณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่บุคคลได้รับสัมผัสในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ในกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 31.86±16.75 ppb มีความสัมพันธ์กับการได้รับสัมผัสขณะอยู่ภายนอกที่พักอาศัยที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05 1 (R=0.860 ขณะอยู่ภายนอกที่พักอาศัย) กลุ่มเปรียบเทียบ ได้รับสัมผัสก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เฉลี่ย 4.95 ±1.93 ppb ผลการตรวจวัดปริมาณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศภายในและภายนอกที่พักของกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 (R=0.532) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.68±9.26 ppb และ 21.40±16.62 ppb ตามสำตับขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83±1.73 ppb และ 5.34±2.14 ppb เช่นเดียวกับปริมาณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ไนบรรยากาศทั่วไปบริเวณสถานศึกษาทั้ง 2 แห่ง พบว่า ผลการตรวจวัดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.47±5.35ในขณะที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ5.58±0.31 ppb ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
Other Abstract: This study illustrated the application of passive gas sampler in Nitrogen Dioxide monitoring. The Nitrogen Dioxide personal exposure, indoor-outdoor and ambient concentration were measured in Bangkok and Nakornpratom province. The health effect of Nitrogen Dioxide was also studied using ATS-DLD 78 questionaires (Thai Version). The subject group was 50 Chulalongkorn University students and comparative group was 15 Mahidol University,Salaya campus students.The association between Nitrogen Dioxide concentration and respiratory symptom are significant by different. เท subject group, average Nitrogen Dioxide for 24 hours exposure was 31.86±16.75 ppb and was related to outdoor exposure (P<0.05; R=0.860 outdoor exposure). In comparative group, average Nitrogen Dioxide for 24 hours exposure was 4.95.1.93 ppb. The measurement of indoor and outdoor Nitrogen Dioxide concentration in Bangkok was 14.68±9.26 ppb and 21.40±16.62 ppb, respectively and significant correlation was found between indoor and outdoor (P<0.05; R=0.532). In contrast, the measurement at Nakornpratom province were 3.83±1.73 ppb and 5.34±2.14 ppb, respectively. The result of Nitrogen Dioxide concentration at Chulalongkorn University and Mahidol University were significant difference (P<0.05) of which at Chulalongkorn University was 21.47±5.35 and Mahidol University was 5.58±0.31 ppb.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64371
ISBN: 9741300778
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krittima_th_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ851.45 kBAdobe PDFView/Open
Krittima_th_ch1_p.pdfบทที่ 1730.08 kBAdobe PDFView/Open
Krittima_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.83 MBAdobe PDFView/Open
Krittima_th_ch3_p.pdfบทที่ 31.58 MBAdobe PDFView/Open
Krittima_th_ch4_p.pdfบทที่ 41.56 MBAdobe PDFView/Open
Krittima_th_ch5_p.pdfบทที่ 5978.27 kBAdobe PDFView/Open
Krittima_th_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.