Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64743
Title: โมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยการสืบสอบบนฐานการโต้แย้ง
Other Titles: Instructional design model of virtual reality simulation using argument-based inquiry for computational modeling and scientific reasoning ability
Authors: เจตนิพิฐ แท่นทอง
Advisors: พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์
ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pornsook.T@Chula.ac.th
Jaitip.N@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอโมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 105 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้ดัชนีความต้องการจำเป็น ตัวอย่างที่ทดลองออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ คือ ผู้วิจัย เมื่อผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จำนวน 40 คน วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยการทดสอบที จากนั้นนำเสนอโมเดลการออกแบบ และรูปแบบของสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมและรับรองโมเดลการออกแบบ และรูปแบบของของสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ผลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม ผลการวิจัย พบว่า สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในปัจจุบันไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ แลัการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ได้เท่าที่ควรจะเป็น  2. ขั้นตอนของการการออบแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 18 ขั้นตอน  3. ผู้เรียนที่เรียนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีคะแนนการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีความเห็นว่าโมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดีมาก 5. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีความเห็นว่ารูปแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดีมาก
Other Abstract: This objective of this study was to develop the instructional design model of an instructional design model of virtual reality simulation using argument-based inquiry for computational modeling and scientific reasoning ability. The sample for the study of the state of the problem in instructional needs in enhancing student’s computational modeling and scientific reasoning abilities was 105 science teachers in educational service area 28. Data were analyzed by the Priority need index (PNI) technique. The sample of the instructional design was the researcher. After the researcher used the instructional design model, the virtual reality simulation was implemented with 40 grade nine students in Sisaketwittayalai school. In order to evaluate the computational modeling and scientific reasoning of a student, the researcher collected the computational modeling and scientific reasoning before and after activity. The data were analyzed using a dependent t-test. In order to analyze the quality of the instructional design model and the virtual reality simulation, the three educational technologists and two science educators were asked to evaluate both. The data were analyzed by mean, Standard deviation, and mode. The research findings are as follows: 1. The science teachers estimated that current learning materials can not enhance student’s computational modeling and scientific reasoning ability.  2. Procedure for designing virtual reality simulation using argument-based inquiry for computational modeling and scientific reasoning ability consists of 18 steps 3. Students recieved a higher score in computational modeling and scientific reasoning significantly at the statistical level of .05 after learned via the virtual reality simulation. 4. The instructional design model of an instructional design model of virtual reality simulation using argument-based inquiry for computational modeling and scientific reasoning ability was assessed by the five experts and received suitability at an excellent level. 5. The virtual reality simulation using argument-based inquiry for computational modeling and scientific reasoning ability was assessed by the five experts and received suitability at an excellent level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64743
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.589
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.589
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684487827.pdf12.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.