Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64808
Title: ผลกระทบของการพัฒนาสถาบันการศึกษาต่อการพัฒนาเมืองในจังหวัดนครนายก
Other Titles: The impacts of the development of educational institutions on urbanisation in Nakorn Nayok province
Authors: แวววลี ท่าเรือ
Advisors: ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Siriwan.Si@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของสถาบันการศึกษาตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน 2) ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการก่อตั้งสถาบันการศึกษาต่อการพัฒนาพื้นที่ชุมชนโดยรอบมุ่งเน้นผลกระทบทางกายภาพ เมื่อมีสถาบันการศึกษาเกิดขึ้นทั้ง 3 แห่ง คือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเตรียมทหาร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ศูนย์องครักษ์ มาจัดตั้งในพื้นที่จังหวัดนครนายก  โดยทำการวิเคราะห์จากข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการลงสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม ประกอบกับข้อมูลทุติยภูมิ ผลการศึกษาพบว่า การก่อตั้งสถาบันการศึกษาทั้ง 3 แห่งในจังหวัดนครนายก ส่งผลให้ภาพรวมของการพัฒนาเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้นบริเวณโดยรอบสถาบันการศึกษา คือ สัดส่วนของการใช้ประโยชน์ประเภทเกษตรกรรมลดลง การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ เมื่อสถาบันการศึกษาก่อตั้งขึ้นพื้นที่บริเวณหน้าสถาบันการศึกษา เกิดการขยายตัวของอาคารบ้านเรือน ร้านค้า บ้านจัดสรรและหอพัก เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักเรียน นิสิต เจ้าหน้าที่และบุคลากรในสถาบันการศึกษา เกิดโครงการก่อสร้างในด้านที่อยู่อาศัยตามเส้นทางคมนาคมสายหลัก คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3052 ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเกิดการกระจุกตัวของชุมชนโดยรอบ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในด้านเศรษฐกิจการก่อตั้งสถาบันการศึกษาทำให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจในรูปแบบการก่อสร้างที่พักอาศัยในลักษณะของโครงการบ้านจัดสรร และหอพัก รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยของบุคลากรในสถาบันการศึกษา ส่งผลให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบ อีกทั้งผู้ประกอบการทั้งในและนอกสถาบันการศึกษาโดยส่วนใหญ่รับสินค้าจากร้านขายส่งในพื้นที่จังหวัดนครนายกมาจำหน่ายให้แก่บุคลากรในสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งนี้ผลจากการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นทำให้รูปแบบทางสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง จากชุมชนเกษตรกรรมในอดีตเป็นชุมชนที่มีบทบาทสนับสนุนพื้นที่ในด้านการศึกษามากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เมื่อมีสถาบันการศึกษาเกิดขึ้นสร้างแรงดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาอาศัยในพื้นที่บริเวณโดยรอบสถาบันการศึกษามากยิ่งขึ้น การเกิดสถาบันการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในด้านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย ดังนั้นควรมีการวางแผนรองรับการก่อตั้ง การปรับปรุง และขยายบริการในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกันแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต
Other Abstract: The objectives of this study were to investigate 1) the development of an educational institution from the past to the present and 2) the impacts of its establishment on the development of the nearby communities. Three educational institutions – Chulachomklao Royal Military Academy, Armed Forces Academies Preparatory School and Srinakharinwirot University, Ongkharak Campus were the case studies. The data analysis was based on the primary data collected from fieldwork, interviews and a questionnaire and the secondary data. The findings revealed that the three institutions have made physical, economical and social changes in the urban development of Nakhon Nayok  Province in general. As for physical changes, the amount of land used for agricultural purposes has decreased while that for commercial and residential purposes has increased.  The areas in front of the institutions have witnessed an increased number of houses, shops and dormitories due to the increased number of students and staff members. These structures are lined along Highway 305 and Highway 3052 and it seems that their number keeps increasing every year.  In terms of economic impacts, the institutions help promote more housing projects and the students and the staff members help create more jobs, generating more income for the nearby communities. Most of the entrepreneurs both inside and outside the institutions buy their goods from the wholesalers in the province. This boosts the economy in the areas.  With a change in urban development comes a change in society from an agricultural society to a society that supports education. This means that the establishment of an educational institution attracts more people to settle near the institution and turns some of the agricultural areas into commercial and residential areas. Because of this, some plans should be mapped out to control the construction sites, the improvement and the expansion of utilities. Measures should also be set up to solve more serious environment problems due to the population growth in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64808
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573314025.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.