Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64909
Title: ผลกระทบของยานยนต์อัตโนมัติต่อการใช้พลังงานในภาคการขนส่งไทย
Other Titles: Effects of autonomous vehicles on Thailand energy consumption in transport sector
Authors: สราวุฒิ มูลสุข
Advisors: จิตติชัย รุจนกนกนาฏ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jittichai.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลการพยากรณ์การใช้พลังงานในภาคการขนส่งของประเทศไทย และพิจารณาว่าหากยานยนต์อัตโนมัติเข้ามาในตลาดจะมีผลต่อการใช้พลังงานอย่างไร ด้วยวิธีการพยากรณ์จากการใช้ปลายทาง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่ามีปัจจัยหลักสองด้านที่ส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงาน คือปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการเดินทาง และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในยานยนต์ จากผลการวิเคราะห์สถานการณ์ (Scenario Analysis) จากอิทธิพลของทั้งสองปัจจัยดังกล่าวพบว่า กรณีที่คาดว่าเป็นไปได้สูงสุด (Probable Case) การเข้ามาของยานยนต์อัตโนมัติจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานจากที่พยากรณ์ไว้ระหว่าง -3.01%  ถึง -14.74%  และกรณีขั้นสุด (Extreme Case) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานได้ตั้งแต่ -50.00%  ถึง +40.66%  ทั้งนี้ ยังได้วิเคราะห์กรณีเปรียบเทียบ หากการใช้ยานยนต์อัตโนมัตินั้นมีการโดยสารร่วมกัน (Sharing) และ ไม่มีการโดยสารร่วมกัน  (Non- Sharing) พบว่า ทั้งสองกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้พลังงานในอนาคตแต่อย่างใด ในส่วนการประเมินดัชนีความพร้อมของยานยนต์อัตโนมัติในประเทศไทย พบว่าประเทศไทยได้คะแนนเพียง 6.29 ซึ่งต่ำกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีคะแนนเท่ากับ 24.75 อย่างไรก็ดี คาดว่าแนวโน้มความพร้อมของประเทศไทยจะมีมากขึ้นในอนาคต โดยมีประเด็นที่สำคัญคือ การยอมรับทางสังคมซึ่งมีความอ่อนไหวต่อดัชนีมากที่สุด ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการวางแผนเพื่อให้เกิดสมดุลของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงในมิติด้านการขนส่งจากการเข้ามาของยานยนต์อัตโนมัติในประเทศไทย  
Other Abstract: This research aims to investigate energy consumption forecasts in Thailand’s transport sector and consider how the entry of autonomous vehicle in Thailand market would affect them through the use of End-use Energy Demand Model, related literature reviews and interviews of specialists. The findings show that there are two main factors affecting energy demand, i.e., travel demand factor and vehicle efficiency factor. Based on the scenario analysis of these two factors, the entry of autonomous vehicle would affect referred future forecasts from -3.01% to -14.74% (probable case) and from -50.00% to +40.66% (extreme case). In addition, this study analyzes two comparative cases which the future autonomous vehicles might be either sharing or non-sharing. However, both forecasts are not significantly different. Subsequently, this study applies the Autonomous Vehicles Readiness Index (AVRI) to Thailand and found that Thailand’s score is only 6.29, which is much lower than 24.75 of the US’ one. Nevertheless, Thailand’s score is trending up in the future and highly sensitive on the social acceptance pillar. These findings would be very useful for energy planning to achieve a balance of energy efficiency and security in the transport sector from the coming of autonomous vehicle in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64909
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.586
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.586
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6087607020.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.