Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา-
dc.contributor.authorณัฏฐิกานต์ โอสถานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-11T05:12:07Z-
dc.date.available2020-04-11T05:12:07Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65252-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561en_US
dc.description.abstractโครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากพืช 9 ชนิด และศึกษาการเสริมฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชต่อยาปฏิชีวนะทดสอบ 4 ชนิด ได้แก่ กานามัยซิน ซิโพรฟลอกซาซิน สเตรปโทมัยซิน และแอมพิซิลลิน ในการต้านแบคทีเรียแกรมลบ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Escherichia coli MSCU 0349 และ Salmonella Typhimurium MSCU 0492 สารสกัดจากพืชทดสอบทุกชนิดที่สกัดด้วยตัวทำละลายอะซีโตนและเมทานอลพบว่ามีสีที่แตกต่างกัน และผลการศึกษาถึงฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียแกรมลบของสารสกัดจากพืชก็พบว่ามีเพียงซัวยิ้งที่สกัดด้วยอะซีโตนและเมทานอล และโป๊ยกั๊กที่สกัดด้วยอะซีโตนมีฤทธิ์ในการต้าน E. coli นอกจากนั้นยังพบว่าโป๊ยกั๊กที่สกัดด้วยอะซีโตนมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่สุดซึ่งมีค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) เท่ากับ 12.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนในการต้าน S. Typhimurium พบว่ามีเพียงซัวยิ้งและสีเสียดเทศที่สกัดด้วยอะซีโตนและเมทานอล และโป๊ยกั๊กที่สกัดด้วยอะซีโตนมีความสามารถต้านแบคทีเรียชนิดนี้ได้ นอกจากนี้ยังพบว่าซัวยิ้งที่สกัดด้วยเมทานอลและโป๊ยกั๊กที่สกัดด้วยอะซีโตนมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่สุดซึ่งมีค่า MIC เท่ากับ 12.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และผลการทดสอบในการหาค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดของสารสกัดทั้ง 5 ชนิดที่สามารถฆ่าเชื้อ (MBC) ได้พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 12.5 ถึง 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากนั้นจึงนำสารสกัดจากพืชมาศึกษาการเสริมฤทธิ์ร่วมกับยาปฏิชีวนะโดยคำนวณเป็นค่า FIC Index พบว่ามีเพียงสารสกัดจากโป๊ยกั๊กที่สกัดโดยอะซีโตนให้ผลส่งเสริมฤทธิ์ร่วมกับยาปฏิชีวนะสเตรปโทมัยซินในการต้าน E. coli และมีค่า FIC Index เท่ากับ 0.50 ทั้งนี้จากผลการทดลองจึงแสดงให้เห็นว่าการรวมกันของสารทั้ง 2 ชนิดมีแนวโน้มที่ดีในการต้านแบคทีเรียแกรมลบจึงทำให้อาจเป็นทางเลือกใหม่ ๆ ในการนำสารทั้งสองมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study antibacterial activities of nine plant extracts and their synergistic effect with four antibiotics i.e. kanamycin, ciprofloxacin, streptomycin and ampicillin against two Gram negative bacteria, Escherichia coli MSCU 0349 and Salmonella Typhimurium MSCU 0492. The acetonic and methanolic extracts from nine different plants gave rise to different color and the result from determination of anti-Gram-negative activity of plant extracts indicated that acetonic and methanolic extracts from Cang zhu (Allium villosum) and acetonic extract from star anise (Illicium verum) were active against E. coli. Moreover, the acetonic extract from star anise exhibited the highest antimicrobial activity and the minimum inhibitory concentration (MIC) was 12.5 mg/ml. Regarding antimicrobial activity of S. Typhimurium, it was found that both of acetonic and methanolic extracts from Cang zhu and gambir (Uncaria gambir) and the acetonic extract from star anise were effective. In addition, both methanolic extract of Cang zhu and acetonic extract of star anise had the best antimicrobial activity and MIC were 12.5 mg/ml. The result of minimum bactericidal concentration (MBC) of five extracts varied ranging between 12.5 to 50 mg/ml. Afterward, the extracts from nine plants were tested for synergistic effect and the result showed that only the acetonic extract of star anise and streptomycin showed synergism against E. coli with FIC index of 0.50. The results from above experiment indicated that the combination of both substances was promising against Gram-negative bacteria which may be a new alternative for treating bacterial infection.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเสริมฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชร่วมกับยาปฏิชีวนะในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบen_US
dc.title.alternativeThe synergistic effect of plant extracts and antibiotic against Gram negative bacteriaen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorSupat.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthikarn O_Se_2561.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.