Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6555
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเลซิทินผสมที่มีสัดส่วนของฟอสโฟลิปิดและกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดต่างตามที่กำหนดโดยใช้ผลผลิตทางการประมงและการเกษตรในประเทศเป็นแหล่งวัตถุดิบ : การตรวจสอบความปลอดภัยของเลซิตินที่ผลิตขึ้นได้และการศึกษาผลที่มีต่อเมเทบอลิซึมของไลโปโปรตีนในสัตว์ทดลอง : รายงานโครงการวิจัย
Other Titles: The development of blended lecithin health food products with certain proportions of phospholipid subclasses and polyunsaturated fatty acid composition utilizing domestic fishery and agricultural products as sources of raw material : the safety evaluation of produced lecithins and study of their effects on lipoprotein metabolism in animal model
Authors: วินัย ดะห์ลัน
Email: dwinai@netserv.ac.th, winaidahlan@yahoo.com
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
Subjects: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
เลซิติน
ฟอสโฟลิปิด
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
ไลโปโปรตีน
สัตว์ทดลอง -- การเผาผลาญ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมีการผลิตเลซิทินในเชิงอุตสาหกรรมโดยใช้ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบเพื่อเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ รายงานวิจัยจำนวนไม่น้อยสนับสนุนการใช้เลซิทินเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพสำคัญของสังคมไทย อย่างไรก็ตามมีข้อมูลบ่งชี้ว่าสมดุลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกลุ่ม โอเมก้า 3 และ 6 เป็นปัจจัยหนึ่งของการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เลซิทินจากถั่วเหลืองที่นิยมใช้กันอยู่แม้มีกรดไขมันโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 แต่ขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่สำคัญอยู่ หากสามารถหาเลซิทินจากวัตถุดิบทางการเกษตรอื่นๆ ที่มีสัดส่วนของกรดไขมันต่างๆ กันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดที่ถั่วเหลือง ขาดอยู่ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ งานวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาผลของเลซิทินจากปลาทะเล (LE-FM) ถั่วเหลือง (LE-SB) และเลซิทินผสมที่ได้จากการใช้เลซิทินสองชนิดผสมกันในสัดส่วน 1:1 และ 1:2 (LE-FS 1:1, LE-FS 1:2) ต่อไลโปโปรตีนและกรดไขมันในพลาสมาของหนูทดลอง ซึ่ง LE-FM มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงชนิดโอเมก้า 3 ได้แก่ C20:5n-3 และ C22:6n-3 สูงกว่า LE-SB ที่ใช้ทั่วไปทางการค้า และมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 ได้แก่ C18:2n-6 และ C20:4n-6 ต่ำกว่า LE-SB จากการศึกษาองค์ประกอบของเลซิทินพบว่า LE-FM และ LE-SB มีปริมาณ phosphatidylcholine (PC) 47.3% และ 36.2%; phosphatidylinositol (PI) 17.9% และ 46.3%; sphingomyelin (SM) 22.9% และ 0% กรดไขมัน C18:2n-6 1.06% และ 54.83%; C18:3n-3 0.37% และ 4.93%; C20:5n-3 5.2% และ 0%; C22:6n-3, 21.11% และ 0% ตามลำดับ ภายหลังการเสริมเลซิทินในสัตว์ทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าไขมันในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง แต่สัดส่วนของ VLDL-TG/HDL-TG ของหนูกลุ่ม LE-FM และ LE-SB ลดลง (p<0.05) แสดงถึงอัตราการไหลเวียนและเมแทบอลิซึมของ TG-rich lipoproteins ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ particles size ของ VLDL และ LDL ในหนูที่ได้รับเลซิทินทุกกลุ่มมีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.05) รวมถึง particle size ของ HDL ด้วย ยกเว้น HDL particles ในกลุ่มที่ได้รับ LE-SB มีขนาดใหญ่ขึ้น (p<0.05) ความแตกต่างเช่นนี้อาจเป็นผลมาจากชนิดของฟอสโฟลิพิด ได้แก่ SM และ PI ในเลซิทินทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกัน ในกรณีการขนส่งกรดไขมันเพื่อแลกเปลี่ยนกับเซลล์ต่างๆในกระแสเลือด พบว่าสัดส่วนของ C20:5n-3 + C22:6n-3 /C18:2n-6 + C20:2n-6 ซึ่งเป็นกรดไขมันตั้งต้นในการสร้าง eicosanoids serie 2 และ serie 3 ในพลาสมาสูงขึ้นในกลุ่มที่ได้รับ LE-FM เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ LE-SB บ่งชี้ถึงฤทธิ์ของ LE-FM ในการป้องกันการเกิด thrombogenesis ที่สูงกว่า LE-SB สรุปว่าการเสริมเลซิทินส่งผลดีต่อเมแทบอลิซึมของ TG-rich lipoproteins การตรวจหาค่าสารเคมีในกระแสเลือดหนูหลังจากป้อนเลซิทินไปแล้ว 8 สัปดาห์ พบว่า ค่าHDL-cholesterol ของกลุ่มหนูที่ป้อนด้วย LE-SB and LE-FS 1:1 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) นอกจากนั้น ค่าCreatinine ของหนูที่ป้อนด้วย LE-FS 1:1 และ LE-FS 1:2 นั้นจะสูงกว่ากลุ่มหนูที่ป้อนด้วย LE-FM และ LE-SB (p< 0.05) แม้ว่าค่าของ liver function และค่าของ kidney functions อื่นๆ จะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม (Tabel 3) เนื่องจากข้อมูลความปลอดภัยในสัตว์ทดลองให้ผลไม่ชัดเจน จึงยังไม่สามารถยืนยันความปลอดภัยในสัตว์ทดลองในระดับที่นำมาใช้ในมนุษย์ได้ จำเป็นต้องระงับโครงการการทดลองใช้เลซิทินในมนุษย์ไว้ก่อน
Description: ผู้ประสานงานวิจัย : วนิดา นพพรพันธุ์ ; ผู้ร่วมงานวิจัย : สถาพร งามอุโฆษ , จุลจิตร องค์ปรีชากุล , จงจิตร อังคทะวานิช , ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ , ระวีนันท์ สิทธิวิเชียรวงศ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6555
Type: Technical Report
Appears in Collections:All - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
winai_development.pdf683.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.