Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66202
Title: การปรับปรุงคุณสมบัติของฉนวนสายไฟฟ้าชนิดพอลิไวนิลคลอไรด์ด้วยการฉายรังสีแกมมา
Other Titles: Improvement of polyvinyl chloride electrical wire insulation properties by gamma irradiation
Authors: ทวีศักดิ์ กิระวิทยา
Advisors: ชยากริต ศิริอุปถัมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ฉนวนไฟฟ้า
สายไฟฟ้า
รังสีแกมมา
โพลิไวนิลคลอไรด์
Electric insulators and insulation
Electric wire
Gamma rays
Polyvinyl chloride
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของฉนวนสายไฟฟ้าชนิดพอลิไวนิลคลอไรด์ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมา โดยการทดสอบคุณสมบัติความต้านแรงดึง เปอร์เซ็นต์ความยืดที่จุดขาด และการหาปริมาณเจล ซึ่งใช้แทนปริมาณโครงสร้างโมเลกุล ที่มีการเชื่อมโยงแบบร่างแห การวิจัยนี้ใช้วัสดุพีวีซีผสมเสร็จเกรดสำหรับทำฉนวนสายไฟฟ้า ขึ้นรูปชิ้นงานทดสอบและนำไปฉายรังสีแกมมาในช่วง 0 ถึง 200 กิโลเกรย์ ภายใต้สภาวะบรรยากาศ สุญญากาศ และสภาวะก๊าซเฉื่อยไนโตรเจน การทดสอบโดย การหาค่าความต้านแรงดึงและความยืดก่อนและหลังเร่งอายุการใช้งานเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีและการหาปริมาณเจล เทียบกับปริมาณรังสี พบว่า ค่าความต้านแรงดึงและความยืดในสภาวะบรรยากาศมีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณรังสีสูงขึ้นใน สภาวะสุญญากาศและไนโตรเจนมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง ภายหลังการบ่มเร่งอายุใช้งานความต้านแรงดึงและความยืด ของขึ้นงานฉายรังสีภายใต้สภาวะต่าง ๆ มีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับค่าความต้านแรงดึงและความยืดก่อนบ่มเร่ง อายุใช้งาน และพบว่าปริมาณเจลมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อปริมาณรังสีสูงขึ้น
Other Abstract: A Study of physical properties of gamma irradiated polyvinyl chloride (PVC) formulated for electrical wire insulator was conducted by measuring tensile strength, elongation at break and gel content of the test specimens as a function of dose. Irradiation was done at the radiation dose ranging from 0 - 200 kGy in air, nitrogen gas, and vacuum. Tensile strength and elongation of the irradiated specimens both before and after accelerated aging in the air were found to decrease, whereas after irradiation in nitrogen and vacuum, there were no observable change, Gel content of specimens irradiated in air, nitrogen gas, and vacuum found to increase slightly with increasing radiation dose especially if the irradiation were done in nitrogen and in vacuum.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66202
ISBN: 9743324917
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Taweesak_ki_front_p.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_ki_ch1_p.pdf724.18 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_ki_ch2_p.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_ki_ch3_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_ki_ch4_p.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_ki_ch5_p.pdf706.67 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_ki_back_p.pdf856.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.