Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66206
Title: Epithermal gold-silver mineralization and alteration of B-prospect, Phichit province
Other Titles: การเกิดแร่ทองคำ-เงิน และการแปรเปลี่ยนชนิดอีพิเทอร์มอล ของพื้นที่สำรวจบี จังหวัดพิจิตร
Authors: Sirawit Kaewpaluk
Advisors: Abhisit Salam
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Abhisit.A@chula.ac.th
Issue Date: 2017
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The study area (B prospect) is located about 3 km south-east of Chatree deposit. The rocks in the prospect area can be grouped into 4 units namely, 1) Polymictic breccia unit (Unit 1), 2) Volcanogenic sedimentary unit (Unit 2), 3) Fiamme breccia unit (Unit 3) and 4) Andesitic polymictic breccia unit (Unit 4). The coherent rocks occur as dykes, it can be categorized into 3 types namely, 1) Hornblende-plagioclase phyric andesite, 2) Plagioclase phyric andesite and 3) Hornblende phyric andesite. Gold mineralization occurs as quartz ± carbonate – sulfides – electrum veins/veinlets and stock works hosted in volcanics and volcaniclastic rocks of Late Permian-Early Triassic. Mineralizations consist of 3 stages namely, 1) Quartz -pyrite veins, 2) Quartz ± carbonate – sulfides – electrum veins and 3) Quartz ± carbonate veins. The main gold stage (Stage 2) is characterized by typical textures of low sulfidation epithermal deposit which consists of mainly quartz and minor calcite gangue. Pyrite is a major sulfide with minor sphalerite. Gold identifies both as inclusion in sulfide particularly pyrite and free grain associates with quartz and calcite. EPMA analysis confirms that gold occurs as electrum with fineness ranging from 595 to 632. Petrographic and XRD study suggested that the hydrothermal alteration at B prospect can be divided into 3 types: 1) Quartz - adularia, 2) Adularia – sericite – illite – quartz ± calcite and 3) Sericite – illite ± chlorite ± calcite ± adularia ± quartz. The mineralization at B prospect can be distinguished from Chatree deposit by its simple mineral assemblages. And it can be classified as a low-sulfidation epithermal deposit.
Other Abstract: ทองคำ เงิน และ ทองแดง ในประเทศไทยนั้นพบอยู่มากในแนวชั้นหินคดโค้งเลย (Loei fold belt) เช่น แหล่งแร่อีพิเอทร์มอล (ชาตรี) และ แหล่งแร่สการ์น (ภูทับฟ้า และ เขาพนมพา) ทองคำในชาตรี เกิดในรูปแบบของ แหล่งแร่อีพิเทอร์มอลอุณหภูมิต่ำ อยู่ในหินภูเขาไฟและหินตะกอนภูเขาไฟช่วงยุคเพอร์เมียนตอนปลาย ถึงยุคไทรแอสซิกตอนต้น (Late Permian-Early Triassic) พื้นที่ศึกษาในที่นี้คือพื้นที่สำรวจบี (B prospect) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตรจากแหล่งแร่ชาตรี โดยลักษณะทางด้านธรณีวิทยาของพื้นที่สำรวจบีสามารถแบ่งหน่วยหินได้ 4 หน่วยหินดังนี้ 1) หน่วยหินกรวดเหลี่ยมหลากชนิด (Polymictic breccia unit) 2) หน่วยหินตะกอนต้นกำเนิดจากภูเขาไฟ (Volcanogenic sedimentary unit) 3) หน่วยหินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟแสดงริ้ว (Fiamme breccia unit) และ 4) หน่วยหินกรวดเหลี่ยมแอนดีไซต์หลากชนิด (Andesitic polymictic breccia unit) นอกจากนั้นยังพบหินที่เย็นตัวโดยตรงจากแมกม่า (Coherent rocks) เกิดในรูปผนังหิน (Dykes) ได้แก่ 1) ฮอร์นเบลนด์-พลาจิโอเคลส แอนดิไซต์เนื้อละเอียด (Hornblende-plagioclase phyric andesite) 2) พลาจิโอเคลส แอนดิไซต์เนื้อละเอียด (Plagioclase phyric andesite) และ 3) ฮอร์นเบลนด์ แอนดิไซต์เนื้อละเอียด (Hornblende phyric andesite) ในพื้นที่สำรวจบีนั้น ทองคำเกิดในสายแร่ควอตซ์-คาร์บอนเนต (Quartz-carbonate veins) และ สายแร่ร่างแห (Stock works) ซึ่งประกอบด้วย 3 ระยะการเกิดแร่คือ 1) สายแร่ควอตซ์ – ไพไรต์ (Quartz-pyrite veins) 2) สายแร่ควอตซ์ ± คาร์บอเนต – แร่ซัลไฟด์ – อีเล็กตรัม (Quartz ± carbonate – sulfides – electrum veins) และ 3) สายแร่ควอตซ์ ± คาร์บอนเนต (Quartz ± carbonate veins) มีระยะหลักที่พบทองประกอบด้วยแร่ ควอตซ์ และ แคลไซต์ โดยที่แร่ซัลไฟด์นั้น มีไฟไรต์เป็นแร่หลัก และพบสฟาเลอไรต์เป็นแร่รอง ทองคำมีสองลักษณะคือ เป็นมลทินในไฟไรต์ และเป็นแร่อิสระ อยู่กับควอตซ์ และ แคลไซต์ ซึ่งเกิดในรูปแบบของอีเล็กตรัมจากการศึกษาด้วยเครื่อง EPMA ซึ่งมีค่าความบริสุทธิ์ของทอง (Fineness) อยู่ในช่วง 595 ถึง 632 และการศึกษาการแปรเปลี่ยน โดยศึกษาศิลาวรรณา และ XRD พบว่าสามารถแบ่งการแปรเปลี่ยน (Alteration) ได้ทั้งหมด 3 ชนิดคือ 1. บริเวณควอตซ์-อะดูลาเรีย (Quartz-Adularia zone) 2. บริเวณอะดูลาเรีย-เซอรีไซต์-อีลไลต์-ควอตซ์±แคลไซต์ (Adularia-Sericite-Illite-Quartz±Calcite zone) 3.บริเวณเซอรีไซต์-อีลไลต์±คลอไลต์±แคลไซต์±อะดูลาเรีย±ควอตซ์ (Sericite-Illite±Chlorite±Calcite±Adularia±Quartz) โดยการเกิดแร่ของพื้นที่สำรวจบีนั้นเป็นชนิดแหล่งแร่อีพิเทอร์มอลอุณหภูมิต่ำแต่มีความแตกแตกจากชาตรีเนื่องจากมีแร่องค์ประกอบน้อยกว่า
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66206
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Sirawit Kaewpaluk.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.