Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6715
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุเนตร ชุตินธรานนท์-
dc.contributor.authorภมรี สุรเกียรติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialพม่า-
dc.date.accessioned2008-04-25T11:22:42Z-
dc.date.available2008-04-25T11:22:42Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741419902-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6715-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractศึกษาพลวัตของสงครามไทย-พม่า ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผ่านการวิเคราะห์ศึกษาการเติบโตและพัฒนาการของรัฐพม่า ตั้งแต่สมัยอาณาจักรตองอูยุคต้น อาณาจักรตองอูยุคฟื้นฟู และอาณาจักรคองบองตอนต้น เป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า ความสืบเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของรัฐพม่า ทั้งในด้านโครงสร้างทางอำนาจ โครงสร้างการปกครอง การทำหนดขอบเขตปริมณฑล อำนาจของอาณาจักร ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการค้านานาชาติ อันเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเงื่อนไขและปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดพลวัต หรือความเปลี่ยนแปลงอย่างสืบเนื่องในสงครามไทย-พม่า ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทั้งในด้านมูลเหตุความขัดแย้งอันนำไปสู่สงคราม ปฏิบัติการทางการทหารทั้งด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธีและวิถีการสงคราม การกำหนดยุทธศาสตร์การทำสงครามของรัฐพม่าต่อรัฐไทย สัมพันธ์กับการกำหนดขอบเขตปริมณฑลอำนาจของรัฐพม่าแต่ละสมัยอาณาจักรเป็นสำคัญ รัฐพม่าในสมัยอาณาจักรตองอูยุคต้นและสมัยอาณาจักรคองบองตอนต้นได้ถือเอารัฐไทย ที่มีศูนย์กลาง ณ กรุงศรีอยุธยา เข้าเป็นส่วนหนึ่งของปริมณฑลอำนาจ ในขณะที่รัฐพม่าสมัยอาณาจักรตองอูยุคฟื้นฟูมิได้ผนวกรวมเอารัฐไทยเข้าไว้ในปริมณฑลอำนาจ ด้วยเหตุนี้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาความขัดแย้งที่มีกับรัฐไทยจึงมีระดับปฏิบัติการที่แตกต่างกัน กล่าวคือ อาณาจักรตองอูยุคต้น และอาณาจักรคองบองตอนต้น มุ่งทำสงครามเพื่อพิชิตราชธานีของรัฐไทยเป็นหลัก ส่วนอาณาจักรตองอูยุคฟื้นฟูจำกัดขอบเขตการทำสงครามเพียงแค่บริเวณพื้นที่ชายขอบเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว พลวัตของวิถีแห่งการสงครามและปฏิบัติการทางการทหารของรัฐพม่า อันปรากฏในสงครามในไทย-พม่า ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการปกครองของรัฐพม่า จากเดิมที่เป็นโครงสร้างการปกครองระบบอุปถัมภ์แบบหลวม เปลี่ยนสู่แนวโน้มการเป็นรัฐ ที่มีการวางระบบบริหารราชการแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้วิถีแห่งการสงครามหรือปฏิบัติการทางการทหารของรัฐพม่า ในการโจมตีกรุงราชธานีของรัฐไทย ระหว่างอาณาจักรตองอูยุคต้นและอาณาจักรคองบองตอนต้นจึงแตกต่างกัน กล่าวคือ วิถีการสงครามของอาณาจักรตองอูยุคต้นเป็นไปเพื่อการสร้างเครือข่ายความจงรัภักดี จึงเก็บรักษากรุงศรีอยุธยาไว้ในฐานะประเทศราช ในขณะที่วิถีการสงครามของอาณาจักรคองบองตอนต้นเป็นไปเพื่อการปราบปรามศูนย์กลางอำนาจต่างๆ ให้สิ้นสูญ จึงทำลายกรุงศรีอยุธยาให้แตกสลาย กลายเป็นบ้านเมืองที่อ่อนแอ จนไม่อาจกลับขึ้นมาท้าทายอำนาจอาณาจักรคองบองได้อีกen
dc.description.abstractalternativeTo study the dynamism of Thai-Burmese warfare from the mid-16th century to the mid-19th century by analyzing this warfare within the historical context of the growth and development of Burmese states: the first Toungoo, the restored Toungoo and the early Konbaung empires, respectively. The studies indicate that the continuities and changes of Burmese states' power structure, governance structure and proclaimed "Mandala", together with the changing of economy and international trade, which was the external factor causing the changes within the Southeast Asian region, were the significant factors and conditions driving the continuous changes in Thai-Burmese warfare from the mid-16th century to the mid-19th century. The changing aspects were the nature of the conflict leading to the wars, the military operation both tactics and strategies and the nature of warfare. Burmese states' war strategies toward Thai states mainly corresponded to Burmese proclaimed "Mandala". The first Toungoo and the early Konbaung empires incorporated the Thai state, the center of Ayutthaya, within their "Mandala" ; meanwhile the restored Toungoo empire did not. Consequently, Burmese states' strategies toward the conflicts with Thai states were different in level and degree. The first Toungoo and the early Konbaung empires endeavored to subjugate Thai centers; conversely, the restored Toungoo empire had confined her wars with Thai state only to the peripheral areas. Moreover, the dynamism of the nature of warfare and military operation of the Thai-Burmese warfare were related to the changing of governance structure from the loose patron-vassal relations tending to a more centralized administrative system. As a result, the nature of warface and military operations of the first Toungoo and the early Konbaung empires for gaining control over Thai centers were contrasting. The former was for gathering up networks of loyalty ; thus, Ayutthaya was controlled s her tributary state. The latter was for devastating other rival centers; therefore,Ayutthaya was completely demolished and became powerless, being unable to challenge the early Konbuaung empire anymore.en
dc.format.extent4448729 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงศรีอยุธยา -- สงครามกับพม่า, 2081-2148en
dc.subjectพม่า -- ประวัติศาสตร์en
dc.titleพลวัตของสงครามไทย-พม่า ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19en
dc.title.alternativeDynamism of Thai-Myanmar warfare from the mid-16th century to the mid-19th centuryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsunait.c@chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pamaree_Su.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.